กางแผนผลักดัน OECMs ตามเป้า 30X30  ป้องกันพืช-สัตว์ สูญพันธุ์

เนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี 2566 “From Agreement to Action : Build Back Biodiversity “  จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เปิดวงเสวนาหัวข้อ “OECMs โอกาสในการบรรลุเป้าหมาย 30 x 30 ของประเทศไทย” นำเสนอทิศทางพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ไม่ใช่พื้นที่คุ้มครองได้รับการบริหารจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงระบบนิเวศ คุณค่าวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ  ที่เรียกว่า พื้นที่ OECMS หรือ Other effective area-based conservation measures  ในบริบทประเทศไทย เพื่อสนับสนุนเป้าหมายทางชีวภาพของโลก  30 X 30  ภายในปี 2030   ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมด้วย

สำหรับเป้าหมาย 30X30  หมายถึง การอนุรักษ์บนผืนดิน 30% และผืนน้ำ 30%   ป้องกันพืชและสัตว์ไม่ให้เกิดการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ ประทีป มีคติธรรม Project Officer Protected Area Programme องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) กล่าวว่า OECMs จำแนกได้เป็น 3 ประเภทหลัก กลุ่มแรกพื้นที่อนุรักษ์หลัก รวมถึงพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติด้วย กลุ่มสอง พื้นที่ที่มีการอนุรักษ์เป็นวัตถุประสงค์รอง เช่น ป่าชุมชน ป่าชายเลนชุมชน พื้นที่ทะเลชุมชน กลุ่มสาม พื้นที่ภาคเอกชน เช่น พื้นที่เขตปลอดภัยแท่นขุดเจาะน้ำมัน พื้นที่กันชนโรงงานอุตสาหกรรมที่เอื้อการอนุรักษ์ หรือแม้แต่พื้นที่เขตปลอดภัยทางทหาร

เป้าหมายสำคัญของ OECMs  คือ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ  เป็นพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ เรียกว่า  KBA เป็นถิ่นอาศัยของชนิดพันธุ์หายากและใกล้สูญพันธุ์ ตามบัญชี IUCN Red List  บัญชี Thailand Red List  และชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น  มีพื้นที่ใหญ่เพียงพอสำหรับเป็นถิ่นอาศัยและแหล่งรวมชนิดพันธุ์ความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติ เป็นพื้นที่สำคัญเชิงระบบนิเวศ เช่น เชื่อมต่อระบบนิเวศสัตว์ป่า  พื้นที่รองรับการอพยพของนกชายฝั่งและแหล่งผสมพันธุ์  วางไข่ตามฤดูกาล  มีเป้าหมายระยะยาวเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ   

ส่วนพื้นที่ใดมีศักยภาพการเป็น OECMs ประทีประบุพื้นที่เตรียมประกาศพื้นที่คุ้มครอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าฯ ซึ่งมีพื้นที่เกือบ 4  ล้านไร่ หากรวมพื้นที่ประกาศไปแล้ว น่าจะไปถึง 28-29% ส่วนพื้นที่ป่าชุมชน ชุมชนร่วมกับกรมป่าไม้ดูแล ถ้าพื้นที่ป่าชุมชนมีขนาดใหญ่จะเอื้อต่อการรองรับความหลากหลายทางชีวภาพได้มากกว่าพื้นที่ขนาดเล็ก  ซึ่งมีป่าชุมขนขนาด  5,000 ไร่ ถึง 99 แห่ง รวมเนื้อที่ 1.1 ล้านไร่ มีศักยภาพมากสำหรับไทย อีกทั้งกฎหมานเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมจัดการป่าชุมชนได้ มีมาตรการลดหย่อนภาษีได้  น่าสนใจมาก ส่วนพื้นที่วนอุทยานแห่งชาติ พื้นที่เขตห้ามล่าฯ สวนรุกขชาติ สวนพฤกษศาสตร์ ซึ่งกรมอุทยานฯ ดูแล

อีกแนวทางที่น่าสนใจ ประทีปบอกว่า ภาคธุรกิจเอกชนสามารถร่วมผลักดันพื้นที่ OECMs ปัจจุบันพูดถึงอุตสาหกรรมสีเขียว การลดการปล่อยคาร์บอน  การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ  มีนโยบายเติบโตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ป่าวังจันทร์ โดยสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. มีช้อมูลชนิดพันธุ์ถึง 401 ชนิด รวมถึงศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาคราชินี อีกแห่ง พื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล ในทัศนะนี่คือ พื้นที่ OECMs ที่แรกของประเทศไทย ดูแลโดยสมาคมอนุรักษ์นกแห่งประเทศไทย  ยังไม่พูดถึงอุตสาหกรรมมีพื้นที่ Buffer ที่มีขนาดใหญ่ เหมืองแร่กันพื้นที่บางส่วน หากเอื้อต่อความหลากหลายชีวภาพ ก็จะเข้าเกณฑ์ แต่จะติดเงื่อนไขการประกอบกิจการกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ยังจะถือว่าเป็น OECMs หรือไม่ ต้องมีการหารือทางวิชาการและแง่นโยบายด้วย

ด้าน เพชร มโนปวิตร Conservation Scientist ที่ปรึกษาเครือข่าย 30 x 30 ประเทศไทย เผยว่า สถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก ประเด็นที่พูดถึงมาตลอดก่อนมีเรื่อง 30X30 คือ ความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นวิกฤตที่ใหญ่กว่าเรื่องโลกร้อนด้วยซ้ำ ยังไม่พูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมใหญ่ที่ถูกมองข้ามตลอด การใช่ปุ๋ยเคมีภาคเกษตรที่มากเกินไป ภาคธุรกิจเอกชนทุกแห่งพูดถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการอนุรักษ์เชิงพื้นที่เป็นรากฐานสำคัญ การลงทุนเป็นสิ่งจำเป็น เครือข่าย 30 x 30 ประเทศไทย มีการประชุมระดมความเห็นร่วมกับภาครัฐเกี่ยวกับบทบาทพื้นที่ OECMs จนกระทั่ง COP15  เป้าหมาย 30 x 30 มีการพูดถึงมากที่สุด เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เดิมมีเป้าหมายไอจิ พื้นที่บก 17% พื้นที่ทะเล 10% แต่ COP 15 ก้าวกระโดดถึง 1ใน 3 เลยทีเดียว

“  เป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยานมาก ต้องกลับมาตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือพื้นที่ที่ประกาศไปแล้วมีการจัดการได้ผลตามเป้าหรือยัง  COP 15 นอกจากอนุรักษ์พื้นที่สำคัญที่มีความหลากหลายทางชีวภาพให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี 2030  ยังมีการฟื้นฟูธรรมชาติ  ลดการสูญเสียพื้นที่สำคัญทางความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นศูนย์ โครงการที่ส่งผลกระทบต้องพิจารณาใหม่ “ เพชร กล่าว

ในทัศนะเขาเห็นว่า พื้นที่ OECMs ไม่ควรกระจัดกระจาย ต้องมองทั้งระบบ สรุปประเทศไทยมีพื้นที่คุ้มครองอยู่ตรงไหน และควรพัฒนาพื้นที่ OECMs มาเสริม เพื่อเชื่อมพื้นที่อนุรักษ์เข้าด้วยกัน ซึ่งต้องใช้ข้อมูลพื้นที่การกระจายตัวของพืชและสัตว์   อาทิ พะยูน เต่ามะเฟือง นกหายาก

ขณะที่ไทยมีเป้าหมายขยับพื้นที่คุ้มครองให้ได้ร้อยละ 30  เพชรระบุมีงานวิจัยพบหากพื้นที่ไม่มีการจัดการอย่างจริงจัง ก็ไม่ได้ผลลัพธ์ด้านอนุรักษ์ แต่หากมีอนุรักษ์เข้มข้นจะเกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และชุมชนในพื้นที่  อีกงานวิจัยการเพิ่มปริมาณพื้นที่ทางทะเล ที่ประกาศแล้วยังไม่มีการจัดการที่ดี ขาดทั้งคน แหล่งทุน อุปกรณ์  พื้นที่คุ้มครองที่ประกาศแล้วเป็นโจทย์ที่เปิดให้ภาคเอกชนสนับสนุนได้ อย่าคิดเฉพาะพื้นที่ใหม่ ต้องพัฒนาระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพทั้งบนบกและทะเล  เป้าหมาย 30X30 เป็นเป้าหมายรวมของโลก หลายคนชี้ว่า บางประเทศอาจเกิน บางประเทศอาจไม่ถึงก็ได้ ถ้ามีหลักเกณฑ์ชัดเจน มีงานวิจัยระยะยาว ถ้าเก็บพื้นที่ได้ 30% ยังรองรับผลิตผลการประมงได้ แม้จะทำประมงแบบไม่บันยะบันยัง ต้องสื่อสารเพื่อเก็บพื้นที่อนุรักษ์ไว้

ภายใต้กรอบ 30X30 วรดลต์ แจ่มจารูญ รษก.ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอนุกรมวิธานพืช สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติฯ  กล่าวว่า  ปัจจุบันไทยมีพื้นที่คุ้มครอง 24% และเหลือพื้นที่ไม่มากที่จะไปสู่เป้าหมาย ภารกิจกรมอุทยานฯ ต่อเป้าหมาย 30X30 เรามีพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติ 23 แห่ง เนื้อที่เกือบ4 ล้านไร่  พื้นที่เตรียมประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 6 แห่ง เนื้อที่ 1.1 แสนไร่ พื้นที่เตรียมประกาศเป็นสวนรุกขชาติ 1 แห่ง 300 ไร่ นั้นคือ สันทรายบางเบิด และควรกำหนดศัพท์บัญญัติภาษาไทยของพื้นที่ OECMs เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน เช่น พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นประเภทอื่นที่ไม่ใช่พื้นที่คุ้มครอง

ภาคบกมีหลายพื้นทื่เข้าเกณฑ์เป็น  OECMs วรดลต์ กล่าวว่า ไทยส่วนใหญ่จัดเป็นกลุ่มป่า เกิดช่องว่างที่อนาคตจะเกิดปัญหาการแลกเปลี่ยนทางพันธุกรรม OECMs จะเป็นเครื่องมือช่วยเชื่อมโยงกับพื้นที่คุ้มครองต่างๆ เหมือนก้อนหินกระโดดข้าม ให้สิ่งมีชีวิตแลกเปลี่ยนพันธุกรรมได้

ยกตัวอย่างพื้นที่สำคัญของนก พืช พืชน้ำ ควรได้รับการเลือกเป็นพื้นที่ OECMs ลำดับต้นๆ เพราะมีข้อมูลและชนิดพันธุ์ที่ควรอนุรักษ์  รวมถึงพื้นที่สำคัญว่าด้วยการอนุรักษ์พืช หรือ IPAs ไทยมี 102 แห่ง ซึ่งใช้เกณฑ์วิเคราะห์พืชเฉพาะถิ่นและความสำคัญทางนิเวศวิทยา  ซึ่งไม่อยู่ในการคุ้มครองพื้นที่หลายพื้นที่ เช่น พื้นที่ริมน้ำคลองนาคา แหล่งพลับพลึงธาร พรุจำปา หรือโครงการอนุรักษ์จำปีสิรินธร จ.ลพบุรี มีทั้งศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการอนุรักษ์ รวมถึงป่าในเมือง พื้นที่โครงการตามพระราชดำรินอกพื้นที่คุ้มครอง

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ราชพัสดุกระจัดกระจายทั่วไทย อย่างโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ อ.สวนผึ้ง เป็นจุดเชื่อมต่อป่าแก่งกระจานกับป่ากุยบุรีแดนใต้ พบชมพูราชสิรินที่นี่ รวมถึงพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

“ ส่วนป่าชุมชนก็เข้าเกณฑ์ สำคัญสุดการมีส่วนร่วมของชุมชนรักษาวัฒนธรรม เช่น ป่าดอนปู่ตา ภาคอีสาน เฉพาะป่าชุมชนที่มีจำนวนมากไปถึงเป้าหมาย 30X30 แน่นอน    แล้วยังมีพื้นที่วัดป่า หลายพื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเก็บรักษาไว้ ปัจจุบันมีเกือบ 4 หมื่นวัด หลายหมื่นไร่ที่มีป่าปกคลุม อีกตัวอย่างป่านันทนาการ คือ ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีความสมบูรณ์ ปัจจุบันมี 30 แห่ง ประเทศไทยมีความพร้อมขึ้นทะเบียนพื้นที่ OECMs โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ปกปักตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)  กระจายตามหน่วยงานต่างๆ อีกส่วนเป็นพื้นที่สีเขียวในเมืองและชนบทกว่า 3 ล้านไร่ เช่น บางกระเจ้ามีการจัดการอนุรักษ์ พื้นที่ภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐต้องกำหนดเกณฑ์ชัดเจน สร้างการมีส่วนร่วม  แต่ระยะยาวอาจเจอข้อจำกัดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลกระทบจากมาตรการกฎหมายต่างๆ ที่ถกเถียงในหลายเวที ความท้าทายจะติดตามประเมินประสิทธิภาพในการจัดการ การหาทุนหนุนจัดการพื้นที่ “ วรดลต์ กล่าว

 ในทะเลไทยมีพื้นที่คุ้มครองทางทะเลร้อย 5.1 ของพื้นที่ทะเลไทย  ชนกพร จันทรขันตี นักวิชาการประมงชำนาญการ กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เผยการขยับสู่เป้า 30X30 ว่า ขณะนี้มีแผนประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลของหน่วยงานต่างๆ พื้นที่เตรียมการ ทช. 30 พื้นที่ ภายในปี 2573  พื้นที่เตรียมการอุทยานฯ 2 พื้นที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 2 พื้นที่  พื้นที่เตรียมการพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม 4 พื้นที่ รวมพื้นที่ทั้งหมดทำให้ตัวเลขขยับขึ้นมาร้อยละ 9.37  ข้อจำกัดการเพิ่มพื้นที่คุ้มครองทางทะเล มีขั้นตอนซับซ้อน ใช้เวลานาน อย่างน้อยกว่า 5 ปี  บางครั้งไม่สามารถผลักดันออกประกาศทางกฎหมายได้ เพราะถูกต่อต้านจากประชาชน 

“ สถานการณ์พื้นที่  OECMs ในเอเชีย ไทยยังไม่มีการกำหนดจุดลงในแผนที่โลก อนาคตเราอยากจะเห็นภาพนั้น ในเอเชียแปซิฟิก มี OCEMs 178 แห่ง จาก 56 ประเทศ  ฟิลิปปินส์มีการขึ้นทะเบียนพื้นที่   OECMs จำนวนมาก ตัวอย่างพื้นที่ในไทยที่จะผนวกเป็น  OECMs เช่น แหล่งโบราณคดีใต้น้ำ 40 จุด ซึ่งให้ความคุ้มครองทางวัฒนธรรม เขตปลอดภัยในราชการทหาร หรือพื้นที่ทางทะเลที่มีการจัดการโดยชุมชนชายฝั่งท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกาะยาวน้อย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านท่าไร่ จ.พังงา ” ชนกพร กล่าว

เป้าหมายเพิ่มพื้นที่คุ้มครองทางทะเลอร้อยละ 30 ภายในปี 73 ชนกพรระบุในท้าย ไทยควรเน้นที่มาตรการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพอื่นๆ ( OECMs ) จะมีรูปแบบที่หลากหลาย ยืดหยุ่นกว่า นอกเหนือจากประกาศกำหนดพื้นที่คุ้มครองแบบปกติ ควรประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพจะเป็น OECMs เพื่อทิศทางเชิงรุก พัฒนาโรดแมฟการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย 30X30

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต่อชีวิต'พะยูนฝูงสุดท้าย' กอบกู้หญ้าทะเล

การเสียชีวิตของพะยูนไทยที่ปรากฎอย่างต่อเนื่องตามสื่อต่างๆ ในรอบปี 2567 มีตัวเลขการตายพุ่งสูงกว่าทุกปี  หากนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ พะยูนตายไปแล้วเกือบ 40 ตัว รวมปี 2566 ไทยสูญเสียพะยูนรวมกันเกือบ 80 ตัว  ถือเป็นสัญญาณอันตรายของพะยูน

สถานการณ์ทางทะเลที่ต้องจับตา ขยับเศรษฐกิจสีน้ำเงินลดทำลาย

สถานการณ์ทางทะเลของประเทศไทยขณะนี้หลายปัญหามีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทั้งสัตว์ทะเลหายากเสี่ยงสูญพันธุ์จากกิจกรรมมนุษย์และสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน ล่าสุดกรณีพะยูนตายมากถึง 5 ตัวภายในเดือนพฤศจิกายนนี้เพียงเดือนเดียว

เก็บขยะศึกษาแหล่งที่มาในทะเล ปลุกความรับผิดชอบผู้ผลิต

กรม ทช. เก็บตัวอย่างขยะทะเลและศึกษาปริมาณขยะบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อตรวจสอบบาร์โค้ดเป้าหมายเพื่อให้ผู้ผลิตตระหนักถึงพลาสติกและขยะที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลหรือย่อยสลายได้

เปิดรายงานคุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 67 ยังคงวิกฤต!

ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม  พ.ศ. 2567 สะท้อนให้เห็นสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมสาขาต่างๆ ของประเทศไทยในระหว่าง พ.ศ. 2566 – 2567 ปีล่าสุด หลายสาขามีความน่าวิตก ตั้งแต่การปลูกพืชเศรษฐกิจหลักในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม การตกค้างสารเคมีทางการเกษตรในดิน

ไทยออยล์ร่วมพิธีลงนาม MOU กับ ทช. ในฐานะภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ นายถิรยุทธ ลิมานนท์ ผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ เป็นผู้แทนบริษัทฯ ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU)

อธิบดี ทช. เยี่ยมชมโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตที่จังหวัดชลบุรี

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) พร้อมคณะผู้บริหารของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)