
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) เปิดเผยว่า จากการที่ได้มีนโยบายได้มีนโยบายให้เปิดสถานบริการที่ตั้งอยู่ในโรงแรมและสถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เปิดบริการได้ถึง ตี 4 และมีแนวโน้มว่าจะกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้นอีก โดยให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการขยายกำหนดเวลาจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารทั่วไปให้สอดคล้องกับเวลาเปิดปิดของสถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่นำร่องดังกล่าวนั้น เรื่องนี้ตนเองเห็นว่าผู้เกี่ยวข้องต้องทบทวนและพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาให้มาก เพราะผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ทั้งที่เป็นผลกระทบทางตรงที่มีต่อสุขภาพร่างกาย และผลกระทบทางอ้อมในเรื่องความสูญเสียจากเศรษฐกิจและสังคม ทั่วโลกรับรู้และต่างก็มีความพยายามจะแก้ไขปัญหากันมาอย่างยาวนาน องค์การอนามัยโลก (WHO ) ถึงกับเสนอให้ทุกประเทศหาทางแก้ไขปัองกัน นักวิจัยนานาชาติ ชี้ปัญหาดื่มสุรากระทบรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย เด็กเยาวชนตกเป็นเหยื่อ
นายพรหมมินทร์ กล่าวว่า นักวิจัยวิทยาศาสตร์สารเสพติดนานาชาติ ชี้ว่าปัญหาจากการดื่ม สร้างผลกระทบรุนแรง รัฐต้องมีส่วนร่วมวางนโยบายที่เข้มแข็ง ห่วงเด็กและเยาวชนกลายเป็นเหยื่อ ปัญหารุนแรงถึงขั้นเสี่ยงฆ่าตัวตาย ซึ่งการออกกฎหมายจำกัดอายุ คุมเวลาขาย ห้ามโฆษณา ช่วยลดปัญหาลง 35% ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อระบบสาธารณสุขโดยรวม การมีผู้บาดเจ็บจำนวนมากจากการดื่มไม่ว่าจะเกิดจากเหตุทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุทางถนน อาชญากรรม ทำให้กระทบการรักษาผู้ป่วยจากการเจ็บป่วยโรคอื่นๆ เตียงเต็ม โรงพยาบาลไม่พอ บุคลากรไม่พอ และยังใช้งบประมาณดูแลผู้ป่วยเหล่านี้จำนวนมาก จนส่งผลกระทบต่องบประมาณด้านสาธารณสุข กระทบครอบครัว เช่น รายได้ครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความเครียดและผลกระทบต่อสุขภาพจิต ทำให้นอกจากการวางแผนแก้ปัญหาเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังต้องดูแลเรื่องการสร้างงาน สร้างรายได้เพื่อทำให้คนหลุดพ้นจากปัญหาความยากจนอีกด้วย

ซึ่งสอดคล้องกับ ดร.ชิด ซู ทินน์ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ศึกษาเรื่องการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชน มีผลกระทบต่อสุขภาพจิต มีการเก็บกลุ่มตัวอย่างในเยาวชนอายุ 15-23 ปี จำนวน 1,538 คน ในโรงเรียน 6 แห่ง จากทุกภาคของไทย โดยพบว่าเยาวชนไทยมีปัญหาที่เกิดจากการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากปี 2551 อยู่ที่ 14.8% เพิ่มขึ้นเป็น 22.2% ในปี 2558 พบปัญหาเกิดจากการที่เด็กไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ส่งผลให้เด็กมีโอกาสที่จะกลายเป็นนักดื่ม และมีปัญหาทางสุขภาพจิต และเชื่อมโยงกับการติดพนัน และใช้สารเสพติด ทั้งนี้ วัยรุ่นต้องเผชิญกับปัญหาที่มาจากอารมณ์ จนกระทบไปถึงปัญหาสังคม และสุขภาพจิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลการเรียนตกต่ำ ปัญหาความพยายามฆ่าตัวตาย ปัญหาทางสุขภาพอื่น ล้วนเกิดจากการที่เด็กไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ภาครัฐควรมีโปรแกรมสำหรับดูแลคนรุ่นใหม่ เยาวชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตระหนักและรู้เท่าทันอารมณ์ตนเองมากขึ้น เพื่อให้สามารถยับยั้งชั่งใจ ควบคุมตนเองได้ จึงจำเป็นต้องสร้างหลักสูตรการเรียนรู้สำหรับเยาวชนให้เท่าทันต่อผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต การพนัน และการใช้สารเสพติด
นายพรหมมินทร์ กล่าวต่ออีกว่า จากผลกระทบดังกล่าวนี้ หากรัฐยังคงดื้อด้านคิดจะขยายเวลาขายน้ำเมาก็เท่ากับว่ามองไม่เห็นความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย มองไม่เห็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับคนไทยอย่างต่อเนื่อง มองไม่เห็นความทุกข์ทรมานของผู้ที่ได้รับผลกระทบและต้องสูญเสียคนในครอบครัว เพียงเพราะต้องการกระตุ้นส่งเสริมทางเศรษฐกิจ ทั้งๆที่ขาดโครงสร้างการบริหารจัดการรับมือกับปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
“ ปัจจุบันนี้เกิดความเสื่อมในสังคมไทยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำเมา เช่น อุบัติเหตุทางถนน การเสียชีวิต บาดเจ็บ และพิการ ทำให้ครอบครัวล่มสลาย เกิดเหตุทะเลาะวิวาท ฆ่าข่มขืน คดีอาชญากรรม ศีลธรรมตกต่ำ ยาเสพติด การพนันและอีกมากมาย เราต้องช่วยกันส่งสัญญาณแรงๆ ให้กับรัฐบาล อย่าคิดเพียงหาเม็ดเงิน อย่าคิดจะแลกชีวิตคนไทยกับน้ำเมา ” นายพรหมมินทร์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปิดศูนย์ 7 วันอันตรายสงกรานต์ ดับ 253 ศพ อุบัติเหตุ 1,538 ครั้ง เทียบปี 67 ลดลง 25%
'อนุทิน' ขอบคุณทุกภาคส่วน ร่วมป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนนช่วง 7 วันอันตราย สงกรานต์ 68 ยอดอุบัติเหตุรวม 1,538 ครั้ง เสียชีวิต 253 ราย บาดเจ็บ 1,495 คน ลดลงจากปี 67 เกือบ 1 ใน 4
‘4วันอันตราย’สังเวย138ศพคุมเข้มขากลับ
4 วันอันตรายสงกรานต์ ดับ 138 ราย รัฐบาลชี้สถิติอุบัติเหตุลดลงกว่าปีที่แล้ว 20% หลังกวดขันบังคับใช้กฎหมายเข้มข้น ขณะที่ “ขับรถเร็ว-เมาขับ”
วันที่ 4 อุบัติเหตุสงกรานต์ เสียชีวิตรวม 138 ราย ขับเร็วเกินกำหนดยังครองอันดับ 1
ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 แถลงข้อมูลอุบัติเหตุ
'ลำเพลิน วงศกร' เคลื่อนไหวหลังเกิดอุบัติเหตุ
หลังจากที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ฮาโตริน้อย พรประถม ได้โพสต์ภาพอุบัติเหตุ พร้อมกับข้อความแจ้งข่าวว่า นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ลำเพลิน วงศกร ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ จ.สกลนคร อยู่ระหว่างรอผลเอ็กซเรย์ จะมาอัพเดตอาการให้ทราบอีกครั้ง
ลูกทุ่งดัง 'ลำเพลิน วงศกร' ประสบอุบัติเหตุ
แฟนๆ ร่วมส่งกำลังใจ หลังทราบข่าว นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ลำเพลิน วงศกร ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ จ.สกลนคร โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก ฮาโตริน้อย พรประถม ได้โพสต์ภาพอุบัติเหตุ พร้อมกับโพสต์ข้อความแจ้งข่าวว่า