เจ้าสัวซีพีจี้รัฐเปิดโอกาสสตาร์ทอัพเข้ามาไทยลุยตั้งกองทุน 100 ล้านเหรียญฯ


เพิ่มเพื่อน    

 

26 ก.พ.2564 นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยในคลับเฮาส์ ภายใต้หัวข้อ“SMEs Clinic ร่วมคิดฝ่าวิกฤตเศราฐกิจ” ว่า หากเปรียบเทียบระหว่างวิกฤตโควิด-19 กับต้มยำกุ้ง มองว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงกว่าและเกิดขึ้นในทั่วทุกมุมโลก จะเห็นได้ว่าในอดีตวิกฤตของต้มยำกุ้งอยู่ในเขตจำกัด โดยเป็นการเริ่มต้นจากประเทศไทยและเอเชีย ซึ่งแน่นอนว่าเศรษฐกิจเอเชียไม่ได้ใหญ่ และในช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจทางแถบยุโรปและอเมริกาไม่ได้สะเทือน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเมืองไทยจะไม่ได้เสียหายขนาดนั้น แต่อยู่ที่ผู้นำประเทศบริหารประเทศไม่ถูก ไม่เข้าใจวิกฤตตัวนี้ว่าจะมีผลกระทบยังไง ไม่ได้ตัดไฟแต่ต้นลม  ขณะเดียวกันในรัฐบาลยุคนี้ ถ้ามีความเข้าใจก็เชื่อว่าหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้หรือไปได้ถูกทางมากขึ้น 

สำหรับในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่าผู้ประกอบการขนาดเล็กและสตาร์ทอัพต้องการที่จะเข้ามาลงทุนหรือใช้ชีวิตในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยน่าลงทุนและไปอยู่ เพราะเทคโนโลยีในทุกวันนี้ทำให้สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ในยุคนี้คนเก่งต้องการเข้ามาอยู่เมืองไทย จะไม่มีคำว่าแรงงาน มีแต่วิศวกร ช่างเทคนิค ใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะ ไม่มีสหภาพแรงงาน สวัสดิการ ประเทศที่เจริญแล้วจะไม่มีเกษตรกร แต่การขายจะง่ายขึ้น วัตถุดิบจะซื้อได้ง่ายขึ้นผ่านเว็บไซต์ โดยการไปดูว่าระเทศไทยมีสินค้าอะไร ขายราคาเท่าไหร่ เปรียบเทียบได้ด้วย  

“ประเทศไทยเต็มไปด้วยโอกาส แต่รัฐบาลต้องเข้าใจกลุ่มสตาร์ทอัพที่เข้ามาลงทุน แต่ตอนนี้ก็มีหลายข้อจำกัดที่ทำให้เข้ามายากมาก วันนี้เราขาดแคลนคนเก่ง ขาดคนที่มีความรู้ ทำเรื่องธุรกิจรุ่นใหม่สำเร็จ ทำไมเราไม่ดึงคนเหล่านี้เข้ามาแล้วมาดึงคนไทยเก่งขึ้นไปด้วย” 

ส่วนแผนจะตั้งกองทุนสตาร์ทอัพ 100 ล้านเหรียญนั้น ก็ต้องมาดูว่าธุรกิจเหล่านั้นเป็นแบบใหม่หรือเปล่า เพราะถ้าลงทุนแบบเก่าจะไปสู้คนเก่าก็คงจะยาก ต้องปล่อยให้คนที่มีประสบการณ์ต่อยอด ส่วนการลงทุนของบริษัทก็ต้องทำของใหม่ หรือคนเก่าทำไม่ได้ไม่ทำ ก็เข้าไปต่อยอด และจากการที่ผู้ประกอบการเหล่านั้นขาดเงิน ขาดความรู้ บางรายต้องการไปเรื่องการผลิต บริษัทก็ต้องคอยสนับสนุนด้านความรู้ด้วย เพราะการให้เงินอย่างเดียวไม่พอ ถ้าเห็นว่ามีโอกาสก็ต้องช่วยเขา ส่งเสริมการขาย ให้รู้จักวิธีการบริหาร แต่ใช้วิธีใหม่ของโลกเสริมเรื่องประสบการณ์ของเก่าไปประยุกต์เป็นของใหม่  

นายธนินท์ ยังให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการต่ออีกว่า หากวันนี้ธุรกิจของตัวเองได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผู้ประกอบการต้องไปศึกษา และมองว่าตัวเองนั้นเก่งเรื่องอะไร ต้องไปดูธุรกิจที่ยังประสบความสำเร็จท่ามกลางวิกฤตโควิดว่ามีประเภทไหนบ้าง เพื่อมาต่อยอดกับธุรกิจที่ผู้ประกอบการนั้นๆ มีอยู่อาจจะไม่ต้องเปลี่ยนเป็นหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะหากทำเรื่องไม่เข้าใจเลยต้องเริ่มใหม่ แต่ต้องต่อยอด  แล้วจะผิดอะไรที่จะใช้ความรู้ เครื่องจักร หรือความเชี่ยวชาญที่มีอยู่มาต่อยอด  อาทิ กระเป๋าเดินทาง ก็หันไปทำกระเป๋าเก็บอุณหภูมิ รองรับการจัดส่งสินค้าและธุรกิจเดลิเวอรี่ เพราะส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบต่อยอดไม่ชอบมาเริ่มจากศูนย์เท่าไหร่นัก โดยอาจจะมีกองทุนใหญ่อีกหนึ่งกองทุน เพื่อเข้าไปลงทุนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ 

ด้านธุรกิจท่องเที่ยวหรือไกด์ยังน่าสนใจแต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ไม่ใช่แค่พาไปเที่ยวอย่างเดียว แต่ต้องมีความทันสมัย ส่วนตัวก็สนใจลงทุนธุรกิจไกด์กับทัวร์ ถ้าเป็นรัฐบาลคงจะเอาเงินเลี้ยงธุรกิจเหล่านี้ให้อยู่รอด อย่างรัฐบาลอังกฤษมีการจ่ายเงินเดือน ไม่ให้ไล่พนักงานออก เพราะประเทศเขามีความเข้าใจไม่เหมือนรัฐบาลไทย ต่อไปโควิดหายไปแล้วคนมาท่องเที่ยว มีการเตรียมความพร้อมผ่านการอบรม ต้องมีธุรกิจแบบนี้ในประเทศไทย  

อย่างไรก็ตาม ด้านบุคลากรการจะทำให้เขามีกำลังใจต้องคิดว่าพนักงานของบริษัทเหมาะสมกับอะไร แล้วเป้าหมายของบริษัทคืออะไร ต้องหาคนแบบไหนที่เหมาะสมกับงาน ต้องให้อำนาจและโอกาสเขาลองผิดลองถูก ให้เขามีอำนาจตัดสินใจ ไม่ใช่มาเที่ยวถามคนล้าสมัยแล้วคุมอำนาจเขา ควรเป็นการชี้แนะแต่ไม่ชี้นำ ให้โอกาสเขาทำผิด ตัวเรามีหน้าที่สนับสนุน จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหากไปชี้นำเขา  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"