'ส.ว.สมชาย' คาดกฎหมายลูกเสร็จทันเลือกตั้ง เชื่อนายกฯไม่ยุบสภาฯ อยู่ยาวประชุมเอเปก

ส.ว.สมชาย ชี้ต้องแก้กม.ลูกเลือกตั้งส.ส. ที่เหลือ ให้สอดรับสูตร 500 หาร ป้องกัน 26-27 ก.ค. ประชุมรัฐสภาวุ่น ระบุมีสมาชิกเข้าใจผิดต้องส่งกม.ลูกให้ศาลรธน.อัตโนมัติ เผยความจริงส่งแค่กกต.ก็พอแล้ว ฝ่ายเห็นต่างยื่นศาลวินิจฉัยก่อนนายกฯนำขึ้นทูลเกล้าฯได้

14 ก.ค.2565 - นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่..) พ.ศ... รัฐสภา ให้สัมภาษณ์ว่า ภายหลังจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา ลงมติให้คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ที่เสนอให้ใช้สูตร 500 หาร เป็นวิธีคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นฝ่ายชนะ นั้น จากนี้จะต้องแก้มาตราตกกระทบที่เหลืออยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้ขัดแย้งกันเอง ซึ่งตนก็ได้บอกอย่างไม่เป็นทางการในกลุ่มไลน์กรรมาธิการฯว่าน่าจะจัดประชุมเรื่องนี้ก่อนที่จะถึงวันประชุมร่วมรัฐสภา ระหว่างวันที่ 26-27 ก.ค. ไม่เช่นนั้นจะเกิดความยุ่งที่จะต้องมาพักการประชุม และกรรมาธิการฯต้องเรียกประชุมเพื่อแก้ไขร่างกฎหมายเหมือนกับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติ และร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ... ที่ผ่านมาที่เสียงข้างน้อยชนะ ทำให้ต้องพักการประชุมไปหลายสัปดาห์ เพื่อแก้ไขกฎหมายให้สอดรับกัน แต่ดูเหมือนกรรมาธิการฯที่อยู่ในไลน์นั้นไม่เห็นด้วย

ดังนั้นทางออกคือต้องปล่อยให้เกิดการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 26-27 ก.ค. และที่ประชุมร่วมรัฐสภาก็ต้องสะท้อนปัญหานี้ว่า เมื่อกรรมาธิการเสียงข้างน้อยชนะในการแก้ไขมาตรา 23 ของร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. แล้ว มาตราต่อเนื่องจะแก้ไขอย่างไร เพื่อไม่ให้กฎหมายขัดกันเอง ตนเข้าใจว่าฝ่ายเสียงข้างน้อยต้องไปยกร่างปรับปรุงมา และที่ประชุมรัฐสภาก็ต้องพักการประชุมเพื่อให้กรรมาธิการไปเรียกประชุมในวันนั้นเพื่อปรับปรุงร่าง ส่วนจะเป็นเสียงข้างมากหรือข้างน้อยก็ต้องมาโหวตกันในที่ประชุมรัฐสภาต่อไป

นายสมชาย กล่าวต่อว่า มีสมาชิกรัฐสภาบางคนอภิปรายทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้เมื่อแก้เสร็จต้องส่งไปศาลรัฐธรรมนูญอัตโนมัตินั้น ไม่เป็นความจริง เพราะตามขั้นตอนคือเมื่อเกี่ยวข้องกับองค์กรใดก็ส่งให้องค์กรนั้นพิจารณา โดยกฎหมายลูกเลือกตั้งส.ส. ต้องส่งให้กกต. เมื่อพิจารณาว่าขัดรัฐธรรมนูญ กกต.ก็ต้องแย้งกลับมาที่รัฐสภา เพื่อดำเนินการปรับแก้ ถ้ารัฐสภาไม่ปรับแก้ก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างสององค์กร ตรงนี้ก็จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้ากกต.ไม่แก้ไข เพราะเห็นว่าสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแล้ว กลุ่มที่เห็นต่างที่เป็นสมาชิกรัฐสภาสามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก่อนนายกฯนำขึ้นทูลเกล้าฯ 5 วัน ขณะเดียวกันหากกกต.แก้ไขให้รัฐสภากลับมาใช้หาร 100 กลุ่มที่เห็นด้วยกับการหาร 500 ก็ยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน ท้ายสุดไม่ได้เป็นการไปศาลรัฐธรรมนูญอัตโนมัติ แต่เป็นการใช้ข้อบังคับรัฐสภาในการยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามว่า ดูแล้วกฎหมายเลือกตั้งฉบับนี้จะทันใช้กับการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนคิดว่าทัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาฯจะอยู่ครบวาระหรือไม่ แต่หากเกิดอุบัติเหตุภายหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจปลายเดือนนี้ นายกฯประกาศยุบสภาก็ไม่ทันใช้ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น แต่ตนเชื่อว่านายกฯจะไม่ยุบสภา เพราะมีภารกิจสำคัญคือการต้อนรับผู้นำประเทศต่างๆ ในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคที่จะมีขึ้นในกลางเดือนพ.ย.นี้ เชื่อว่าสภาฯจะอยู่ไปได้จนถึงพ.ย. หรือเลยไปถึงต้นปีหน้า หากรัฐสภาร่วมมือช่วยกันให้กฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งสองฉบับผ่านการพิจารณาก็จะใช้ทันการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่ถ้าเราไม่ร่วมมือกันและขัดกันเองด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ ตนเห็นว่าแม้ยุบสภาฯและไม่มีกฎหมายสองฉบับนี้ก็ยังมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อปี 2532 และ 2538 เคยเกิดเหตุการณ์ไม่มีพ.ร.บ.เลือกตั้ง ทำให้ต้องใช้พ.ร.ก. อาศัยความตามประเพณีได้ เมื่อจะมีการเลือกตั้งหน่วยที่จัดการเลือกตั้งต้องมีกฎหมายใช้ ดังนั้นฝ่ายบริหารสามารถออกพ.ร.ก.ให้มีการประกาศใช้สำหรับกกต.ในฐานะที่จัดการเลือกตั้งได้มีวิธีปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างที่จะไม่มีกฎหมายใช้

ถามต่อว่า การที่ฝ่ายบริหารออกพ.ร.ก.เอง ก็จะมีบางฝ่ายมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายบริหารเองเพื่อชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า นายสมชาย กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดา ใครเป็นฝ่ายค้านก็มองแบบนั้น ในที่สุดตนเชื่อว่าฝ่ายค้านและรัฐบาลปัจจุบันต้องการให้ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ให้สำเร็จลุล่วง ส่วนส.ว.ไม่มีส่วนได้เสีย แต่หากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นมาก็มีทางออก ส่วนพ.ร.ก.จะบอกว่าเอื้อหรือไม่เอื้อรัฐบาลก็กล่าวหากันได้ แต่รัฐบาลที่ออกพ.ร.ก. เพราะต้องมีความรับผิดชอบทางกฎหมายให้ทุกอย่างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และเป็นประเพณีปฏิบัติเพื่อให้กกต.ทำงานได้ ทุกอย่างมีระบบดุลกันอยู่แล้ว การกล่าวหาล้วนเป็นวาทกรรมทางการเมือง แต่ทางที่ดีทำร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ให้แล้วเสร็จดีกว่า เพราะทุกคนมีส่วนได้ส่วนเสีย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รัฐสภา' มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจรัฐสภา ปมจัดทำรธน.ฉบับใหม่

“รัฐสภา” มีมติส่งศาลรธน.ตีความอำนาจตัวเอง ปมแก้รธน.ฉบับใหม่ ด้าน“วันนอร์”แจงยิบ ยึดตาม”ชวน”เคยวินิจฉัยร่างของ”สมพงษ์”มาแล้ว ชี้เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาวินิจฉัยเพื่อไปต่อแล้วไม่ล้ม ไม่เสียของ

'ก้าวไกล' งดออกเสียงญัตติส่งศาลวินิจฉัยอำนาจรัฐสภา 'ชัยธวัช' ด่าศาลรธน.

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้

'อดิศร' ซัดแรงมีรัฐสภาไปทำพระแสงอะไร จะแก้รัฐธรรมนูญ ยังให้ศาลวินิจฉัยอำนาจประชาชน

นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แยกกันและถ่วงดุลกัน ไม่ใช่คล่อมเลน มีบางครั้งจะยื่นญัตติได้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นฝ่ายตุลาการ แต่เราฝ่ายนิติบัญญัติ เราคิดของเราเองได้

'เอกนัฏ' พร้อมหนุนญัตติเพื่อไทย ถามศาลรธน. บรรจุวาระแก้รธน. แต่ต้องไม่แตะหมวด 1,2

"เอกนัฏ" หนุนถามศาล รธน. แต่ขอเพื่อไทยวางหลักประกัน ไม่แตะหมวด 1-2 แก้รายมาตรา ป้องรัฐธรรมนูญ 60 ไม่ใช่ผลพลอย รปห. ชี้ หากแก้เกือบทั้งฉบับ จะเสียของดี

'รัฐสภา' ถกบรรจุวาระจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ 'ก้าวไกล' หนักใจยื่นดาบให้ศาลรธน.อีกแล้ว

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ของนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ

กกต.ย้ำไม่ได้เร่งยุบก้าวไกลแต่ส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ศาล รธน.แล้วตั้งแต่ 25 มี.ค.

กกต.แจง ส่งเอกสาร ยื่นยุบก้าวไกล เพิ่มเติมถึงศาลรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ส่วนคำร้องยุบภูมิใจไทยเป็นคนรับประเด็น