หอศิลป์ร่วมสมัยใช้เทคโนโลยีให้ประสบการณ์ใหม่

รอบเกาะรัตนโกสินทร์มีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งเปิดบริการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาตร์และศิลปวัฒนธรรมสู่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน พิพิธภัณฑ์ย่านพระนครภายในอาคารประวัติศาสตร์ พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย และกิจกรรมอบรม เสวนา เวิร์คชอป เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมใน 6 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ ดนตรีและการแสดง การออกแบบ ภาพยนตร์ นอกจากนี้ พื้นที่แห่งนี้ยังมีนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับประเทศในอาเซียนและการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ด้วย

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม พยายามพัฒนาพื้นที่แห่งการเรียนรู้นี้ให้น่าสนใจ ทันสมัย ตลอดเวลา เพราะนอกจากจะเป็นมิวเซียมให้ดื่มด่ำความสุนทรีย์จากผลงานศิลป์แล้ว ยังเพิ่มศักยภาพในการนำเสนอความรู้ใหม่ๆ สู่สาธารณชนที่สะดวก รวดเร็วอีกด้วย

ประสพ เรียงเงิน ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย  กล่าวว่า สศร. ได้พัฒนาหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยหลากหลายสาขา  ตลอดจนเปิดพื้นที่สำหรับจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยระดับชาติและนานาชาติ  และให้ศิลปินแขนงต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อใช้พัฒนาผลงาน  ตลอดจนเพื่อให้ผู้เข้าชมได้รับประโยชน์และนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดนิทรรศการไปใช้สร้างแรงบันดาลใจหรือต่อยอดการทำงานได้

“ ในช่วงปี 2565 จนถึงปัจจุบัน หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินได้ผลตอบรับจากผู้จัดกิจกรรม ศิลปิน และผู้ชมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ มาช่วยในการจัดนิทรรศการ ทำให้มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้ชมมากยิ่งขึ้น มีการประชาสัมพันธ์เนื้อหาและรูปแบบการจัดกิจกรรมหลากหลายช่องทาง ทั้งจากทางหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เครือข่ายศิลปร่วมสมัย  และจากผู้เข้าชมที่แชร์เรื่องราวความประทับใจต่อไปยังสาธารณะ ยิ่งทำให้มีผู้เข้าชมทั้งชาวไทย และต่างชาติ ใช้บริการหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินเพิ่มมากขึ้น “ ประสพ กล่าวเทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญ

หอศิลป์ที่เคยถูกมองว่าเป็นสถานที่น่าเบื่อสำหรับคนรุ่นใหม่ เมื่อผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งเสริมให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ยังไม่ตาย และกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่รวมอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้อย่างลงตัว  ประสพ ระบุ สศร. เปิดกว้างให้ผู้สนใจเข้าหารือในการใช้พื้นที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และพร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่างๆ  เป็นที่มาของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตลอดเดือนมิถุนายนนี้

วันที่ 11 มิ.ย. จะมีกิจกรรมอบรม  “บรรณาธิการกิจกับวัฒนธรรมหนังสือ” (open book)   เวลา 09.30 – 16.45 น. ที่ห้องออดิทอเรียม หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน มีการบรรยายให้ความรู้จากบุคคลชั้นนำด้านหนังสือ นิตยสาร อาทิ  หัวข้อ “บรรณาธิการกิจกับวัฒนธรรมหนังสือ” โดยนายอรรถ บุนนาค  บรรณาธิการสำนักพิมพ์ JLit  การเสวนา หัวข้อ “บทบาทของบรรณาธิการในโลกสมัยใหม่” โดยบรรณาธิการระดับแนวหน้าของไทย ได้แก่ นายทรงกลด บางยี่ขัน  บรรณาธิการ The Cloud  นายวิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการนิตยสาร  a day , นายภัทรจักร ปานสมัย บรรณาธิการหลวยสูสำนักพิมพ์  และนายอรรถ บุนนาค บรรณาธิการสำนักพิมพ์ JLit   ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

อีกหนึ่งกิจกรรมไฮไลท์ สศร. ได้ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาทัศนศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดนิทรรศการ “Dystopian” แสดงผลงานวิทยานิพนธ์ของมหาบัณฑิตศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาทัศนศิลป์ ที่ ห้องนิทรรศการ 5 และห้องปฏิบัติการ 1 ชั้น 2   โดยรวบรวมงานศิลปะที่สะท้อนถึงรูปแบบความทุกข์อันหลากหลายของ 8 ศิลปิน จำนวน 16 ผลงาน มาให้ได้รับชมอย่างใกล้ชิด  งานศิลปะเป็นการสื่อสารที่สามารถนำไปสู่การสนทนาและถกเถียงกันในประเด็นความทุกข์ของมนุษยชาติ ด้วยรูปแบบที่น่าดึงดูดและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนได้ เชื่อมโยงศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกคน

เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหารูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ ชักชวนให้คนรักศิลปะอยากออกมาหอศิลป์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

งานรำลึก ‘ถวัลย์ ดัชนี’ ที่พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ถือเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการจิตรกรรมของไทย สร้างสรรค์ผลงานอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนเป็นที่รู้จักและยอมรับทั่วโลก ศิลปินล้านนาผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ได้หว่านเมล็ดพันธุ์ศิลปะไว้มากมาย ด้วยการอุทิศตน มุ่งมั่น เสียสละ ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ รวมถึงชี้แนะแนวทางให้แก่เด็ก เยาวชน ครู อาจารย์ ศิลปินรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจในงานศิลปะตลอดช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่

ยกย่อง 7 ศิลปิน’ศิลปาธร’ 2566

ศิลปินรางวัล”ศิลปาธร” นับเป็นต้นแบบของคนรุ่นใหม่ที่มีพลังความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทรงคุณค่า เชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมอันเป็นทุนทางวัฒนธรรม ต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ ทุ่มเทเวลา ความคิด ทักษะและประสบการณ์ความรู้สร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ชาติอย่างเต็ม

 ‘เมืองศิลปะสร้างสรรค์’ ฝันของคนภูเก็ต

ทุกภาคส่วนในภูเก็ตร่วมนำเสนอความพร้อมเป็นเมืองศิลปะแห่งการสร้างสรรค์ของประเทศไทย ลำดับที่ 4 ต่อจาก จ.กระบี่ นครราชสีมา และเชียงราย ในมิติต่างๆ ผ่านการประชุมที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)

เปิดตัว 20 ศิลปินไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย

เปิดตัว 20 ศิลปินมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย 2023 ระยะที่ 2 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นศิลปินชั้นนำจากไทยและทั่วโลก อาทิ สหรัฐ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส,บราซิล, ไทเป,สิงคโปร์,ฟิลิปปินส์ ที่พร้อมสร้างสรรค์ผลงานร่วมแสดงในมหกรรมศิลปะครั้งสำคัญ

อาร์ตมาร์เก็ตกลางกระบี่’เมืองศิลปะ’

กระบี่ เป็น 1 ใน 3 เมืองศิลปะของไทยที่กระทรวงวัฒนธรรมคัดเลือก โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) สนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมศิลปะร่วมสมัยให้กับจังหวัดกระบี่อย่างต่อเนื่อง เช่น มหกรรมศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติ Thailand Biennale Krabi 2018 ที่โด่งดังไปทั่วโลก

เทิดไท้พระพันปี ศิลปินศิลปาธรแต่ง 10 บทเพลง

พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศิลปินศิลปาธร  สาขาดนตรี ปี 2560 ได้จัดทำ 10 บทเพลงพิเศษ” บทเพลงเทิดพระเกียรติ คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี” โดยร่วมประพันธ์คำร้องทำนอง และเรียบเรียงดนตรีกับเหล่านักดนตรีไทย เพื่อเทิดพระเกียรติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ท่าน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา