‘หมอยง’ ชี้โรคปอดบวมในเด็กที่กำลังระบาดเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เชื้ออุบัติใหม่

4 ธ.ค.2566-นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่อง “โรคปอดบวม ปอดอักเสบ ที่เพิ่มมากขึ้น” ระบุว่า มีการระบาดและเพิ่มมากขึ้นของปอดอักเสบ โดยเฉพาะในเด็ก ไม่ใช่เฉพาะประเทศจีน ยังพบมากในเนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก อเมริกาในหลายรัฐ และแม้แต่ในประเทศไทย

จากการระบาดของโควิด 19  มาถึงขณะนี้เป็นเวลา 4 ปี ในช่วง 3 ปีแรก มีมาตรการเข้มงวด เคร่งครัด ควบคุมการระบาดของโรค ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ ใช้แอลกอฮอล์เช็ดมือ ปิดบ้านปิดเมือง รวมทั้งปิดโรงเรียน ทำให้โรคทางเดินหายใจ ไม่ระบาด เด็กที่เกิดในช่วงนี้ จึงยังไม่เคยเป็นโรคดังกล่าว หรือถ้าเป็นมาแล้วในเด็กโตก็นานมาแล้ว ทำให้ประชากรส่วนใหญ่โดยเฉพาะเด็ก ง่ายต่อการติดเชื้อ เกิดระบาดได้ง่าย  เป็นกลุ่มใหญ่ ชดเชยกับปีที่ผ่านมาที่ไม่มีการระบาด

โรคทางเดินหายใจในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส โควิด 19  ไข้หวัดใหญ่ RSV parainfluenza virus rhinovirus hMPV เป็นเชื้อที่มีอยู่เดิมแล้ว ไม่ได้เป็นเชื้ออุบัติใหม่แต่อย่างใด เมื่อติดเชื้อไปแล้ว ก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น ปีต่อๆไปถึงจะมีการติดเชื้ออีก อาการความรุนแรง  ก็จะน้อยลง

ความรุนแรงของโรคส่วนใหญ่จะอยู่ในเด็กเล็ก กลุ่มเปราะบางที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ ถ้าเป็นในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่แข็งแรงจะมีอาการน้อย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)