ครม. ไฟเขียว “พีอีเอ เอ็นคอมฯ" ลุยโรงไฟฟ้าประชารัฐ พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


เพิ่มเพื่อน    

ครม. ไฟเขียว “พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล” ร่วมทุน 3 บริษัทในเครือ ลุยโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐ สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แก้ปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ เคาะลงทุนในสัดส่วน 40% และให้เอกชน-วิสาหกิจชุมชนลงทุนไม่เกิน 60% ของส่วนทุน

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จัดตั้ง/ร่วมทุนบริษัทในเครือ เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐ สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในส่วนของแผนงานผลิตไฟฟ้าชุมชนจากชีวมวล โดยให้บริษัท พีอีเอฯ ลงทุนในสัดส่วน 40% ของส่วนทุน และภาคเอกชน วิสาหกิจชุมชน ลงทุนในสัดส่วน 60% ของส่วนทุน (วิสาหกิจชุมชนสามารถเข้ามาถือหุ้นได้ไม่เกิน 10%)

ทั้งนี้ บริษัท พีอีเอฯ จะจัดตั้ง/ร่วมทุนบริษัทในเครือ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท ประชารัฐชีวมวล นราธิวาส จำกัด (จังหวัดนราธิวาส), บริษัท ประชารัฐชีวมวล แม่ลาน จำกัด (จังหวัดปัตตานี) และ บริษัท ประชารัฐชีวมวล บันนังสตา จำกัด (จังหวัดยะลา) โดยมีปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าไม่เกิน 15 เมกะวัตต์

“ที่ผ่านมาพื้นที่ภาคใต้มีปัญหาเรื่องการผลิตไฟฟ้าภายในพื้นที่ไม่เพียงพอ ต้องใช้ไฟฟ้าจากภาคกลางและซื้อจากประเทศมาเลเซีย โดยโครงการนี้ยังเป็นอีกโครงการในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน เพื่อรองรับการจัดตั้งโครงการพาคนกลับบ้าน ของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และโครงการรองรับมวลชน หมู่บ้านสันติสุข รวมทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยการสร้างงาน เพิ่มรายได้ ส่งผลให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งยังเป็นการส่งเสริมระบบป้องกันตัวเองจากมวลชนในพื้นที่ที่ เพราะมีความประสงค์ร่วมกันในการให้เกิดความมั่นคงอย่างถาวรอีกด้วย” นายณัฐพร กล่าว

สำหรับวงเงินลงทุนรวมทั้งหมด อยู่ที่ 1.55 พันล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 20 ปี แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดนราธิวาส มีกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ และจะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวน 6.3 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุน 755 ล้านบาท, โรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดปัตตานี มีกำลังการผลิต 3 เมกะวัตต์ และจะขายไฟฟ้าให้ กฟภ. จำนวน 2.85 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุน 410 ล้านบาท และโรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดยะลา กำลังการผลิต 3 เมกะวัติ และจะขายไฟฟ้าให้ กฟภ. จำนวน 2.85 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุน 390 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในเดือน ก.ค. นี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ในเดือน พ.ย. 2563 โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการดังกล่าว คือ การสร้างงานให้แก่ชุมชนในพื้นที่ ทำให้ประชาชนมีรายได้ ชุมชนได้รับการพัฒนาท้องถิ่นและเศรษฐกิจชุมชนเจริญเติบโต สร้างความรู้ ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชนให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้า เป็นต้น

“พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงพลังงานให้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต และเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ก็ให้มีการร่วมมือกับประชาชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของโครงการนี้ร่วมกัน” นายณัฐพร กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"