จับตามอง 3 แคนดิเดต ชิงตำแหน่งประธาน ก.อ.


เพิ่มเพื่อน    

23 มี.ค.64 - สำนักงานอัยการสูงสุดได้เผยแพร่ข้อมูลบุคคลในการแนะนำตัวประวัติการทำงานผลงานและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการปฏิบัติในหน้าที่ของบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561

โดยขั้นตอนการเลือกประธาน ก.อ.กำหนดให้มีการ คละบัตรและส่งบัตรไปยังข้าราชการอัยการที่มีสิทธิเลือกเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564 จะปิดผนึกช่องใส่บัตรลงคะแนนในวันที่ 19 เม.ย. 2564 เวลา16.30 น. กำหนดให้นับคะแนนในวันที่ 20 เม.ย. 2564 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะนับเสร็จที่ห้องประชุม 303 สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ

สำหรับ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553  มาตรา 18 บัญญัติให้คณะกรรมการอัยการ(ก.อ)ตามกฎหมายใหม่จำนวน 15 คนประกอบด้วย ประธาน ก.อ. (ที่มาจากการเลือกของอัยการยกเว้นอัยการผู้ช่วย) โดยมีอัยการสูงสุดเป็นรองประธาน  ก.อ. ส่วน ก.อ.ประกอบด้วย รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโส จำนวน 5 คน กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ซึ่งมาจากการเลือกของอัยการยกเว้นอัยการผู้ช่วย  ประกอบด้วย อัยการชั้น 5 ขึ้นไปจำนวน 4 คน อัยการที่เกษียณอายุราชการ จำนวน 2 คน รวมเป็น6 คน เเละกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นอัยการมาก่อนและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ การพัฒนาองค์กร หรือการบริหารจัดการ โดยให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นเลขานุการ  ก.อ.โดยประธาน ก.อ. และคณะกรรมการ ก.อ.ในสัดส่วนการเลือกตั้งจะมาจากการเลือกของอัยการยกเว้นอัยการผู้ช่วยทั่วประเทศ

คุณสมบัติผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นประธาน  ก.อ. จะเป็นผู้รับบำเหน็จบำนาญตามกฏหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเคยรับราชการเป็นข้าราชการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า ทั้งนี้ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเป็นเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อนได้รับเลือกโดยประธาน ก.อ. มีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกับหม่อมแต่งตั้ง  ส่วน ก.อ. ผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปีนับแต่วันที่ อสส. ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็น  ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยประธาน  ก.อ. และ  ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว

สำหรับการเลือกตั้งประธาน ก.อ.ตามกฎหมายใหม่ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 โดยประธาน ก.อ.ที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกคือ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่ต่อจนมีการเลือกตั้ง ประธาน ก.อ.คนใหม่เสร็จสิ้นประกาศผล จนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ประธาน ก.อ.คนใหม่ลงมา

โดยในครั้งนี้มีผู้เสนอตัว แสดงวิสัยทัศน์ จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย
1. นายถาวร พานิชพันธ์ อดีตรองอัยการสูงสุด
2. นายปรีชา วราโห อดีตรองอัยการสูงสุด
3. นาย พชร ยุติธรรมดำรง อดีตอัยการสูงสุด
4. นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ อดีตอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร
5. นายสัตยา อรุณธารี อดีตรองอัยการสูงสุด

มีรายงานว่า แคนดิเดตประธานคณะกรรมการอัยการ ที่น่าจับตามองในครั้งนี้ ได้แก่นายพชร ยุติธรรมดำรง อดีตอัยการสูงสุดคนที่ 8 ซึ่งแม้การเลือกตั้งประธาน ก.อ.ครั้งที่แล้วพลาดหวัง แต่ก็ได้คะแนนสูงเป็นอันดับ 2 จัดว่าสูงพอสมควรซึ่งสะท้อนถึงบารมีอดีต อสส.ผู้นี้ที่แม้จะเกษียนอายุราชการยังเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน โดยคะแนนมาจากฐานเสียงอัยการรุ่นเก่า อีกทั้งมีนโยบายโดดเด่นผลักดันเงินเดือนค่าตอบแทนและสวัสดิการเท่าเทียมกับศาล จึงเชื่อว่าในการเลือก ก.อ.คราวนี้ เมื่อนายพชรอาสาตัวเองอีก ก็มีโอกาสได้รับเลือกเป็นประธาน ก.อ.สูง

ส่วน นายถาวร พานิชพันธ์ อดีตรองอัยการสูงสุด มีภาพลักษณ์ของการเป็นคนตรงแต่ก็มีความประนีประนอม มีความซื่อสัตย์สุจริต จนเป็นที่เชื่อถือยอมรับของอัยการในด้านนี้ และนายสัตยา รองอัยการสูงสุด รุ่นเดียวกับนายถาวรเป็นคนอัธยาศัยดี กว้างขวาง เป็นอาจารย์สอนกฎหมาย ชอบช่วยเหลือ จนเป็นที่รักของอัยการรุ่นน้องที่เข้าหาพบปะ

โดยสามารถดูรายละเอียดวิสัยทัศน์แต่ละคนได้ตามลิงค์นี้ https://www2.ago.go.th/index.php/poll/9/1527


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"