วิจัยผลตอบแทนตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเล’อ่าวตราด-ตรัง-เกาะโลซิน’

พื้นที่คุ้มครองทางทะเลถือเป็นแนวทางเยียวยาความเสื่อมโทรมทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศ แต่หลายพื้นที่ยังขาดการศึกษาชัดเจนว่า การที่กำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลนั้นนอกจากอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศที่เปราะบางแล้ว ยังเป็นผลประโยชน์กับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนและเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด  เหตุนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้การสนับสนุนทีมวิจัยทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในพื้นที่นำร่องทะเลอ่าวตราด จังหวัดตราด ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรัง และเกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี ที่ได้มีการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล และจัดคู่มือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนที่สามารถนำมาเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนนโยบายในการประกาศพื้นที่คุ้มครองแล้วยังสามารถที่จะใช้เป็นข้อมูลในการที่จะระดมทุนเพื่อที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการอนุรักษ์และบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม      

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. นับเป็นกลไกสำคัญของรัฐขับเคลื่อนสนับสนุนงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้น หรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และสามารถถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้สู่ชุมชน รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม การประกาศพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่เปราะบางให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลถือเป็นแนวทางหนึ่งจะแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศ แต่ก็ยังขาดการศึกษาเพื่อที่จะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าการที่กำหนดให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลนั้นนอกจากจะตอบสนองเป้าหมายของการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศที่เปราะบางเสี่ยงต่อการถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์แล้วยังเป็นผลประโยชน์กับความอยู่รอดของมนุษย์และมีความคุ้มทุนทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย

วิถีประมงในบริเวณชายฝั่งทะเล    

เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ รศ.ดร.อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ นักวิจัยอิสระ กล่าวว่า การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในพื้นที่นำร่อง  3 แห่ง เพื่อพิสูจน์ว่า การลงทุนในการดำเนินการเพื่อยกระดับความเข้มข้นของมาตรการในการป้องกัน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรในพื้นที่คุ้มครองทางทะเล รวมทั้งชดเชยค่าเสียโอกาสของรายได้ของหน่วยเศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบจากการจำกัดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและพื้นที่ใกล้เคียงนั้นคุ้มทุนเมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเมื่อวิเคราะห์ถึงความอุดมสมบูรณ์ในแต่ละพื้นที่แล้วพบว่าพื้นที่คุ้มครองทางทะเลอ่าวตราด เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชตามสภาพทางธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของโลมาอิรวดีซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่พบได้ไม่กี่แห่งในไทย นอกจากนี้ ยังมีสัตว์ทะเลที่หายาก โดยชายฝั่งทะเลของจ.ตรัง มีสัตว์ทะเลหายากที่พบ ได้แก่ โลมาหลังโหนก โลมาปากขวด โลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาลายแถบ โลมาริสโซ่ เต่าตนุ เต่าหญ้า และพะยูน

 ส่วนพื้นที่คุ้มครองทางทะเลเกาะโลซิน อยู่ในเขตปกครอง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี จัดเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลประเภท Off-shore Marine Protected Area ที่มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีแนวปะการังที่สำคัญ เช่น ปะการังโขด ปะการังเขากวาง ปะการังช่องเล็ก ปะการังดอกกะหล่ำ และยังเป็นแหล่งหากินของชนิดพันธุ์สัตว์หายาก เช่น ฉลามวาฬ ปลาโรนัน และกระเบนราหู ขณะเดียวกันมีความเปราะบางและเสี่ยงต่อการถูกทำลาย เช่น การประมง และการท่องเที่ยว

ทีมวิจัยทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล วช.ลงพื้นที่ทำการศึกษา

นักวิจัยระบุเมื่อพิจารณาถึงงบประมาณลงทุนเพื่อการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและบริหารให้มีประสิทธิภาพแล้ว พื้นที่คุ้มครองทางทะเลอ่าวตราดจำเป็นต้องมีการใช้งบฯ  152.7 ล้านบาท พื้นที่คุ้มครองทางทะเลชายฝั่งทะเลจังหวัดตรังงบฯ ที่จะต้องใช้คือ 290.9 ล้านบาท  และพื้นที่คุ้มครองทางทะเลเกาะโลซิน งบฯ ที่จะต้องใช้คือ 227.5 ล้านบาท ยอดเงินทั้งสามนี้ไม่ได้รวมถึงงบฯ ที่คำนวณไว้สำหรับการชดเชยค่าเสียโอกาสของรายได้จากการทำการประมงกรณีที่มีการกำหนดเขตห้ามจับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น รวมถึงงบการฟื้นฟูและปลูกหญ้าทะเลและป่าชายเลนสำหรับพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและพื้นที่คุ้มครองทางทะเลชายฝั่งทะเลจังหวัดตรัง และไม่ได้รวมงบสำหรับคุ้มครองและอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พะยูน ฉลามวาฬและกระเบนราหู       

ประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนเพื่อการจัดตั้งและบริหารพื้นที่คุ้มครองทางทะเลมีอยู่ 3 ด้าน คือ รายได้จากการจับสัตว์น้ำในบริเวณชายฝั่งทะเล มูลค่าของคาร์บอนจากพื้นที่หญ้าทะเลและป่าชายเลนที่เพิ่มขึ้นและมูลค่าที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ของสัตว์ทะเลหายากที่พบในพื้นที่คุ้มครองทางทะเล  

ผลการวิเคราะห์ของ3พื้นที่คุ้มครองทางทะเล ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า สังคมโดยรวมจะได้ประโยชน์สุทธิน้อยกว่าหากมีการเพิ่มค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครองและอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากในพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ทั้งนี้ แม้ว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิทั้ง 3 พื้นที่มีค่าเป็นบวก มีความหมายว่าการลงทุนเพิ่มขึ้นในส่วนของการคุ้มครองและอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากเป็นการลงทุนที่คุ้มทุน แต่เมื่อมูลค่าปัจจุบันสุทธิต่ำกว่ากรณีที่ไม่ลงทุน เกณฑ์ในการตัดสินใจคือไม่ควรจะลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลของการวิเคราะห์ครั้งนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่าที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ (non-use) ที่ประเมินภายใต้โครงการนี้ ในอนาคตจะเปลี่ยนไปได้เมื่อสภาพเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อจำนวนประชากรของสัตว์ทะเลหายากเปลี่ยนไป และเมื่อประชาชนมีการรับรู้มากกว่านี้ถึงภัยคุกคามและโอกาสที่จะแก้ไขสถานการณ์ที่ทำให้สัตว์ทะเลหายากของประเทศไทยเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์

สำหรับการขยายผลต่อยอดต้นทุนในการจัดตั้งและบริหารพื้นที่คุ้มครองทางทะเลนั้นจะสามารถนำไปเติมช่องว่างของความรู้ในส่วนของไทย นอกจากนั้น ต้นทุนที่คำนวณได้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะสามารถนำไปใช้ต่อยอดเพื่อการสร้างกลไกทางการเงินเพื่อที่จะนำมาใช้ให้บังเกิดผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้และเพื่อที่จะไม่ให้พื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่ประกาศไว้กลายเป็นเพียงพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในหลักการเท่านั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เศร้า! พบร่าง นศ.พาณิชย์นาวี จมน้ำเสียชีวิต หลังว่ายไปเก็บผลจาก

ร.ต.อ.บุญเลิศ หวานแก้ว รอง สว.(สอบสวน) สภ.กันตัง ได้รับแจ้งเหตุพบศพนักศึกษาพาณิชย์นาวี ซึ่งฝึกงานเป็นลูกเรือบรรทุกปูนซีเมนต์ ลอยน้ำเสียชีวิตอยู่ภายในแม่น้ำตรัง บริเวณ หมู่ 1 ต.กันตังใต้ อ.กันตัง จ.ตรัง

ทะเลร้อน‘ปะการัง’ เสี่ยงสูญพันธุ์

ปัจจุบันแนวปะการังเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่ถูกคุกคามมากที่สุด โดนตั้งแต่มลพิษ การทําประมงเกินขนาด ไปจนถึงการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2)  สู่ชั้นบรรยากาศ

'ชวน หลีกภัย' เข้าคูหาใช้สิทธิที่ตรัง ห่วงประชาชนสับสนบัตรเลือกตั้ง

ที่อาคารเฟื่องฟ้า 10 โรงเรียนวัดควนวิเศษ อ.เมืองตรัง นายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา พร้อมด้วย นายกิจ หลีกภัย พี่ชาย เดินทางออก

สืบสานงานศิลป์ วิถีวัฒนธรรม’ตรัง’

ด้วยปณิธานในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตพื้นถิ่นให้มีความยั่งยืน เพื่อส่งต่อคำว่า “ให้” กลับคืนสู่ชุมชนและสังคม โดยผสานเข้ากับงานศิลปะเพื่อก่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในชุมชน อาจารย์สัมฤทธิ์ เพชรคง อุปนายกสมาคมศิลปินทัศนศิลป์นานาชาติแห่งประเทศไทย

ปชป.ประกาศแต่ไก่โห่ ! เหมาเรียบ 4 เขตเลือกตั้ง  หลอนพลังประชารัฐสอยร่วงอีกรอบ

พรรคประชาธิปัตย์มั่นใจจะได้รับชัยชนะทั้ง 4 เขตการเลือกตั้งของจังหวัดตรัง มั่นใจในนโยบายของพรรคประชาชนยังรักวางใจ แม้เคยพลาดท่าให้พลังประชารัฐ

จากคีรีวงสู่แผน’กังหันน้ำชุมชน’เทือกเขานครศรีธรรมราช

ชุมชนคีรีวง อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่อยู่รอบเทือกเขานครศรีธรรมราช นอกจากเป็นหมู่บ้านที่อากาศดีที่สุดในประเทศไทยปลอดฝุ่นพิษ PM2.5 ยังเป็นหมู่บ้านพลังงานน้ำมีการส่งเสริมกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กกระจายในพื้นที่