'นิด้าโพล'เผยประชาชนไม่เห็นด้วยลงโทษผู้โหวตสวนมติพรรคชี้เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล


เพิ่มเพื่อน    

 

28 ก.พ. 2564  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ลงโทษผู้โหวต  สวนมติพรรคอย่างไรดี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 26 กุมภาพันธ์ 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษาและอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการลงโทษ ส.ส. ที่โหวตไม่เป็นไปตามมติพรรค (เช่น โหวตสวนทาง งดออกเสียง ไม่ปรากฏการลงคะแนน เป็นต้น) การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก  (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการลงโทษ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล ที่โหวตไม่เป็นไปตามมติพรรคร่วมรัฐบาลพบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.67 ระบุว่า ไม่ควรมีการลงโทษ เพราะ เป็นสิทธิของแต่ละบุคคลในการเเสดงความคิดเห็นที่เเตกต่าง ไม่จำเป็นต้องตามมติของพรรคเสมอไป รองลงมา ร้อยละ 45.80 ระบุว่า ควรมีการลงโทษ เพราะ ไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง ส.ส. มีหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนต้องออกเสียงหรือทำตามมติพรรค และร้อยละ 1.53 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

เมื่อถามถึงรูปแบบการลงโทษจากผู้ที่ระบุว่าควรมีการลงโทษ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.34 ระบุว่า ไม่ส่งลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรค      ในการเลือกตั้งครั้งหน้า รองลงมา ร้อยละ 26.00 ระบุว่า ห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมทางการเมืองร่วมกับพรรคหรือรัฐบาลอีกต่อไป ร้อยละ 17.33    ระบุว่า ปลดออกจากทุกตำแหน่งในพรรคและรัฐบาล ร้อยละ 16.33 ระบุว่า ไล่ออกจากพรรค ร้อยละ 4.67 ระบุว่า บีบให้ลาออกจากพรรค       และร้อยละ 1.33 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการลงโทษ ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน ที่โหวตไม่เป็นไปตามมติพรรคฝ่ายค้าน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.82 ระบุว่า ไม่ควรมีการลงโทษ เพราะ ต้องเคารพความคิดเห็นของแต่ละบุคคล สิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันสามารถมีความคิดเห็นที่แตกต่าง   กันได้ รองลงมา ร้อยละ 43.82 ระบุว่า ควรมีการลงโทษ เพราะ เป็นการไม่ปฏิบัติตามมติพรรคและไม่ยุติธรรมต่อพรรคที่ตนเองสังกัด เปรียบเสมือนเป็นงูเห่าของพรรค และร้อยละ 2.36 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

เมื่อถามถึงรูปแบบการลงโทษจากผู้ที่ระบุว่าควรมีการลงโทษ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.45 ระบุว่า ไม่ส่งลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรคในการเลือกตั้งครั้งหน้า รองลงมา ร้อยละ 27.70 ระบุว่า ห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมทางการเมืองร่วมกับพรรคอีกต่อไป ร้อยละ 17.07 ระบุว่า ไล่ออกจากพรรค ร้อยละ 15.85 ระบุว่า ปลดออกจากทุกตำแหน่งในพรรค ร้อยละ 4.53 ระบุว่า บีบให้ลาออกจากพรรค และร้อยละ 1.40 ระบุว่า  อื่น ๆ ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน  

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.24 ระบุว่า ควรมีการปรับ ครม. เพียงแค่บางตำแหน่ง รองลงมา ร้อยละ 33.66 ระบุว่า ควรมีการปรับ ครม. ครั้งใหญ่ ร้อยละ 11.68 ระบุว่า ไม่ควรมีการปรับ ครม. และร้อยละ 5.42 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"