เข้านอน-ตื่นเช้าเป็นเวลา เคล็ดลับสุขภาพดีคูณสอง


เพิ่มเพื่อน    


     ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา ที่คนทั่วโลกประสบปัญหากับโรคโควิด-19 ระบาด ส่งผลให้พฤติกรรมการนอนหลับส่วนใหญ่ของเราได้รับผลกระทบ เนื่องจากกิจวัตรประจำวันของเรานั้นเปลี่ยนแปลง กระทั่งหยุดชะงัก หรือแม้แต่การที่เราต้องปรับสไตล์การใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มอล นั่นจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้หลายๆ คน ไม่ได้นอนหลับพักผ่อนในเวลาที่เหมาะสม หรือเข้านอนไม่เป็นเวลา ส่งผลต่อการนอนหลับได้ยากขึ้นเรื่อยๆ และก็มักจะตามมาซึ่งปัญหาสุขภาพต่างๆ อีกมากมาย ทั้งเรื่องของความเครียด ที่เกิดจากการต้องนั่งจ้องโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ทั้งวี่ทั้งวัน 
ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ จากมูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ (National Sleep Foundation) ได้ให้ข้อมูลว่า แนะนำให้ผู้ใหญ่นอนหลับระหว่าง 7-9 ชั่วโมงในแต่ละคืน และคุณยังสามารถนอนพักผ่อนต่อไปได้นานถึง 10 ชั่วโมงอีกด้วย นอกจากนี้แต่ละคนนั้นไม่ควรนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง 
     สอดคล้องกับ ดร.จูดส์ วู นักจิตวิทยาคลินิก จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) ในอังกฤษ บอกว่า “คุณจะยิ่งนอนหลับไม่สนิท หากตั้งเป้าไว้ที่ 10 ชั่วโมงทุกคืน เพราะอันที่จริงแล้วช่วงเวลาที่หลับลึกนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 7 ชั่วโมงเท่านั้น และแม้ว่าคุณจะพยายามนอนหลับให้ได้มากที่สุดประมาณ 9 ชั่วโมงก็ตาม แต่สุดท้ายคุณจะเริ่มรู้สึกหงุดหงิด เพราะอย่าลืมว่าการที่คุณยิ่งพยายามนอนให้หลับมากขึ้นเท่าไร ก็จะทำให้การนอนของคุณแย่ลง เพราะนั่นยิ่งทำให้คุณนอนไม่หลับมากขึ้นไปอีก เนื่องจากความกังวลที่คุณบังคับตัวเองให้นอนหลับ ถ้าเทียบกับการที่คุณไม่ต้องคิดมากเรื่องการนอน เพราะอันที่จริงแล้วการนอนหลับ แต่เป็นการพักผ่อนที่คุณนอนหลับลึก (ไม่ตื่นขณะที่นอนหลับ) เพียงแค่วันละ 7 ชั่วโมง ก็ทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีแล้ว 
     ที่ลืมไม่ได้นั้น การรักษาเวลาตื่นนอนให้สม่ำเสมอ และเข้านอนในเวลาที่คุณคิดว่าจะหลับได้ลึก อีกทั้งตื่นขึ้นมาตอนเช้าอย่างมีความสุข ดีกว่าการเข้านอนไม่เป็นเวลา นั่นจะทำให้คุณรู้สึกนอนไม่พอ จนต้องเลื่อนเวลาการตั้งปลุกในตอนเช้าออกไปเรื่อยๆ สอดคล้องกับนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและโรงพยาบาลบริกแฮมและสตรี ชี้ให้เห็นว่า “เวลาตื่นนอนที่สม่ำเสมอ โดยมีระยะการเข้านอนหลับต่อคืนในช่วงเวลาเดียวกันเป็นประจำทุกคืน จะทำให้ชีวิตของนักเรียนมีประสิทธิผลมากขึ้น เพราะการกำหนดเวลาที่คุณตื่นนอนตอนเช้า เพื่อเตรียมตัวออกไปทำงาน ถือเป็นกิจวัตรตอนเช้าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนั่นถือเป็นการกำหนดเวลานอน และการทำงานของร่างกายที่เป็นปกติ และหากคุณยึดหลักการนอนหลับและการตื่นเป็นเวลาดังกล่าว ก็จะทำให้สมองของคุณจดจำกิจวัตรประจำวันเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย ขณะเดียวกันสมองก็จะเป็นตัวบอกให้คุณทราบว่า ขณะนี้ถึงเวลาเข้านอนแล้วนั่นเอง 
     ตามคำแนะนำมูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ (National Sleep Foundation) แนะนำให้ใช้แผนภูมิกำหนดการนอนหลับไว้ดังนี้
     สมมติว่าคุณอายุ 30 ปี กำลังทำงานจากที่บ้าน แต่สนุกกับการออกกำลังกายในช่วงตอนเช้า และคุณก็พร้อมที่จะตื่นนอนก่อน 07.00 น. คุณจะต้องนอนหลับไม่เกิน 19.00 น. แต่ควรเปิดโอกาสให้ตัวเองเข้านอนก่อน ช้าได้ถึงเวลา 22.00 น. เพื่อที่คุณจะได้นอนได้ใกล้เคียง 9 ชั่วโมงที่คุณต้องการ เมื่อคุณต้องตื่นเวลาประมาณ 07.00 น. หรือตื่นก่อนหน้านั้นเล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายของคุณจะสั่งการ เมื่อคุณรู้สึกง่วงนอน และพร้อมที่จะเข้านอนในช่วงเวลาที่คุณเดินขึ้นเตียงเป็นประจำทุกวัน และนั่นจะทำให้คุณตื่นนอนตอน 07.00 น. ซึ่งหลังจากที่คุณกำหนดกิจวัตรดังกล่าวได้แล้ว ทุกอย่างก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายๆ หรือเวลาที่คุณรู้สึกง่วง แนะนำว่าให้คุณรีบปิดอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิดีโอเกม และโทรศัพท์ และรีบเข้านอนทันที ดังนั้น ช่วงเวลาเย็นที่คุณเลิกงาน หรือกลับจากโรงเรียน คุณควรรีบทำกิจกรรมทุกอย่างให้เรียบร้อย รวมถึงทำการบ้าน หรืองานบ้าน ดูหนัง เล่นเกมในวิดีโอเกม เพราะถ้าคุณปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวันเหล่านี้ได้อย่างสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะเตือนคุณให้รู้สึกง่วง เมื่อถึงเวลาที่คุณเข้านอนเป็นปกติทุกวัน. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"