‘หมอธีระ’แนะแนวสู้โควิดต้องกระตุ้นให้คนไทยไม่ประมาท!


เพิ่มเพื่อน    

20 ม.ค.2564 -  รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า สถานการณ์ทั่วโลก 20 มกราคม 2564 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 533,873 คน รวมแล้วตอนนี้ 96,452,239 คน ตายเพิ่มอีก 14,118 คน ยอดตายรวม 2,060,995 คน อเมริกา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 165,823 คน รวม 24,757,235 คน ตายเพิ่มอีก 2,483 คน ยอดตายรวม 410,720 คน อินเดีย ติดเพิ่ม 13,581 คน รวม 10,596,228 คน บราซิล ติดเพิ่มถึง 11,865 คน รวม 8,523,635 คน  รัสเซีย ติดเพิ่ม 21,734 คน รวม 3,612,800 คน  สหราชอาณาจักร ติดเพิ่มอีก 33,355 คน รวม 3,466,849 คน  อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิตาลี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลายพันถึงหลักหมื่นต่อวัน 

แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน บังคลาเทศ อิสราเอล อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลายหมื่น  แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ทรงๆ เมียนมาร์ เกาหลีใต้ จีน และไทย ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนฮ่องกง และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ออสเตรเลีย กัมพูชา และเวียดนามติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ 

สถานการณ์ในเมียนมาร์ เมื่อวานติดเพิ่มขึ้นอีก 448 คน ตายเพิ่มอีก 13 คน ตอนนี้ยอดรวม 135,243 คน ตายไป 2,986 คน อัตราตายตอนนี้ 2.2%...

ในช่วงที่ผ่านมามีหลายประเทศเล็งเห็นว่า ปริมาณการผลิตวัคซีนจะไม่เพียงพอแก่ความต้องการของโลก จึงมีแนวคิดที่จะวางแผนฉีดวัคซีนในลักษณะที่ให้วัคซีนเข็มแรกแก่คนในประเทศให้มากที่สุดไปก่อน เพื่อหวังผลป้องกันในระยะสั้นแต่ได้จำนวนคนเยอะไว้ก่อน แล้วค่อยฉีดเข็มที่สองโดยอาจช้ากว่าที่ระบุไว้ในคำแนะนำวิธีฉีดของบริษัทวัคซีน หรือที่เรียกว่า delayed second dose 

ประเทศที่คิดและพูดคุยแนวนี้มีทั้งสหราชอาณาจักร อเมริกา และอื่นๆ แต่ถือว่าเป็นเรื่องที่ถกเถียงทางการแพทย์อย่างมาก เพราะมาตรฐานวิธีการฉีดนั้นควรได้รับการกำหนดจากการศึกษาวิจัยอย่างเป็นขั้นเป็นตอน วัคซีนแต่ละชนิดล้วนถูกพิสูจน์สรรพคุณมาตามรูปแบบการฉีด ระยะห่างระหว่างแต่ละเข็มที่แน่นอนตายตัว แต่หากไปปรับเอาเอง ก็จะไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะการันตีได้ว่าสรรพคุณจะเปลี่ยนไปอย่างไร และมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามคงต้องติดตามดูความเคลื่อนไหวของแต่ละประเทศต่อไปว่าจะตัดสินใจมุ่งเป้าใด ระหว่างระยะสั้นกับระยะยาว

สำหรับสถานการณ์ของไทยเรานั้น หากวิเคราะห์ตามหลักวิชาการแล้ว ธรรมชาติของการระบาดซ้ำของทั่วโลกชี้ให้เห็นว่าคุมได้ยาก ใช้เวลานาน เพราะกระจายไปทั่ว ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเสี่ยง แต่ไปถึงคนทั่วไปในสังคมที่สามารถติดเชื้อจากการดำรงชีวิตประจำวันได้ และเราก็เห็นได้ว่าเคสติดเชื้อต่างๆ ตั้งแต่เริ่มระบาดซ้ำในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเป็นเช่นนั้นจริงๆ 

สิ่งที่เป็นข้อสังเกตและพึงระวังคือ หนึ่ง การ"สุ่ม"ตรวจในกลุ่มเสี่ยง คงได้ประโยชน์เพียงเหมือนถ่ายภาพแบบไกลๆ เพื่อดูว่ามีอะไรผิดสังเกตไหม แต่ต้องไม่ลืมว่ามีโอกาสพลาดที่จะตรวจไม่เจออะไร เพราะเรา"สุ่ม"ตรวจแค่บางคนจากทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การสุ่มตรวจ 50 คนจากโรงงานแต่ละแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งอาจมีคนงานจำนวนมาก ยิ่งหากเป็นพื้นที่จังหวัดที่มีการระบาดหนักมาก่อน โอกาสแพร่กระจายติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง รวมถึงคนทั่วไปในจังหวัดย่อมมีสูง แม้สุ่มตรวจจนครบทุกโรงงาน ก็ไม่สามารถการันตีความปลอดภัยได้ และเสี่ยงจะระบาดปะทุซ้ำแล้วซ้ำเล่าในระยะเวลาต่อมา

สอง การ"สื่อสาร"ให้สาธารณะได้ทราบสถานการณ์ระบาดนั้นสำคัญอย่างยิ่ง ข้อมูลที่ทำการสื่อสารควรครบถ้วนสมบูรณ์เพียงพอ ไม่ใช่เพียงพรรณนาตัวเลขบางตัว เช่น จำนวนการติดเชื้อในภาพรวม แต่ไม่เอื้อนเอ่ยถึงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนการตรวจในแต่ละวัน จำแนกตามพื้นที่ กลุ่มประชากร หรือกิจการ/กิจกรรม ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลสำคัญที่จะกระตุ้นเตือนให้คนได้คิดวิเคราะห์ และวางแผนปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

เอาแค่เรื่องสุ่ม กับเรื่องสื่อสาร ก็ถือเป็นสองเรื่องสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อชะตาการระบาดอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก จะชนะศึกนี้ได้ ต้องทำให้ประชาชนเข้มแข็ง และรู้เท่าทันครับ ดังนั้นด้วยสถานการณ์เช่นนี้ คงไม่มีทางเลือกใดนอกจากต้องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนไม่ประมาท ใช้ชีวิตอย่างระแวดระวังเสมอ ป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อหรือแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ด้วยรักต่อทุกคน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"