Women Made: Girl in STEM ปลุกความกล้าเด็กผู้หญิง คว้าอาชีพสายวิทย์ฯ

Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ การีนา ช้อปปี้ และซีมันนี่ ร่วมกับ InsKru และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัวโครงการ Women Made: Girl in STEM เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้เด็กผู้หญิงที่มีความสนใจศึกษาต่อในสาขาอาชีพ STEM ผ่านการจัดกิจกรรม Day Camp ซึ่งมีน้อง ๆ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และคุณครู เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 90 คน เมื่อช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา  ณ อาคารสราญวิทย์ (อาคาร 12) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

พุทธวรรณ สุภัทรนันท์

นางพุทธวรรณ สุภัทรนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร Sea (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เนตแพลตฟอร์ม Sea (ประเทศไทย) เห็นถึงความต้องการของการส่งเสริมความหลากหลายทางเพศในโลกสาขาอาชีพ STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematics) ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และยังมีความต้องการบุคคลากรอีกเป็นจำนวนมากเพื่อร่วมกันเป็นแรงขับเคลื่อนและพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ จำนวนของผู้หญิงที่ประกอบอาชีพในสาขา STEM ยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย พิจารณาได้จากรายงานดัชนีช่องว่างระหว่างเพศ ประจำปี 2566 โดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ซึ่งระบุว่า จากการจ้างงานทั้งหมดในกลุ่มอาชีพ STEM มีเพียงร้อยละ 29.2 เท่านั้นที่เป็นแรงงานหญิง แตกต่างจากการจ้างงานในสายอาชีพนอกกลุ่ม STEM ซึ่งมีแรงงานหญิงมากถึงร้อยละ 49.3 หรือเกือบครึ่งของการจ้างงานทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาและงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่พบว่าเด็กผู้หญิงมักจะมีความสนใจด้าน STEM ในระดับเดียวกันกับผู้ชายในระดับประถม แต่จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เนื่องจากพบความท้าทายทั้งในระดับปัจเจกและสังคม จึงนำมาสู่การริเริ่มโครงการ Women Made: Girl in STEM ในครั้งนี้ เพื่อเปิดมุมมองและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กผู้หญิงซึ่งอยู่ในวัยค้นหาตัวเองเพื่อเลือกเส้นทางการศึกษาต่อไป

ภวิษย์พร เจียรประเสริฐ

นางสาวภวิษย์พร เจียรประเสริฐ ผู้จัดการอาวุโส บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะตัวแทนผู้บริหารหญิงภายใต้เครือ Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า การสร้างเครือข่ายสนับสนุนผู้หญิงมีความสำคัญมาก เนื่องจากสังคมไทยเรายังขาดคนต้นแบบ (Role Model) ที่จะมาช่วยชะล้างภาพจำในอดีตว่าอาชีพนี้เหมาะกับผู้หญิงหรือผู้ชาย เพราะไม่ว่าเพศใดก็มีสิทธิที่จะค้นหาความก้าวหน้าทางอาชีพในแบบที่ตัวเองต้องการ ในฐานะผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งทำงานอยู่ในบริษัทเทคโนโลยี เชื่อว่าสิ่งสำคัญคือเราจะต้องมีวิธีคิด (Mindset) ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและพากเพียรที่จะพัฒนาตัวเองไปสู่จุดหมาย ในขณะเดียวกันก็จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนให้สังคมและโลกของการทำงานเป็นพื้นที่ที่เป็นมิตรกับทุก ๆ คนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม

ฤทัย จงสฤษดิ์

นางฤทัย จงสฤษดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “STEM Education จะช่วยเตรียมเด็กและเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญของประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล และที่สำคัญคุณครูมีบทบาทในการแนะแนวอาชีพที่ต้องการทักษะ STEM และเปลี่ยนการเรียนรู้ให้เป็นแบบบูรณาการ แสดงให้เห็นว่า STEM เชื่อมโยงกันในการแก้ปัญหาจริง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงการสะเต็ม การใช้เทคโนโลยีในการสอน และกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจตลอดจนพัฒนาทักษะสำคัญสำหรับเด็ก

ภายในงานยังมี “เวทีเสวนา” แบ่งปันประสบการณ์จริงจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพ STEM นำโดย ปริพรรษ ไพรัตน์ วิศวกรฝ่ายพัฒนาและสร้างดาวเทียมแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จักรพงศ์ พุ่มไพจิตร เจ้าของเพจ ‘ท็อฟฟี่ เป็นตุ๊ดซ่อมคอม’ และภวิษย์พร เจียรประเสริฐ ผู้จัดการอาวุโส บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด

รวมถึง กิจกรรม “ห้องสมุดมนุษย์” (Human Library) ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับคนทำงานจริงในแวดวง STEM รวม 9 อาชีพ ได้แก่ โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล วิศวกรด้านความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ นักวิจัยนาโนเทคโนโลยี วิศวกรเสียง นักนิติวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์เภสัชวิทยาภูมิคุ้มกัน วิศวกรการบินและอวกาศ และนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เพื่อทำความรู้จักกับการทำงานในแต่ละสายอาชีพ ทั้งเส้นทางการศึกษา แนวทางการทำงาน และทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ

นอกจากกิจกรรมสำหรับนักเรียนแล้ว ภายในงานยังมี “กิจกรรมให้ความรู้และเวิร์กช้อปสำหรับคุณครู” เพื่อแนะแนวทางการสอน STEM ในโรงเรียน และการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในโรงเรียนที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กผู้หญิงมีมุมมองด้านโอ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปักหมุด แชร์ข้อมูล สร้าง'เมืองใจดี'

เป็นคำถามที่ค้างคาและสงสัยอยู่ในสังคมมาตลอด ที่จอดรถ ทางลาด ห้องน้ำ ทางลาดเลื่อน ลิฟต์ของคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา รวมไปถึงคนที่มีข้อจำกัดด้านการเดินทาง ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล  โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ