ผู้สมัครส.ส.จัดมหรสพได้ 'เสรี' เชื่อเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตย


เพิ่มเพื่อน    

12 ม.ค. 61 - นายเสรี สุวรรณภานนท์  กรรมาธิการวิสามัญพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ตามร่าง พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ได้กำหนดมาตรการในการให้มีการเลือกตั้งที่สุจริตมากมาย   ทำให้ต้องย้อนกลับไปคิดว่าการที่ได้กำหนดมาตรการห้ามการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดมหรสพนั้น ควรจะห้ามต่อไปอีกหรือไม่ซึ่งความจริงแล้ว มหรสพ เป็นสิ่งรื่นเริงที่ชักชวนให้ประชาชนออกมาพบผู้สมัครและออกมาฟังนโยบายหาเสียงของผู้สมัครและของพรรคการเมือง

นายเสรี กล่าวว่าที่ผ่านมา นอกจากการปราศรัยใหญ่ที่มีผู้สนใจออกมาฟังการหาเสียงแล้ว ในระดับทั่วๆไป การจะให้คนออกมาฟังปราศรัยผู้สมัครอื่นๆ มักมีจำนวนคนฟังออกมาไม่มากนัก หากจะมาได้จะต้องมีการว่าจ้างกันให้ออกมา  เกณฑ์กันมา หรือ บังคับโดยใช้อิทธิพลหรือระบบอุปถัมภ์เกณฑ์คนออกมาฟังการปราศรัยหาเสียง ซึ่งจะมาเฉพาะพวกใครพวกมัน  ทำให้บรรยากาศของการเลือกตั้งเป็นเรื่องที่เคร่งเครียด ขาดแรงจูงใจ

"ดังนั้น จึงควรน่าจะเปิดโอกาสให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองสามารถใช้มหรสพ เป็นเครื่องจูงใจให้คนทั่วไปออกมาฟังการหาเสียงหรือนโยบายของพรรคการเมือง ไม่เฉพาะคนที่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเท่านั้น ยังชักจูงให้เด็กเยาวชนหรือคนที่ยังมิได้มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งออกมาฟังการหาเสียงหรือนโยบายตั้งแต่เป็นเด็กและเยาวชนอีกด้วย อันเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาประชาธิปไตย"นายเสรี กล่าว

เขา กล่าวว่าข้อดีข้ออื่นของการจัดให้มีมหรสพ คือ การให้โอกาสประชาชนได้ออกมาค้าขาย หรือออกมาทำมาหากิน อันจะทำให้ในทุกๆพื้นที่ในช่วงเวลาหาเสียงเลือกตั้งมีเศรษฐกิจระดับชาวบ้านที่ใช้เงินในตลาดอย่างถูกกฎหมาย  อันจะทำให้วิถีชีวิตของประชาชนทั่วๆไปดีขึ้น   รวมทั้งสร้างบรรยากาศของการหาเสียง ก็จะครึกครื้น ไม่เงียบเหงาหรือซึมเศร้า ที่มีแต่ความขัดแย้งและความตึงเครียด  ซึ่งการออกมาชมมหรสพนี้ ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นการให้ประชาชนออกมาสัมผัสประชาธิปไตยที่เบิกบานอย่างกว้างขวาง 

"มหรสพ มิได้ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือไม่เท่าเทียมอย่างที่บางคนอ้าง เพราะการจัดมหรสพนั้นจะถูกนำไปคิดคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของผู้สมัครหรือของพรรคการเมืองที่ได้กำหนดจำนวนเงินไว้แล้ว โดยให้มีค่าใช้จ่ายไม่เกินจำนวนที่เท่ากัน"

นายเสรี กล่าวด้วยว่าไม่ต้องห่วงว่า จะมีการซื้อเสียงขายสิทธิ์การได้โดยอาศัยมหรสพ เพราะเรามีมาตรการทางกฎหมายที่เข้มข้น มีอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือที่สามารถอัดเสียงอัดภาพได้ โดยเฉพาะ ไม่มีใครทราบว่าใครฝ่ายไหน หรือประชาชนคนไหนสนับสนุนผู้สมัครคนใด โดยหากใครใช้เงินที่ผิดกฎหมายจะถูกถ่ายภาพหรืออัดเสียงไว้เป็นหลักฐานในการถูกดำเนินคดีหรือถูกตัดสิทธิทางการเมือง ดังนั้น มหรสพ จึงไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้งแต่ประการใด หากต้องการให้คนเข้าวัดก็จัดงานวัด หรือ การบวชนาค ก็ยังมีรำกลองยาวแห่นาค หรืองามสมโภชงานบวช ตอนกลางคืนก็ยังมีหนังมีลิเก ซึ่งล้วนเป็นมหรสพทั้งสิ้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"