กฟผ.-สวทช.นำร่องวินมอ'ไซค์ไฟฟ้า  ลดมลพิษเขตเมือง

สาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกมาจากการคมนาคมการขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้แบบสันดาป ในปัจจุบันหลายประทั่วโลกจึงหันมาใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้าแทน สำหรับประเทศไทยก็ตื่นตัวกับการใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้า จะเห็นว่าตอนนี้บนท้องถนนเริ่มมีแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้นด้วย

ด้วยเหตุนี้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนิน “โครงการนำร่องวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตชุมชนเมือง ช่วยลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ”  ในพื้นที่อำเภอบางกรวย จ.นนทบุรี และเขตบางพลัด กรุงเทพฯ จำนวน 50 คัน จนครบระยะเวลาขจากองการดำเนินโครงการทั้ง 2 เฟส ตั้งแต่ปี พ.ศ.2565-2567  จึงได้จัดพิธีมอบใบคู่มือจดทะเบียนประจำรถฯ (ป้ายเหลือง) ให้แก่วินมอเตอร์ไซค์ที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อผนวกยานยนต์ไฟฟ้า 2-3 ล้อเข้ากับขนส่งสาธารณะ โดยกรอบนโยบายที่ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อเป็นแบบอย่างในการขยายผลไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

 โดยการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาจากการสนับสนุนของ International Climate Initiative (IKI) โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณู และการปกป้องผู้บริโภค แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV) ภายใต้ โครงการ Integrating Electric 2&3 Wheelers into Existing Urban Transport Modes in Developing and Transitional Countries ให้แก่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เพื่อพัฒนาโปรแกรมใน 6 ประเทศจาก 2 ภูมิภาค ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม เอธิโอเปีย เคนยา และยูกันดา ที่ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้า โดยมีบริษัท Dongguan Tailing Electric Vehicles (TAILG) ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าเอกชนจีน ภาคีของ UNEP ในการบริจาคมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าให้ 6 ประเทศดังกล่าวข้างต้นและบริษัท เดอะสตาเลียน จำกัด (Stallions) ผู้ผลิตและประกอบมอเตอร์ไซด์เอกชนในไทย

ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล

ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการนี้หลักๆเพื่อใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสำหรับให้บริการสาธารณะ (ขนคน) ในประเทศไทย ที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากรถยนต์ส่วนบุคคลามาใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้นจากการเชื่อมต่อการเดินทางในระบบชนส่งมวลชน โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่ได้ถูกคัดเลือกเข้าร่วม UNEP เพราะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีความต้องการและสามารถขยายการใช้พลังงานสะอาดได้กว้างขึ้น

ปัจจุบันได้ส่งมอบรถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้างในพื้นที่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 29 คัน และเขตบางพลัด กรุงเทพฯ จำนวน 21 คัน รวมเป็นจำนวน 50 คัน หลังจากผ่านการใช้งานการใช้งานเป็นระยะเวลาครบ 1 ปี ได้เพิ่มจำนวนสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ครอบคลุมการให้บริการ และในการติดตามเก็บข้อมูลระยะการใช้งานและประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยรวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 759,354 กิโลเมตร เฉลี่ย 24,600 กิโลเมตร มีอัตราสิ้นเปลืองพลังงาน 32.41 Wh/km หรือ 0.371 ลิตรเทียบเท่าแก๊สโซลีนต่อร้อยกิโลเมตร คิดเป็นผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 38.8 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ และคิดเป็นผลการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างทั้ง 50 คันอยู่ที่ 516,000 บาท

 “ส่วนการใช้งานของรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า อาจจะต้องมีการนำมาวิเคราะห์และพัฒนาแบตเตอรี่ที่นำมาใช้ให้เหมาะกับสภาพอากาศและบริบทของคนขับในประเทศไทย เนื่องจากแบตเตอรี่ที่นำมาใช้ในรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างพัฒนามาจากต่างประเทศนอกจากยังเตรียมพัฒนาการสับเปลี่ยนแพ็คแบตเตอรี่ของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อให้เป็นมาตรฐานการใช้งานประเทศ โดยจะต้องมีการพูดคุยกับผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศเพื่อร่วมวางแผนพัฒนาต่อไป” ผอ.เอ็นเทค กล่าว

 ข้อมูลดังกล่าวตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการ ผอ.เอ็นเทค กล่าวว่า จะนำไปสู่การวางแผนขยายผลสู่กลุ่มรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างทั่วประเทศ ลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและการบำรุงรักษา บรรเทาปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่สังคมความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามเป้าหมายการเพิ่มจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าของนโยบาย อว. For EV และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่อไปในอนาคต              

 ชัยวุฒิ หลักเมือง

 ชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน กฟผ. กล่าวว่า รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในโครงการจากทดลองขับขี่นำร่องพบว่าประสิทธิภาพเครื่องยนต์สันดาปภายในที่เป็นไฟฟ้าสามารถเพิ่มพลังงานจากมอเตอร์มาที่ล้อได้ถึง 80% จากเดิมที่ใช้พลังงานสันดาปปกติจะอยู่ที่ 20% ซึ่งทุกคันจะมีมาตรฐานคุณภาพพลังงานฉลากเบอร์ 5 ทั้งนี้พฤติกรรมการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าก็อาจจะเหมือนกันเพราะมีผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้างบางรายที่อาจจะรับงานเสริมในการขับส่งอาหารก็จะใช้ความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นใช้งานหนักมากอาจจะเกินการดีไซน์สมรรถภาพของรถที่ออกแบบไว้ที่ต้องการควบคุมต้นทุนการใช้พลังงานต่างจากรถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้น้ำมันที่สามารถเร่งความเร็วได้ตามต้องการเพราะใช้น้ำมันมาเป็นตัวเร่ง อย่างไรก็ตามการใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ทำให้ง่ายต่อผู้ใช้งานเพราะเมื่อแบตหมดก็สามารถมาสับเปลี่ยนได้ที่สถานีอัดประจุไฟฟ้า Elex by EGAT ที่มีทั้งหมด 10 ตู้จะชาร์จแบตให้ทันทีหรือบางรายอาจจะชาร์จที่บ้านได้ด้วย ดังนั้นข้อมูลต่างๆที่ได้จากการใช้งานของมอเตอร์ไซค์ในโครงการจะเป็นการนำไปกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นสูง หรือการพัฒนาโมเดลสถานีอัดประจุไฟฟ้า Elex by EGAT ให้ขยายเพิ่มขึ้น

สุก์พิญชญา ญาณโกมุท

สุก์พิญชญา ญาณโกมุท อายุ 58 ปี ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างประจำที่จรัสสนิทวง 75 เล่าว่า ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างมากกว่า 30 ปี เดิมจะใช้รถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้น้ำมันอยู่แล้วซึ่งรายได้ก็ต้องจ่ายค่าน้ำมันครึ่งหนึ่งของรายได้ หลังจากได้เข้าร่วมโครงการเปลี่ยนมาเป็นการชาร์จไฟฟ้ากับแบตเตอร์รี่ก็ดีเลยสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก ดูแลง่าย ไม่ต้องคอยถ่ายน้ำมันเครื่อง ซึ่งเรื่องความเร็วหรือการเร่งไม่เป็นปัญหาเพราะไม่ได้ขับขี่เร็วมากจึงชาร์จแบตแค่ 1 ครั้งอาจจะต่างจากคนที่ขับด้วยความเร็วมากซึ่งก็จะชาร์จแบตมากกว่า 1 ครั้ง ในอนาคตหากจะซื้อรถใหม่ก็จะเลือกใช้รถไฟฟ้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กฟผ.ชวนสัมผัส “ELEXTROSPHERE โลกใหม่ Right คาร์บอน” โซนใหม่ศูนย์การเรียนรู้ จัดเต็มความรู้คู่ความสนุก พบกัน 2 เมษายนนี้!

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง เป็นโครงการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม หรือ Learning for Society

ฉลากเบอร์ 5 แบบใหม่ 5 ดาว ประหยัดไฟ รักษ์โลกมากกว่าเดิม

แม้ไทยจะเข้าสู่ฤดูร้อนเพียงไม่นาน แต่บางพื้นที่มีอุณหภูมิร้อนแรงแตะ 45 องศาเซลเซียส ทำให้หลายคนเตรียมปาดเหงื่อทั้งจากอากาศที่ร้อนจัด

ตามโผ ‘ครม.’ ตั้ง ‘เทพรัตน์ เทพพิทักษ์’ นั่ง ผู้ว่าการ กฟผ.คนใหม่

ครม.มีเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายเทพรัตน์  เทพพิทักษ์  ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

กฟผ. พร้อมจ่ายไฟฟ้าพลังงานสะอาดในรูปแบบผสมผสาน กำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ภายใน มี.ค. นี้

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทดสอบการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ ชุดที่ 1 เข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าของสถานีไฟฟ้าแรงสูงเขื่อนอุบลรัตน์

กฟผ. ชวนเติมความหวานฉลองเทศกาลแห่งความรัก 9 ก.พ. นี้ ที่เขื่อนศรีนครินทร์

กฟผ. เตรียมจัดเทศกาลแห่งความรักสุดโรแมนติก ในธีม “ความรักซื่อตรง มั่นคงดั่งตัวเขื่อน” ชวนเก็บภาพประทับใจและไฮไลท์พิเศษ