'วิษณุ' ตอบชัด ส.ส.ถูกตัดสินจำคุก หากศาลไม่เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ก็ยังคงความเป็น ส.ส.


เพิ่มเพื่อน    

25 ก.พ.64 - เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีศาลอาญาพิพากษาจำคุกบุคคลที่เป็นรัฐมนตรี จึงต้องหลุดจากตำแหน่งทันที ว่า เป็นธรรมดาที่ทราบกันอยู่แล้ว ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัด ในเรื่องของการพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีเฉพาะตัวตามมาตรา 170 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญจะต้องโยงกับกฎหมายหลายมาตรา โดยมาตรา 170(4) ระบุว่าความเป็นรัฐมนตรีย่อมสิ้นสุดลงตาม เป็นการเฉพาะตัว เมื่อมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160(7) ที่ระบุถึงการต้องคำพิพากษาให้จำคุก ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้จำคุก ไม่ว่าจะถึงที่สุดหรือไม่แต่รัฐธรรมนูญให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงอย่างชัดเจน

นายวิษณุ กล่าวว่า ส่วนกรณีคนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 101(13) โดยปกติหากศาลยังไม่ตัดสินถึงที่สุด ให้จำคุก ก็จะยังไม่พ้น แต่จะมีเหตุอื่นเข้ามา เช่นศาลสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ก็จะโยงไปถึงการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งมาตรา 96(2) ที่ระบุว่าหากเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่ว่าคดีจะถึงที่สุดหรือไม่ ก็จะพ้นจากความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย ส่วนบุคคลที่ศาลไม่ได้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง โดยหลักแล้วการจำคุกก็ยังไม่ถึงที่สุด สิทธิเลือกตั้งก็ไม่ถูกเพิกถอน จึงยังไม่พ้นจากความเป็นส.ส. แต่ก็มีเหตุอื่นแทรกเข้ามาอีกว่า หากถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาล และมีหมายของศาลให้จำคุกกรณี เช่นนั้นก็จะพ้นด้วย แต่ตนไม่ทราบว่าใครเข้าข่ายดังกล่าวบ้าง

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีส.ส. บัญชีรายชื่อก็ต้องเลื่อนขึ้นมาตามลำดับ ซึ่งการเลื่อนช้าหรือเร็วนั้นจะมีผลต่อการประชุมสภาฯ เนื่องจากสภากำลังจะปิดสมัยประชุมและถ้าเลื่อนเร็ว ก็เข้ามาทำหน้าที่ได้เร็ว อย่างน้อยถ้าเปิดสมัยวิสามัญขึ้นมาพิจารณา รัฐธรรมนูญ ก็จะได้ทำหน้าที่ได้ แต่ถ้ายังไม่เลื่อนขึ้นมา ก็ยังไม่ถือเป็นส.ส.  ส่วนส.ส.เขตก็ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สงสัย ก็จะเหมือนกรณีของ นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช ที่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะเลือกตั้งเขตจะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ทั้งนี้กรณีของนายเทพไทก็ถือเป็นบรรทัดฐานไว้แล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เอกสิทธิ์ของผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมสภา จะสามารถคุ้มครองผู้ที่เป็นส.ส. ได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อย่าใช้คำว่าเอกสิทธิ์ เนื่องจากมีเรื่องของเอกสิทธิ์กับความคุ้มกัน คำว่าเอกสิทธิ์หมายถึงการพูดในสภาแล้วไม่ผิด คือเฉพาะเรื่องการพูดเรื่องเดียว แต่ถ้าเป็นเหตุชกกัน ก็ไม่มีเอกสิทธิ์ ส่วนความคุ้มกันหมายความว่า ในสมัยประชุมจะนำตัวไปดำเนินคดีอะไรไม่ได้ ถ้าปิดสมัยประชุมทำได้ ซึ่งความคุ้มกันมีกระบวนการ ไม่ได้มาโดยอัตโนมัติ เมื่อถามว่ากรณีที่ถูกจำคุกแล้วยังจะสามารถขอความคุ้มกันได้อยู่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ได้

เมื่อถามว่าการที่ผู้ถูกเข้าเรือนจำแล้วจะถือว่าสิ้นสภาพความเป็นส.ส. เลยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เพียงเท่านั้น ยังไม่ เพราะยังอยู่ระหว่างอุทธรณ์ และยังไม่ได้ถูกจำคุกโดยหมายของศาล

ผู้สื่อข่าวถามว่า คนที่เป็นส.ส.แล้วเข้าเรือนจำ ยังไม่ถือว่าสิ้นสภาพการเป็นส.ส.ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจว่าเป็นการถูกจำคุกโดยหมายของศาลหรือไม่ เพราะอาจเป็นการควบคุมตัวธรรมดา หากเขาอ้างความคุ้มกันขึ้นมาก็ต้องปล่อยตัว เพราะถือว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการอุทธรณ์

เมื่อถามย้ำว่าหากเป็นการเข้าเรือนจำโดยหมายของศาล การคุ้มครองในฐานะของส.ส. ก็จะหมดไปเลยใช่หรือไม่  นายวิษณุ กล่าวว่า ใช่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"