หัตถกรรมไทยมรดกครูศิลป์ ที่คนรุ่นใหม่ต้องเหลียวมอง


เพิ่มเพื่อน    

 

 งานหัตถกรรมเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะเชิงช่างและความปราณีต พิถีพิถันในการสร้างสรรค์ผลงานให้ทรงคุณค่าและสวยงาม ซึ่งเสน่ห์ของงานหัตถกรรมที่ถูกถ่ายทอดออกมาจะยังคงเอกลักษณ์ อัตลักษณ์และงดงาม ซึ่งจะมีเสน่ห์แตกต่างกันออกไปตามวัฒนธรรม ประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
 
 SACICT จึงมีการเชิดชูเกียรติ “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551โดยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมคุณค่าบุคคลผู้มีความรู้ ความชำนาญ งานศิลปหัตกรรมพื้นบ้าน ส่งต่อองค์ความรู้สู่ลูกหลานและคนรุ่นใหม่ให้เห็นคุณค่า อย่างในปีที่ผ่านมามีงานหัตถกรรมจากฝีมือครูผู้ที่ได้รับการเชิดชูเป็น  “ครูศิลป์ของแผ่นดิน”  ประจำปี 2563 ที่คนรุ่นใหม่อาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อน อย่างเช่น

 

 

 “ว่าวควาย” ของ “นายเวียง ตั้งรุ่น” อายุ 71 ปี ผู้รักษา สืบสานงาน “ว่าวควาย” มากว่า 40  ปี นายเวียง ตั้งรุ่น  มีความสามารถการทำว่าวไทยได้หลากหลายรูปแบบ และว่าวที่นายเวียงให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ คือ “ว่าวควาย” อัตลักษณ์ของจังหวัดสตูลที่เลื่องชื่อ ด้วยเอกลักษณ์ของว่าวควาย มีความแตกต่างจากว่าวชนิดอื่น ตรงรูปทรงที่แปลกตา มีลักษณะคล้ายกับตัวควาย โดยนายเวียง มีความชำนาญเรื่องการขึ้นโครง และการประกอบว่าวควาย ด้วยโครงสร้างรูปทรง  “ว่าวควาย” อันเป็นเอกลักษณ์  ที่ปีกตอนบนมีเขาที่โค้ง ตอนล่างทำโครงเป็นรูปร่างหัวควาย บริเวณเขามีทรงสง่างามโค้งได้รูป ตอนล่างของเขาควายยาวโค้งรับกับปีกบน ที่ถือได้ว่าเป็นความพิเศษผลงานฝีมือ ของนายเวียง

 

 

 “ประทุนเกวียนโบราณ” ของ "นายเหลื่อม สิงห์ชัย”  อายุ 75 ปี ผู้รักษา สืบสานงาน ประทุนเกวียนโบราณจังหวัดสุรินทร์ ที่ใกล้สูญหายมากว่า 50 ปี   “ประทุนเกวียนโบราณ” ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ และถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานที่มีมานานหลายร้อยปี ทักษะความชำนาญของนายเหลื่อม คือ สามารถสร้างประทุนเกวียน ที่มีโครงสร้างความสมดุล สามารถใช้กับการเทียมเกวียนเพื่อขับเคลื่อนได้จริง โดยไม่ล้มหรือคว่ำ และการสานขึ้นรูปโครงประทุนโดยไม่มีช่องโหว่ เป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับประทุนเกวียนให้มีความคงทนมีอายุการใช้งานได้นานนับ 10 ปี ปัจจุบันการใช้ประทุนเกวียนในวิถีชีวิตแทบไม่มีให้เห็นจนใกล้จะสูญหาย คนรุ่นหลังก็ไม่รู้จักแล้ว

 

 

 “งานปักสะดึงกรึงไหม” ของ “นางสาวนิธิมา ธิมากูล” อายุ 58 ปี ผู้สืบสานงาน ปักสะดึงกรึงไหม ตามจารีตโบราณมากว่า 30 ปี นางสาวนิธิมา ธิมากูล เป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญที่ถือได้ว่าเป็นที่สุดแห่งฝีมือ ในงานที่ใช้การปักด้วยเทคนิคเชิงช่างชั้นสูงตามจารีตประเพณีโบราณ เช่น ปักกรองทอง ปักดิ้นข้อ ปักดิ้นโปร่ง ปักดิ้นมัน ปักดิ้นด้าน ปักซอยด้วยเส้นไหมน้อย ปักไหมสี และการปักหนุน  ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน ผลงานการปักทุกชิ้น ของนางสาวนิธิมา มีความประณีต งดงาม คงไว้ด้วยความวิจิตรตามแบบโบราณจึงได้รับความไว้วางใจให้ถวายงานสำคัญ ๆ สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์อยู่เสมอมา

แม้ว่าในปัจจุบันคนรุ่นใหม่จะสร้างสรรค์งานหัตถกรรมที่ทันสมัยเข้ากับยุคดิจิตอล แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผลงานบางชิ้นก็นำเอาอัตลักษณ์หัตถกรรมไทยมาประยุกต์ใช้กันอย่างหลากหลาย SACICT จึงอยากให้คนรุ่นใหม่ทราบว่ายังมีหัตถกรรมพื้นถิ่นของไทยที่มีเสน่ห์ ทรงคุณค่า และคงความเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ที่อาจจะยังไม่เคยเห็น หรือไม่เคยรู้จัก อีกมากมายให้ได้สืบสาน รักษา ต่อยอดในการหัตถกรรมชั้นครูต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"