น้ำประปาเค็มกลับจืด นักวิจัยจุฬาฯ ทำเครื่องนาโนสกัดแยกเกลือ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

     พอเข้าหน้าแล้งปี 2564 ชาวกรุงเทพฯ ก็ต้องเผชิญปัญหาน้ำประปาเค็ม ซึ่งปีนี้มีความเค็มที่สุดในรอบ 20 ปี 

      “ ในอนาคตปัญหาน้ำประปาเค็มในบ้านเราจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และน้ำเค็มจะรุกยาวขึ้นไปถึงเดือนพฤษภาคม” ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล นักวิชาการด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

      ศ.ดร.พิสุทธิ์ อธิบายว่า สาเหตุที่น้ำทะเลหนุนสูงในช่วงหน้าแล้งของทุกปี เป็นผลจาก 1.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ น้ำทะเลจึงหนุนขึ้นมาปนกับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก เหตุผลที่ 2.มาจากแรงดันน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ที่ลดลงในหน้าน้ำแล้งเนื่องจากถูกดึงไปทำการเกษตร มากถึง 70% และ 3.ระบบประปา น้ำผิวดินจากแหล่งที่นำไปผลิตน้ำประปามีความเค็ม การจะแก้ปัญหานี้ให้สำเร็จอย่างยั่งยืนต้องแก้ทั้งสามเรื่องดังกล่าวไปพร้อมกัน โดยเฉพาะเรื่องแรงดันน้ำต่ำ ที่ต้องดึงหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง และที่เร่งด่วนไม่แพ้กันคือการดูแลคุณภาพน้ำดื่มสำหรับผู้บริโภค

ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

 

      ในเรื่องนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศ.อรุณ สรเทศน์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เปิดให้บริการตรวจวัดค่าความเค็มของเกลือในน้ำด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจวัดที่ทันสมัยระดับโลก พร้อมให้คำแนะนำระบบบำบัดที่เหมาะสมกับปัญหามลภาวะแก่หน่วยงานต่างๆ และประชาชนทั่วไป  กว่า 3 ปี ที่ศูนย์ได้ร่วมมือกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ศึกษาวิจัยนาโนเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อแก้ปัญหาความเค็มในน้ำประปาด้วยวัสดุชนิดใหม่และใช้กระแสไฟฟ้าจับแยกอนุภาคเกลือออกจากน้ำ ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “Electrodialysis”

       อ.ดร.เจนยุกต์ โลห์วัชรินทร์ ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศ.อรุณ สรเทศน์ กล่าวถึงงานวิจัยนี้ว่า การกรองน้ำปกติแบบ RO (Reverse Osmosis) นอกจากการใช้ RO Membrane แล้ว เรายังทำงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้วัสดุกรองน้ำหรือเมนเบรนใหม่ๆ ในการแยกเกลือออกจากน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมมเบรนที่สามารถกักกรองอนุภาคระดับฟลูโอไรด์ที่มีขนาดเล็กละเอียดยิบมากที่สุดที่เรียกว่า Ultrafiltration Membrane และใช้พลังงานไฟฟ้า (Electrodialysis) ผลักดันอนุภาคเกลือออกไปจากน้ำโดยใช้แรงดันน้ำน้อยแต่ได้คุณภาพน้ำที่ดีเช่นกัน

 อ.ดร.เจนยุกต์ โลห์วัชรินทร์

 

     ประเด็นเทคโนโลยีทำน้ำเกลือให้จืดกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา คาดว่าอีกไม่ช้าทางศูนย์จะได้นำออกมาให้บริการกับประชาชน ซึ่งในระหว่างนี้ อ.ดร.เจนยุกต์แนะให้ผู้บริโภคดื่มน้ำที่ผ่านการระบบการกรองอย่าง RO (Reverse Osmosis) ให้ถูกวิธีเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้น้ำที่สะอาด ปราศจากความเค็มจากโซเดียมคลอไรด์ แต่ก็ปราศจากแร่ธาตุทุกชนิดด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่เหมาะที่จะดื่มเป็นประจำเพราะจะทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุได้

      “วิธีการที่ดีคือให้นำน้ำที่ผ่านกระบวนการ RO อย่างสมบูรณ์มาผสมกับน้ำที่ผ่านกระบวนการกรองระดับเบื้องต้น คือ กรองความขุ่น กรองกลิ่นคลอรีนและกำจัดความกระด้างของน้ำ อย่างนี้เราก็จะได้น้ำสะอาดที่มีความพอดี ไม่มีผลกระทบจากเกลือ แต่ยังคงมีแร่ธาตุสำคัญบางอย่างหลงเหลืออยู่” อ.ดร.เจนยุกต์แนะนำ

      นอกจากการดูแลน้ำดื่มภายในครัวเรือนแล้ว วิศวกรสิ่งแวดล้อมทั้งสองชักชวนให้ทุกคนช่วยกันลดการใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรักษาแรงดันน้ำในแม่น้ำให้เป็นปกติมากที่สุด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้หรือสำรองน้ำในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง (14.00–16.00 น.) ที่สำคัญลดการบริโภคอาหารรสเค็ม

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"