คมนาคมสั่ง กพท. ทบทวนวิธีคิดค่าตั๋วเครื่องบินใหม่ให้เป็นสากล


เพิ่มเพื่อน    

 

12 มี.ค.64-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) วันนี้ (11 มี.ค. 2564) ว่า ที่ประชุม กบร.ได้มอบหมายให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ไปพิจารณาศึกษาการคิดอัตราค่าโดยสารเครื่องบิน ให้เป็นไปตามหลักสากล โดยการคำนวณจากระยะทาง และน้ำหนัก เป็นตัวกำหนดอัตราค่าโดยสาร เนื่องจากในปัจจุบันได้คำนวณจากเวลา มาเป็นตัวกำหนดราคาค่าโดยสาร เช่น การจองล่วงหน้า จะได้ราคาถูก ซึ่งต่างจากการจองตั๋วรถไฟ รถทัวร์ รถไฟฟ้าที่คิดตามระยะทาง และกำหนดราคาค่าโดยสารจากชั้นโดยสารที่ให้บริการ เป็นต้น โดยมองว่า เรื่องดังกล่าว ยังไม่ตอบโจทย์ และไม่ใช้หลักสากล

ทั้งนี้ ให้ไปพิจารณาเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในโลก ที่คำนวณค่าโดยสารจากระยะทาง และน้ำหนัก หรือพิจารณาว่า ค่าโดยสารที่คำนวณในปัจจุบัน บวกกับปัจจัยอื่นๆ (Factor) มีอะไรบ้าง รวมถึงราคาดังกล่าว เป็นที่ยอมรับได้จริงหรือไม่ เพื่อจะนำมาใช้ในการคิดราคาค่าโดยสารให้เป็นไปตามมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวนั้น กพท. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลสายการบิน จะต้องมีการพิจารณาให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้ประกอบการสายการบิน และประชาชน โดยให้กรอบระยะเวลาในการพิจาณาศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ก่อนนำมาเสนอในที่ประชุม กบร. ในครั้งต่อไป เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และสอดรับกับแนวทางของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า การเดินทางจะกลับมาภายในไตรมาส 4 ของปี 2564

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ยังได้สั่งการให้ กพท.ไปพิจารณาการบริหารจัดการเวลาการบิน (Slot) ของสายการบิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่จะต้องมีความชัดเจน โดยให้บูรณาการร่วมกับสายการบิน และต้องมีกติกากำหนดไว้ อาทิ สายการบินที่จะเข้ามาใช้ไม่เต็มตารางเที่ยวบิน สามารถขอคืนได้หรือไม่ หรือมีเหตุผลอะไร รวมทั้งจะจะได้นำไปบริหารจัดตารางเที่ยวบินให้สายการบินอื่นใช้ต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด เพื่อสนับสนุนด้านการขนส่งทางอากาศ และการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นภาคอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มากที่สุดของประเทศ หรือประมาณ 80%

นอกจากนี้ ที่ประชุม กบร. ได้สั่งการ กพท. ไปศึกษาและทบทวนแบบจำลองการจัดกลุ่มตามระดับสุขภาพทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการบินทลเรือน เพื่อให้มีแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดกับบริบทของประเทศไทย และไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างในช่วงที่ผ่านมา กล่าวคือ เมื่อสายการบินไม่มีความพร้อมในการดำเนินการ อาจจะทำให้ต้องปิดกิจการไป โดยการตรวจสถานะสายการบินนั้น อาจจะต้องมีการรายงานสถานะทุก 15 วัน ทั้งนี้ กพท. ได้ไปว่าจ้างสถาบันการศึกษา เพื่อศึกษาแบบจำลองดังกล่าว และจะมีการนำมาใช้ในประเทศไทยในช่วง มิ.ย. 2564 จากนั้น จะมีการประชุมร่วมกับสายการบินต่อไป 

อย่างไรก็ตาม กบร. ยังได้มีมติรับทราบผลการรวบรวมข้อมูลผลการประกอบกิจการประจำปี 2562 และการจัดกลุ่มตามระดับสุขภาพทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือนประเภทการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์แบบประจำ (สายการบินของไทยซึ่งขนส่งผู้โดยสาร) โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ 1.ระดับอันตราย จำนวน 8 บริษัท 2.ระดับเฝ้าระวัง จำนาน 3 บริษัท และ 3.ระดับปลอดภัย (ไม่มี) รวมถึงเห็นชอบแนวทางในการกำกับผู้ได้รับโบอนุญาตฯ ในแต่ละกลุ่มได้แก่ กรณีที่อยู่ในระดับอันตราย โดย กพท. จะเชิญผู้ได้รับใบอนุญาตฯ เข้ามาขี้แจงรายละเอียดและทำแผนฟื้นฟูธุรกิจภายใน มี.ค. 2564 เพื่อประเมินสถานะทางการเงินว่าจะสามารถอยู่รอดได้หรือไม่ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า

ขณะเดียวกัน ยังได้มอบหมายให้ กพท. จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับภาคอุตสาหกรรมการบิน (Industry Conference) และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ต่างๆ เพื่อเป็นการบูรณาการการทำงานด้านการบินพลเรือนทุกภาคส่วนให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงให้ กพท. ไปพิจารณาเพื่อสร้างความเข้มแข็งของ กพท. ในเรื่องของงบประมาณ เนื่องจากกฎหมายได้เปิดให้ กพท. มีรายได้จากอำนาจหน้าที่ได้ เช่น การตรวจท่าอากาศยาน เป็นต้น แต่ในขณะนี้ ผู้ที่ดำเนินการ คือ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการจราจรทางอากาศ

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ได้เร่งรัดดำเนินการงานที่ยังคงค้างเป็นจำนวนมากให้แล้วเสร็จ โดยได้ให้คณะอนุกรรมการแต่ละชุดที่ได้แต่งตั้งขึ้น ไปพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ เพื่อที่ขับเคลื่อนตามแผนงาน โดยเฉพาะเรื่องสำคัญการตรวจสนามบินที่ 100 กว่าแห่ง ของทั้งสาธารณะและเอกชน ที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างถูกต้อง เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องบุคลากรของ กพท. ไม่เพียงพอ ซึ่งได้มีการมอบนโยบายว่า ให้พิจารณาตามกฎระเบียบขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่อนุญาตให้ใช้หน่วยงานหรือบุคลากรภายนอกในการดำเนินการได้ 

ทั้งนี้เพื่อวางยุทธ์ศาสตร์การบินให้เกิดผลประโยชน์กับประเทศให้มากที่สุด เพราะไทยตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางการบินของอาเซียน อย่างไรก็ตาม ได้มีการแต่งตั้งนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานอนุกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"