'วันชัย' เชื่อไร้ ส.ส.-ส.ว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างกม.ประชามติ


เพิ่มเพื่อน    

1 เม.ย.64 - เวลา 09.20 น. ที่รัฐสภา นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะกมธ. ว่า เท่าที่พิจารณาในเบื้องต้น ประเด็นสำคัญที่มีการปรับเพื่อให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญ ข้อความใดๆต่างๆทั้งหมดที่มีความวิตกกังวลในมาตรา 9 ว่าอาจจะมีปัญหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ  เชื่อว่าข้อกังวลดังกล่าวน่าจะหมดไป การแก้ไขครั้งนี้เป้าประสงค์สำคัญจะไม่ไปแตะในมาตรา 9 เดิมที่ให้อำนาจรัฐสภาและประชาชนยังให้อยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ปรับปรุงเสริมเติมให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญ มาตรา166 และมาตรา 156 ที่กำหนดไว้ว่ารัฐสภาต้องประชุมร่วมกันได้นั้น มีเฉพาะ 16 เรื่องเท่านั้น ไม่มีเรื่องประชามติ

นายวันชัย กล่าวว่า เพราะฉะนั้นเวลามาปรับในประเด็นนี้ก็ต้องปรับให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญไม่ให้ขัดแย้ง แปลว่าให้อำนาจของรัฐสภาตามมาตรา9ยังเดินไปได้ตามปกติ ตนเชื่อว่าเมื่อมีการถกแถลงทำความเข้าใจกันแล้ว ทั้งกมธ.เสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย ฝ่ายรัฐบาล ส.ส. ส.ว. แนวโน้มร่างพ.ร.บ.ประชามติน่าจะผ่านไปได้ด้วยดี และไม่มีข้อวิตกกังวลอื่นใดทั้งสิ้น เท่าที่ตนพิจารณาในเบื้องต้น แต่เป็นธรรมดาที่ในชั้นกมธ.จะต้องถกแถลงกันจนตกผลึก และในที่สุดหากหาข้อยุติกันไม่ได้ก็ต้องลงมติ แต่ส่วนใหญ่จะพยายามตกลงกันให้ได้ การลงมตินั่นใช้น้อยมาก แต่จะพยายามใช้ข้อตกลงที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน

เมื่อถามว่าเมื่อมีการปรับแก้ให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญแล้วเชื่อว่าจะไม่มีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีกใช่หรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า เชื่อว่าคงจะไม่มีใครไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะเกรงว่าประชาชนจะมองว่าเป็นการแตะถ่วงยื้อเวลา ทั้งนี้ จะไปห้ามสมาชิกคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่ภาคประชาชนก็ยังมีสิทธิที่จะยื่นได้หากเห็นว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ส่วนตัวและจากที่ได้มีการพูดคุยในที่ประชุมวิปวุฒิสภาไม่น่าจะมีประเด็นเหล่านี้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่รู้ว่าเหมือนกันใครจะไปยื่นหรือไม่ แต่เท่าที่ได้ทำความเข้าใจกันเบื้องต้นทุกฝ่ายยอมรับได้ การมีกฎหมายฉบับนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของกุญแจดอกแรกที่จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ถามอีกว่า คณะกรรมกฤษฎีกามีการปรับแก้อย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ นายวันชัย กล่าวว่า เท่าที่อ่านแล้วเป็นทั้งกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการในการที่จะดำเนินการ เพราะในมาตรา9 ที่เติมเข้ามาไม่ได้บอกถึงวิธีการ กระบวนการ แต่เมื่อปรับแก้แล้วจะบอกถึงขั้นตอนวิธีการและสุดท้ายจะต้องเดินไปจุดใดที่จะไม่ให้ขัดมาตรา166 เพราะฉะนั้นรายละเอียดตรงนี้เป็นสิ่งที่เติมเข้ามาและทำให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญที่สุดคือการลดข้อขัดแย้งแต่ละมาตราให้สามารถไปด้วยกันได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"