สจล. โชว์นวัตกรรม'แบตเตอรี่กราฟีน' วัสดุปฎิวัติโลก ในงาน KMITL Innovation EXPO 2023

นวัตกรรมแบตเตอรี่กราฟีน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาครัฐ-เอกชน และพันธมิตรนานาชาติ จึงได้จัดงาน “KMITL Innovation EXPO 2023” ภายใต้ธีม World Towards Sustainability Together พื้นที่การแสดงนวัตกรรมและผลงานวิจัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 1,111 ชิ้น โดยงานจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 27 - 29 เม.ย. 2566 แบ่งเป็นสถานที่จัดงานหลัก ณ หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) และอีก 2 แห่ง คือ หอประชุมวิศวะลาดกระบัง และศูนย์เรียนรู้ตลอดชีวิต สจล. (KLLC)

สำหรับไฮไลท์ภายในงาน KMITL Innovation EXPO 2023 ประกอบด้วย การโชว์เคสนวัตกรรมเด่น (Innovation Showcase) ผลงานวิจัยและนวัตกรรม, งานประกวดนวัตกรรม 2023 (Innovation Contest / Startup Pitching), Hackathons, การจับคู่ธุรกิจการลงทุน (Business Matching), การถ่ายทอดทรัพย์สินทางปัญญา (IP Market), ฟอรั่มและเวิร์คช็อปด้านเทคโนโลยี, สาระความรู้จาก 11 คณะ 5 วิทยาลัยใน สจล. และพันธมิตร อาทิ การแข่งขันหุ่นยนต์ พร้อมด้วยกิจกรรม Playground ด้านเยาวชนนักเรียนและผู้ปกครอง มีกิจกรรม Open House เปิดบ้าน สจล. โชว์ผลงานจากนักศึกษาคนรุ่นใหม่ แนะนำหลักสูตรสร้างอนาคตสดใส ก้าวไปกับโลกยุคใหม่

เบื้องต้นได้มีการเรียกน้ำย่อยโชว์ 4 ผลงานนวัตกรรม 1. แบตเตอร์รี่กราฟีน (Graphene)  ที่เรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่ปฏิวัติของศตวรรษที่ 21จากข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์วัสดุนี้สามารถแทนที่ซิลิคอนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ กราฟีนจะเปลี่ยนโลกของเทคโนโลยีอย่างไม่ต้องสงสัยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเนื่องจากมีราคาถูกในการผลิตและพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ แต่ละประเทศมีมากมาย  

ส่วนการพัฒนาแบตเตอร์รี่กราฟีนโดยทีมวิจัยนำโดย รศ.ดร.เชรษฐา รัตนพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ สจล. มีคุณสมบัติ คือ บางที่สุดในโลก แข็งแกร่งกว่าเพชรและเหล็กกล้าถึง 200 เท่า นำไฟฟ้าได้ดี น้ำหนักเบาแต่พื้นผิวมาก กราฟี  น 1 กรัม จะมีพื้นผิวเท่ากับ 10 สนามเทนนิส จุดเด่น คือ กักเก็บประจุไฟฟ้าได้มากขึ้น และมีอัตราการอัดประจุได้ที่รวดเร็วขึ้นจากแบตเตอรี่แบบเดิม ราคาถูก ไม่ระเบิด จึงปลอดภัยต่อการใช้งาน  ปัจจุบันมีโรงงานต้นแบบของ สจล.แห่งเดียวในไทยที่สามารถผลิตวัสดุกราฟีน ได้เองด้วยกำลังผลิตเดือนละ 15 กก. ทดแทนการนำเข้าซึ่งมีราคากก.ละกว่า 10 ล้านบาท  ในอนาคตเป็นการพัฒนาเฟสที่3 และ4 สามารถใช้ได้กับยานยนต์ไฟฟ้า EV มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า สามล้อไฟฟ้า เพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ก้าวเป็นฮับ EV และสังคมที่ยั่งยืน

2. ผ้าไหมไทยย้อมกราฟีน มี 2 แบบ คือ 1.ผ้าไหมไทยย้อมนาโนกราฟีนออกไซด์ เป็นผ้าที่ช่วย สร้างความร้อน แก่ผู้สวมใส่ กักเก็บความร้อนได้ดี ให้ความอบอุ่นเหมาะสำหรับผู้สวมใส่อยู่ในที่อุณหภูมิต่ำ 2.ผ้าไหมไทยย้อมนาโนรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์เป็นผ้าที่ช่วยระบายความร้อน จากการทดสอบพบว่ามีค่าความร้อนที่ถ่ายเท เท่ากับ 96.81% เมื่อเทียบกับผ้าไหมทั่วไป  

ผลงานเม็ดพลาสติกกราฟีนในการสร้างโดรน และผลงาน ผ้าไหมไทยย้อมกราฟีน

3. เม็ดพลาสติกกราฟีน ผสมกับพอลิเมอร์ที่คัดสรรมา มีประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ในการผลิตอุปกรณ์โดรนการเกษตร อุปกรณ์ด้านการทหารและอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศสำหรับใช้ในประเทศหรือส่งออก เช่น พิมพ์ขึ้นรูปโดรนการทหาร แผ่นเกราะกันกระสุน หมวกกันกระสุน เป็นต้น

4.นวัตกรรมตรวจจับพลาสมาบับเบิ้ล (Plasma Bubble) เพื่อคาดการณ์ภัยพิบัติ นำร่องอากาศยาน และใช้ GPS ได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย ผลงานทีมวิจัยนำโดย ศ.ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ หัวหน้าทีมวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ ในการพัฒนาพลาสมาบับเบิ้ล (Plasma Bubble) เป็นความผิดปกติที่เกิดในชั้นบรรยากาศรบกวนสัญญาณดาวเทียม ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการสื่อสาร การระบุตำแหน่ง การนำร่องอากาศยาน สัญญาณ GPS แม่นยำลดลง ซึ่งจะนำไปสู่อุบัติเหตุและความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยและทั่วโลก

นวัตกรรมตรวจจับพลาสมาบับเบิ้ล

รศ.ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการอธิการบดี สจล.  กล่าวว่าสำหรับงาน  KMITL Innovation EXPO 2023 โชว์นวัตกรรมกว่า 1,000 ผลงาน   การขับเคลื่อนการจัดงานครั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นทั้งภาครัฐและเอกชน ในการสร้างความเชื่อมั่นให้คนไทยทั้งประเทศ ได้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างนวัตกรรม สู่การแข่งขันในตลาดโลก ส่วนหนึ่งเพราะสถาบันการศึกษาจะเป็นกลไกสำคัญเนื่องจากมีการทำงานวิจัย คิดค้น และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยมีการประยุกต์ผลงานของนักศึกษา ซึ่งทาง สจล.มีนักศึกษาที่จบแต่ละรุ่นต่อปีถึง 5,000-10,0000 คน และก่อนจบแต่ละคนก็จะมีการทำวิจัยสร้างชิ้นงาน สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาพัฒนาให้สามารถใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรม

ศ.ดร.คมสัน มาลีสี

“ดังนั้นภายในงานจึงเปรียบเสมือนพื้นที่ในการพบปะกัน ของเมคเกอร์นักศึกษา นวัตกร นักวิจัย สจล. ที่มีผลงานกว่า 1,000 ผลงาน กับนักลงทุน นักธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เกิดการแลกเปลี่ยน จนนำไปสู่การนำไปใช้สู่การขับเคลื่อนอุตสากกรรม รวมไปถึงการกระตุ้นจากภาครัฐจะยิ่งช่วยส่งเสริมสตาร์ทอัพ  ซึ่งบทบาทของการศึกษาในการวิจัยพัฒนานวัตกรรมในการสร้างสิ่งใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์ความต้องให้ทันยุคสมัย เกิดประโยชน์ต่อสังคม แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ เกิดการร่วมมือกันทั้งส่วนของภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดการนำไปใช้ได้จริง” รศ.ดร.คมสัน กล่าว

ด้านภาครัฐ พิชพชากร วัชรานุรักษ์ หัวหน้างานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ฝ่ายส่งเสริมแพลตฟอร์มและบริการดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)  กล่าวว่า จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 13 ในหมุดหมายที่ 6 และหมุดหมายที่ 8 ค่อนข้างสำคัญ เพราะเป็นเรื่องอุตสาหกรรมดิจิทัลและการสร้างเมืองอัจฉริยะ จึงมีกลไกในการสนับสนุนสิ่งเหล่านี้คือ สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี จาก BOI คือ มีสตาร์ทอัพ หรือ ผลงานของนักศึกษาที่ให้บริการเมืองหรือพื้นที่ที่ได้รับสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะ สามารถนำรายได้ไปลดหย่อนภาษีได้ 8 ปี และสำหรับพื้นที่ EEC ลดหย่อนภาษีได้ 13 ปี สิ่งนี้เป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ให้กลไกการพัฒนาเมือง หรืออุสาหกรรมดิจิทัลสมบูรณ์ รวมถึงการมีทุนสนุบสนุนรองรับสำหรับ SME และสตาร์ทอัพ ทั้งในแง่การ Pitching คือ การนำเสนอไอเดีย ให้แก่บริษัทต่างๆ เพื่อลงทุน หรือกำลังคน

พิชพชากร วัชรานุรักษ์

พิชชากร กล่าวอีกว่า  ในส่วนของบทบาทมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน ก็มีส่วนสำคัญมากในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัล ในเกณฑ์ของคณะกรรมการสมาร์ตซิตี้ อยากให้มีการเขียนแผนเพื่อขอประกาศว่าเป็นเมืองอัจฉริยะ โดยการร่วมมือกันระหว่างเจ้าของพื้นที่นั้นๆที่จะไปให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ดังนั้นการที่ไทยจะก้าวสู่ประเทศที่เป็นดิจิทัลได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ดาต้าแพลตฟอร์ม ดังนั้นเมืองอัจฉริยะจะมีการทำ ซิตี้ ดาต้าแพลตฟอร์ม เพื่อทำการรวบรวมข้อมูล ให้ประชาชนหรือเอกชนเข้าถึง เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาร่วมกัน นำไปสู่การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

อรรณพ ศิริติกุล

ส่วนของภาคเอกชน อรรณพ ศิริติกุล ผู้อำนวยการฝ่ายดูแลลูกค้าขนาดใหญ่ AWS ได้แสดงความเห็นว่า จากฐานข้อมูลขององค์กรทั่วโลก พบความต้องการ 3 ข้อหลัก ได้แก่ 1. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 2.ลดความเสี่ยง 3.สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ดังนั้นในส่วนการทำงานของ AWS คือการช่วยให้สร้างนวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น และในปีที่แล้ว ภายใต้แพลตฟอร์มของ AWS ได้มีการเปิดให้บริการต่างๆกว่า 5,000 รูปแบบ ซึ่งจะมีการสร้างกลุ่มคนเพื่อตอบสนองส่วนนี้ในประเทศไทย เพราะได้เล็งเห็นศักยภาพของคนไทย การเติบโตของธุรกิจ และความต้องการทางด้านนวัตกรรม เช่น บริษัท แกร็บ ที่ให้บริการด้านขนส่งอาหาร หรือการให้บริการรถโดยสาร ซึ่งจะพบปัญหาการจราจรในการใช้ Maps ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายแพงมาก จึงได้มีการร่วมกันสร้าง Maps เพื่อให้สามารถเช็คได้ว่า ไรเดอร์ คันไหนอยู่ใกล้ลูกค้ามากที่สุด ยิ่งมีไรเดอร์มาก ก็จะช่วยให้เห็นเส้นทางตามซอยต่างๆเพิ่ม จนทำให้เกิดธุรกิจของแกร็บ คือ การให้บริการ Maps ในราคาที่ถูกลง ดังนั้นงานในครั้งนี้จึงเป็นการแลกเปลี่ยน และนำไปสู่การต่อยอดในอนาคต


สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมงาน KMITL Innovation EXPO 2023 ลงทะเบียนที่ลิ้งค์ https://expo.kmitl.ac.th/ เข้าชมฟรี และในงานได้จัดเตรียมรถบัสไฟฟ้า สกูตเตอร์ไฟฟ้า BEAM ไว้คอยบริการรับส่งผู้มาเยี่ยมชมด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เจ๋ง! ม.ขอนแก่น เปิดตัวมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ใช้แบตเตอรี่แบบสับเปลี่ยนได้

ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย ผศ.นพ.ธรา ธรรมโรจน์รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.อาวุธ ยิ้มแต้รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม

สจล.จัดกอล์ฟประเพณี8เกียร์ รวมพลัง8สมาคม ศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์

สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นำโดย รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล., คุณชัยพจน์ ตันตระวิวัฒน์ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. และรศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ แถลงเปิดตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดวลวงสวิงครั้งยิ่งใหญ่ ‘กอล์ฟประเพณี 8 เกียร์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2566’ (8 GEARS TRADITIONAL GOLF TOURNAMENT ENGINEERING ALUMNI ASSOCIATION) ในวันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ณ สนามบางกอก กอล์ฟ คลับ จังหวัดปทุมธานี

BOI ฟุ้งยอดส่งเสริมอีวีปังไฟเขียวลงทุนกว่า 1 แสนล้านผลิตแบต-ชิ้นส่วน

บีโอไอเผยยอดส่งเสริมอีวีกว่า 1 แสนล้านเร่งกระตุ้นลงทุน ทั้งการผลิตรถยนต์ แบตเตอรี่ ชิ้นส่วน และสถานีชาร์จ เร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมลงทุน รองรับทิศทางอุตสาหกรรมและดีมานด์ในประเทศขยายต่อเนื่อง

ไทยเจ๋ง! มข. เปิดตัวแบตเตอรี่จากแร่เกลือหิน 'โซเดียมไอออน' ครั้งแรกในอาเซียน

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย ดร.ธีรวุธ ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมเปิดตัวแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทย