คนไทยกว่า 3 หมื่น ใช้ “โคแฟค” สกัดข่าวลวงช่วงโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

 

          39 องค์กรรวมพลังจัดสัมมนาไฮบริด “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” ทุกวันที่ 2 เม.ย.ของทุกปี พร้อมประกาศปฏิญญาปีแห่งการรณรงค์ตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนถึงผลกระทบของข่าวลวงที่จะส่งผลให้สถานการณ์การระบาดโควิด-19 แย่ลง สสส.ปลื้มครบ 1 ปี คนไทยใช้นวัตกรรม “โคแฟค” ช่วยสกัดการระบาดข่าวลวงช่วงโควิด-19 กว่า 3 หมื่นราย พร้อมเร่งสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม

          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โคแฟค ประเทศไทย ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรตรวจสอบข่าวสากล (International Fact Checking Network : IFCN) และ ภาคีเครือข่ายตรวจสอบข่าวลวงกว่า 30 องค์กรในประเทศ จัดสัมมนาไฮบริดเนื่องในวาระ “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” (International Fact-Checking Day 2021) “ความท้าทายในการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกัน” เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ที่โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพฯ

          องค์กรทั้งหมดพร้อมใจกันป่าวประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือของภาคประชาสังคมในปีแห่งการรณรงค์ตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร (2 เมษายน 2564 - 2 เมษายน 2565) ดังนี้ เครือข่ายตรวจสอบข่าวลวงขอแสดงจุดยืนในการสกัดข่าวลวง ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือซึ่งกันและกัน พัฒนางานศึกษาวิจัย สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม ตลอดจนเครื่องมือหรือกลไกเฝ้าระวังอย่างมีส่วนร่วม ให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจด้านการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล สร้างข้อเท็จจริงให้เกิดความเข้มแข็งภาคพลเมือง ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมีคุณภาพ บนพื้นฐานของการไตร่ตรอง ใช้เหตุผล มีวิจารณญาณ เพื่อลดผลกระทบด้านลบยุคข้อมูลข่าวสาร รวมถึงลดความขัดแย้งอันเนื่องจากความเข้าใจผิดในอนาคต

 

นพ.ดร.ไพโรจน์ เสาน่วม

 

          ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวในการเปิดสัมมนาว่า ในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันตรวจสอบข่าวลวงโลก สำหรับประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนการต่อต้าน ป้องกัน และรับมือกับปัญหาข่าวลวงในยุคดิจิทัล โดย สสส.เห็นความสำคัญและได้ร่วมผลักดันให้เกิดการพัฒนากลไกโคแฟค (Collaborative Fact Checking : Cofact) นวัตกรรมกลไกตรวจสอบข่าวลวงบนเว็บไซต์ cofact.org และไลน์ @cofact ซึ่งขณะนี้ครบ 1 ปี ของการมีนวัตกรรม แนวคิดโคแฟคได้ถูกส่งต่อและขยายไปยังภาคีเครือข่าย อาสาสมัคร มหาวิทยาลัย สื่อท้องถิ่น และชุมชนระดับภูมิภาคในวงกว้างมากขึ้น มีพันธมิตรเครือข่ายร่วมทำงาน 39 องค์กร จนเกิดเป็นชุมชนโคแฟคที่ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้ามาตรวจสอบข่าวลวงร่วมกันแล้วกว่า 30,000 คน

          “โคแฟคเกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ซึ่งข่าวลวงเปรียบเหมือนเชื้อไวรัสที่กระจายอย่างรวดเร็ว จนองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนถึงผลกระทบของข่าวลวงที่จะส่งผลให้สถานการณ์การระบาดโควิด-19 แย่ลง ซึ่งตั้งแต่มีโคแฟคทำให้เกิดฐานข้อมูลในการตรวจสอบข่าวลวงด้านสุขภาพกว่า 2,500 ชุด มีการจัดทำบทความพิเศษ อินโฟกราฟฟิกที่เข้าใจง่ายกว่า 350 ชิ้น เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีภูมิคุ้มกัน มีจิตสำนึกพื้นฐาน คือ การรู้เท่าทันสื่อ ขยับมาสู่การร่วมตรวจสอบข่าวลวง จนถึงช่วยกันสอดส่อง เฝ้าระวัง สกัดกั้นข่าวลวง ไม่ทำให้สถานการณ์โควิด-19 ในไทยแย่ลง สสส.พร้อมสนับสนุนการสร้างพลเมืองเท่าทันสื่อ มีความรู้และทักษะเท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อร่วมสร้างวัฒนธรรมการตรวจสอบข่าวลวงและรู้เท่าทันสื่อ นำไปสู่การสร้างสังคมสุขภาวะ” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว

 

สุภิญญา กลางณรงค์

 

          สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค ประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการนำเสนอภาพรวมของการตรวจสอบข่าวลวงที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีนักตรวจสอบข่าว (Fact Checker) ในแต่ละประเทศ และต้องมีการทำงานเชื่อมโยงและส่งต่อข้อมูลซึ่งกันและกัน ตลอดเวลาในช่วง 1 ปี นับจากวันนี้ไปที่ประกาศเป็นปีแห่งการรณรงค์ตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร ทางโคแฟคประเทศไทยจะมีการจัดกิจกรรมทั้งในเชิงวิชาการ การขับเคลื่อนประเด็น และการสัมมนาร่วมกันตลอดทั้งปี

 

 

          ก่อนหน้านี้สุภิญญาเคยให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อก่อนหลายคนมองว่าข่าวลวงเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง แต่ในวันนี้ข่าวลวงเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น เป็นปัญหาระดับชาติ เราอยากให้ประชาชนตื่นตัว ที่ผ่านมาข่าวลวงมีทั้งการหลอกลวงเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การเงิน การขายสินค้าและบริการ โดยคนที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและเด็ก เยาวชน การจัดเวทีเสวนาเพื่อเป็นก้าวสำคัญในการสร้างเครือข่ายสื่อท้องถิ่นในการทำงานประสานกับภาคประชาสังคม แกนนำชุมชนและชาวบ้านในระดับรากหญ้า เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือกับข่าวลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อข้อมูลข่าวสารในด้านมืดของยุคดิจิทัล

          กิจกรรมในรอบ 1 ปีที่ สสส.ร่วมกับพันธมิตรครั้งยิ่งใหญ่ ขยายงานนวัตกรรม “โคแฟค” (Cofact) ตรวจสอบข่าวลวงสู่การสร้างชุมชนค้นหาความจริง จัดปฐมนิเทศจิตอาสาร่วมตรวจสอบข่าวลวงรุ่นแรก ในจังหวัดต่างๆ อาทิ จ.ภูเก็ต ทั้งนี้ โคแฟคเชิญชวนทุกท่านให้มาเป็นชาวชุมชนคนโคแฟคร่วมกันค้นหาความจริง เพื่อสร้างสุขภาวะของสังคม สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารที่เว็บไซต์ www.cofact.org

 

 

 

 

Domino Land ห้องนิทรรศการหมุนเวียน สสส. ยุคดิจิทัลสร้าง “พลเมืองเท่าทันสื่อ”

 

          สื่อที่เปลี่ยนไป “สื่อ” เป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจหรือให้บรรลุวัตถุประสงค์ระหว่างบุคคลและสังคม ด้วยวิวัฒนาการก้าวกระโดด จากการใช้จดหมายสื่อสาร หนังสือโทรเลข หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อีเมล เว็บไซต์ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน สู่ยุคโซเชียลมีเดีย

          สื่อดั้งเดิม สื่อสารทางเดียวเป็นการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่ผู้ส่งสารมี่อิทธิพลต่อผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว โดยผู้รับไม่มีโอกาสที่โต้ตอบหรือซักถามข้อสงสัยใดๆ สื่อดั้งเดิมสื่อสารให้เข้าถึงผู้คนในแต่ละคราวมากๆ โดยสื่อมวลชน สื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ นิตยสาร

          สื่อใหม่เป็นสื่อที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประกอบการสื่อสารเพื่อความรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งส่งผลให้บทบาทของคนใช้สื่อเปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว กลายเป็นผู้รับ ผู้ส่ง และผู้สร้างสื่อในเวลาเดียวกัน การสื่อสาร 2 ทางเป็นการติดต่อสื่อสารที่ผู้รับสารมีการตอบสนอง และมีปฏิกิริยาย้อนกลับไปยังผู้ส่งสาร สามารถโต้ตอบปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนการติดต่อได้ สื่อใหม่มากบทบาท

          สถิติคนไทยเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ 133% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ คนส่วนใหญ่ใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากกว่า 1 ใน 3 ของวัน คนที่อยู่ในช่วงวัย 18-34 ปี มีการใช้งานมากที่สุด

          ด้วยวิวัฒนาการก้าวกระโดด การสื่อสารเป็นสิ่งที่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ จากการแสดงท่าทาง การใช้ตัวอักษรเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งสารตามวัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของสื่อในแต่ละยุคจึงสัมพันธ์กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร เฉกเช่นในปัจจุบันที่อุปกรณ์ 1 เครื่อง สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของมนุษย์ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และสะดวกสบายยิ่งขึ้น

          ในยุคอนาล็อก ยุคของการนำข้อมูลมาส่งผ่านอุปกรณ์รับและแปลงลักษณะยุคดิจิทัล ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการสื่อสารเป็นการก้าวกระโดด

          ร่องรอยบนโลกดิจิทัล ทุกกิจกรรมของเราในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการใส่ข้อมูลส่วนตัว การเข้าใช้สื่อออนไลน์ต่างๆ จะถูกทิ้งเป็นร่องรอยบนโลกดิจิทัล ซึ่งจะนำอันตรายและส่งผลกระทบต่อตัวเอง ยิ่งเราทิ้งข้อมูลส่วนตัวไว้มากเท่าไหร่ เราจะสามารถถูกระบุตัวตนได้มากยิ่งขึ้น สื่อเหมาะสมกับวัย มีการหลอกลวงต้มตุ๋น

          Media Literacy เรียนรู้ เท่าทันใจ สื่อจำนวนมากที่อยู่รายล้อมตัวเรา ทำให้การสร้างทักษะ การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง โดยการที่เราไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิดวิเคราะห์ สงสัยและรู้จักการตั้งคำถามว่า สิ่งนั้นจริงหรือไม่จริงได้เป็นคนให้ข้อมูล เขาต้องการสื่ออะไรหรือมีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่ เป็นการฝึกฝนมองให้รอบด้าน มุมมองกลับสื่อ แต่เพียงด้านเดียว มุมเดียว ทำให้การรับรู้ข้อมูลผิดพลาดได้ จึงควรมองหลายด้าน หลากมุมทุกครั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อในสิ่งที่สื่อกำลังนำเสนอ การเข้าถึงคือการได้รับสื่อประเภทต่างๆ อย่างเต็มที่ รวดเร็วและรับรู้และเข้าใจจะเชื่อสื่อประเภทต่างๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ

          สื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม แพลตฟอร์ม COFACT.ORG พื้นที่เปิดให้ทุกคนมาช่วยกันตรวจสอบข่าวลวง สถานการณ์สื่อในปัจจุบัน ผู้คนล้วนอยู่ในโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร แต่คงมีคนจำนวนไม่มากที่สามารถตรวจสอบที่มาของทุกข่าวหรือสิ่งที่ได้รับ แพลตฟอร์ม COFACT ใช้เทคโนโลยีของภาคพลเมือง กรองข่าวโดยกอง บ.ก.และอาสาสมัคร ใช้งานเชิงข่าวด้านวารสารศาสตร์ เปิดเป็นพื้นที่ให้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริงและความคิดเห็น

          โครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ เป็นการนำสื่อผ่านบุคคลต้นแบบเพื่อเป็นนักสื่อสารที่สร้างแรงบันดาลใจให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง และกระตุ้นให้สังคมเกิดการตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยการมีกิจกรรมทางกาย ได้คัดเลือก 8 บุคคลต้นแบบจากผู้สมัครทั่วประเทศที่มีปัญหาด้านสุขภาพให้ได้ออกมาวิ่งเปลี่ยนตัวเอง ผ่านรูปแบบสารคดีถึงเรียลลิตี้ที่ผลิตโดยเยาวชนนักสื่อสารสุขภาวะ Run for New Life วิ่งสู้ชีวิตใหม่ มีผู้ติดตามข่าวสารมากถึง 7 แสนคน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"