"สมพงษ์"ค้านรวมวิจัยในกระทรวงอุดมฯชี้ขัดเจตณารมณ์เดิมชาวมหา'ลัย


เพิ่มเพื่อน    

 “สมพงษ์” ไม่เห็นด้วย รวม สกอ. กับกระทรวงวิทย์ฯ ลั่นควรทำตามเจตนารมณ์เดิมของการแยกสกอ.มาตั้งกระทรวงอุดมฯ  ที่มีการทำประชาพิจารณ์จากชาวมหา’ลัยตลอด ไม่เคยมีหน่วยงานวิจัยรวมอยู่ในความคำถาม    ชี้ชาวมหา’ลัย ควรตื่นตัว ไม่ควรปล่อยให้นักฝัน  3-4 คนมาปู้ยี้ปู้ยำความตั้งใจเดิม  ด้าน “สมบัติ ธำรงธัญวงศ์” มองภาพรวมงานวิจัยของประเทศ เหตุ ที่การวิจัยต้องเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยมาตลอด

 

 

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการควบรวมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ว่า การจะนำงานการอุดมศึกษาไปไว้ที่ใด ควรพิจารณาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาด้วย เดิมเราเป็นทบวงมหาวิทยาลัย และต่อมาก็ยุบรวมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็น 1 ในองค์กรหลัก แต่ก็พิสูจน์แล้วว่า งานอุดมศึกษาไม่ได้รับความสนใจ ขาดการพัฒนาทำให้คุณภาพอุดมศึกษาตกต่ำ และข้อพิสูจน์ว่าไม่ประสบความสำเร็จ จนขณะนี้เราได้มีการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การอุดมศึกษา พ.ศ....และมีการทำประชาพิจารณ์จากชาวมหาวิทยาลัยทำความเข้าใจมาตลอด 2 ปี จนตกผลึกความคิดว่า ควรแยกเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา ก็ควรให้เกียรติและเคารพต่อการตัดสินใจของชาวมหาวิทยาลัยด้วย ขณะที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ จะควบรวม สกอ. และหน่วยงานวิจัย โดยจะดำเนินการภายใน 2-3 เดือน ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ ได้ถามความเห็นของชาวมหาวิทยาลัยแล้วหรือไม่ว่าต้องการอยู่กับกระทรวงวิทย์ฯ หรือไม่เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีหน่วยงานใดที่ควบรวมแล้วประสบความสำเร็จ และหากนำมหาวิทยาลัยไปรวมกับกระทรวงวิทย์ฯ แล้วมีความเสียหาย อยากถามว่าใครจะรับผิดชอบ  ตนจึงไม่เห็นด้วยที่จะไปรวมกับกระทรวงวิทย์ฯ

 

“ชาวมหาวิทยาลัยควรตื่นตัวกับการควบรวมครั้งนี้ ไม่ควรปล่อยให้นักฝัน  3-4 คนมาปู้ยี้ปู้ยำสิ่งที่เราดำเนินการมา จากชื่อกระทรวงก็เห็นแล้วว่า งานอุดมศึกษา ไม่มีพื้นที่ของตัวเอง ไม่มีศักดิ์ศรี คิดจะนำไปวางไว้ตรงไหนก็ได้โดยไม่ถามชาวมหาวิทยาลัย การดำเนินการเรื่องนี้ควรทำอย่างรอบคอบ ไม่ควรเร่งหาผลงานเพื่อให้นายกฯพอใจ”นายสมพงษ์ กล่าว

 

ด้าน นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) กล่าวว่า งานการอุดมศึกษาที่อยู่ใน ศธ. ซึ่งมีขนาดเทอะทะ ทั้งมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดกับการศึกษาระดับพื้นฐานและอาชีวศึกษา จึงมีแนวคิดที่จะแยกตัวออกมาเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา แต่ข้อเสนอให้รวมการอุดมศึกษากับกระทรวงวิทย์ฯ นั้น ส่วนตัวมองว่า น่าสนใจและเป็นการมองภาพรวมงานวิจัยของประเทศของรัฐบาล เพราะหน่วยงานวิจัยทุกแห่งของประเทศ ต้องการนักวิจัย และแหล่งรวมนักวิจัยที่มากที่สุดในประเทศคือมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาอยู่คคนละกระทรวง แต่ก็ขาดกันไม่ได้ ต้องพึ่งพากัน ตนจึงมองว่า การรวมมหาวิทยาลัยกับงานวิจัยในกระทรวงเดียวกัน อาจทำให้พูดคุยกันง่ายขึ้นก็ได้ เพราะหน่วยงานวิจัยเป็นเจ้าของทุนวิจัย ส่วนมหาวิทยาลัยก็มีนักวิจัย 2 ฝ่ายต้องพึ่งพากัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประเมินว่าหากมีการดึงส่วนงานวิจัยออกมาจากความรับผิดชอบของกระทรวงวิทย์ฯ จะมีผลทำให้เนื้องานของกระทรวงวิทย์ฯลดลงไปมากกว่า 50%    และถึงแม้ว่าจะมีการดึงงานนวัตกรรมเพิ่มเติมเข้ามา แต่ก็ยังไม่ได้ทำให้ขนาดของกระทรวงวิทย์ฯใหญ่เท่าเดิมแต่อย่างใด


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"