สำรวจเค้ก1.5แสนล้าน กระทรวงไหนคว้างบสูงสุด


เพิ่มเพื่อน    

13 พ.ค.2561- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 พ.ค.เป็นต้นไป

ทั้งนี้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 150,000,000,000 บาท แบ่งเป็น 1.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงบกลาง ในความควบคุมของสำนักงบประมาณจำนวน 4,600,000,000 บาทในค่าใช้จ่ายส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชน 2.กระทรวงการคลัง 5,325,000 บาท ในแผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต 5,325,000 บาท 3.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 106,291,000 บาท ในแผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพชุมชน 4.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 22,742,165,700 บาท แบ่งเป็นสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 221,575,000 บาท, กรมการข้าว 63,602,600 บาท, กรมชลประทาน 13,701,985,000 บาท, กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 23,239,000 บาท กรมประมง 208,550,000 บาท, กรมปศุสัตว์ 671,159,800 บาท, กรมพัฒนาที่ดิน 150,477,700 บาท, กรมวิชาการเกษตร 134,793,200 บาท, กรมส่งเสริมการเกษตร 5,690,679,200 บาท, กรมส่งเสริมสหกรณ์ 1,791,534,100 บาท, กรมหม่อนไหม 52,640,900 บาท, สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 26,779,200 บาท  และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 5,150,000 บาท 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ 72,000,000 บาท ในแผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพชุมชน ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  กระทรวงพาณิชย์ได้ 258,400,300 บาท แบ่งเป็นสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ 153,218,000 บาท, กรมการค้าภายใน 45,781,900 บาท, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 40,000,000 บาท, และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 19,400,400 บาท กระทรวงมหาดไทยได้ 31,875,769,000 บาท จำแนกเป็น สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย  20,000,000,000 บาท กรมการปกครอง 2,547,650,800 บาท  และกรมการพัฒนาชุมชน 9,328,118,200 บาท กระทรวงแรงงาน 2,120,025,400 บาท แบ่งเป็นสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน 12,621,800 บาท, กรมการจัดหางาน 39,246,000 บาท และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 2,068,157,600 บาท กระทรวงวัฒนธรรม 68,118,500 บาท จำแนกได้เป็น สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 15,737,500 บาท, กรมศิลปากร 6,581,000 บาท  และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม 45,800,000 บาท และกระทรวงอุตสาหกรรม 498,602,100 บาท โดยสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้ 134,723,000 บาท และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ 363,879,100 บาท 

รัฐวิสาหกิจ 3,988,866,800 บาท แบ่งเป็น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 1,421,255,400 บาท, ธนาคารออมสิน 185,726,000 บาท, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 785,000,000 บาท และการยางแห่งประเทศไทย 1,596,885,400 บาท ส่วนกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน 34,022,513,200 บาท แบ่งเป็น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 20,000,000,000 บาท, กองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก 13,872,513,200 บาท, เงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตและขยายพันธุ์พืช 150,000,000 บาท และสุดท้ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ในความควบคุมของกระทรวงการคลัง 49,641,923,000 บาท เพื่อเป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"