
'คำนูณ' งัดข้อกฎหมายให้ดู บอกอย่าเพิ่งตื่นหากพิจารณากฎหมายลูกไม่ทัน 15 ส.ค.นี้ เผยมาตรา 132(1) รัฐธรรมนูญระบุชัดให้ถือเอาร่างหลักในชั้น กมธ.ใช้แทนได้
04 ส.ค.2565 - นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ถ้าพ้น 15 สิงหา 2565 ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ พ.ร.ป.เลือกตั้งที่เป็นร่างหลักในการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ?” ระบุว่า ดูเหมือนขณะนี้จะมีความเชื่อกันว่าถ้ารัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม 2565 รัฐธรรมนูญกำหนดให้กลับไปใช้ ‘ร่างของคณะรัฐมนตรี’ ที่เสนอเข้ามา
ช้าก่อน มันไม่ใช่อย่างนั้นเสียทีเดียว
เพราะบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องคือมาตรา 132 (1) ไม่ได้เขียนไว้อย่างนี้ “….ให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน….. ถ้าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอตามมาตรา 131”
ไม่มีคำว่า ‘ร่างของคณะรัฐมนตรี’ เลยนะ มีแต่ ‘ร่างที่เสนอตามมาตรา 131’ เท่านั้น ทีนี้ ก็ต้องย้อนขึ้นไปดูมาตรา 131 ชัด ๆ
มาตรา 131 กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าสามารถเสนอได้ 2 ทาง คือ
(1) คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้โดยข้อเท็จจริง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้มีการเสนอเข้ามาทั้งหมดถึง 4 ร่าง แม้จะมีหลักการใกล้เคียงกัน แต่ในรายละเอียดปลีกย่อยย่อมมีความแตกต่างกัน
1.ร่างที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ตามข้อเสนอของ กกต.
2.ร่างที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย
3.ร่างที่เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐและพรรคร่วมรัฐบาล
4.ร่างที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล
ร่างที่ 1 เป็นร่างตามมาตรา 131 (1) ร่างที่ 2, 3 และ 4 เป็นร่างตามมาตรา 131 (2) โดยทั้ง 4 ร่างล้วนเป็น ‘ร่างที่เสนอตามมาตรา 131’ ตามความตอนท้ายในมาตรา 132 (1) ทั้งสิ้น
รัฐสภาพิจารณาทั้ง 4 ร่างพร้อมกันในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 และมีมติรับหลักการทั้ง 4 ร่าง
และแม้รัฐสภาจะมีมติให้ใช้ร่างที่ 1 เป็นร่างหลักในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการ แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในมาตรา 132 (1) กรณีรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วันแต่ประการใด
ถ้ารัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน แล้วที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา 132 (1) ว่าให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตาม ‘ร่างที่เสนอตามมาตรา 131’ จะเกิดคำถามใหญ่ขึ้นมาทันทีว่า…ในกรณีนี้คือร่างไหนใน 4 ร่าง ? ด้วยเหตุผลใด ?
เท่าที่สอบถามในประเด็นนี้ มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 101 เขียนรายละเอียดไว้แล้วว่าในกรณีนี้ให้ถือว่าร่างที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาคือร่างหลักในการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ (โปรดดูภาพประกอบ)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จ่อตั้งกรรมการสอบ 'ส.ต.ท.หญิง' ทารุณอดีตทหารรับใช้ โยงปมค้ามนุษย์ด้วย
จากกรณีที่สำนักข่าวกรองกอ.รมน.ภาค 4 (ส่วนหน้า) ได้มีคำสั่งให้พ้นจากหน้าที่ช่วยราชการของ ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม ตำแหน่ง ผบ.หมู่ กก.4 บก.ส.1 ช่วยราชการ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า กลับต้นสังกัดกองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.) หลังถูกอดีตทหารสาวแจ้งความดำเนินคดีทำร้ายร่างกาย
ตร.จ่อเอาผิดวินัย 'ส.ต.ท.หญิง' สังกัดสันติบาล อ้างเป็นเมีย ส.ว. ทารุณอดีตทหารรับใช้
จากกรณีนายกันต์ จอมพลัง นำผู้เสียหายเป็นอดีตทหารหญิงเข้าร้องทุกข์กับ พ.ต.อ.ธานินทร์ ฉัตรเจิญพงศ์ รอง ผบก.ภ.จว.ราชบุรี รักษาราชการแทน ผกก.เมืองราชบุรี ถูกภรรยาของสมาชิกวุฒิสภาชื่อดังข่มขู่ทำร้ายร่างกาย โดยการชอร์ตไฟฟ้า ใช้ไม้บรรทัดเหล็กสับหน้า ใช้ไม้ตีดั้งหักหัวแตก พร้อมเอาสเปรย์ฉีดใส่หัวแล้วจุดไฟ
‘คำนูณ’ ห่วงร่างกฎหมายป้องกันทรมานฯ วอนสภาผู้แทน/ภาคประชาชนชั่งน้ำหนัก เห็นด้วยกับร่างวุฒิสภา
'คำนูณ' เผยร่างกฎหมายป้องกันทรมานฯ ส่อแววแท้ง เหตุมีการแก้ไขในชั้นสภาสูง หากสภาล่างเห็นแย้งไม่เอาด้วยก็อาจจบ เพราะเวลาเหลือแค่ 7 เดือน
357 ท่านผู้ทรงเกียรติซวยแล้ว! ศรีสุวรรณยื่น ป.ป.ช.ฟันผิดจริยธรรมร้ายแรง
ศรีสุวรรณมาแล้ว ยื่นป.ป.ช. เอาผิดท่านผู้ทรงเกียรติ ส.ส.-ส.ว. 375 รายโดดร่มจนทำให้การประชุมภาล่ม ผิดจริยธรรมร้ายแรง
'ชวน' แจงเส้นตาย 19 ส.ค.สมาชิกร้องทักท้วง กม.พรรคการเมือง
'ชวน' แจ้ง กกต.ไม่ทักท้วงร่าง กม.พรรคการเมือง ระบุชะลอไว้ 3 วันถึง 9 ส.ค. เปิดทางสมาชิกยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญ
ส.ว. ไฟเขียว 'วรพจน์ วิศรุตพิชญ์' นั่งปธ.ศาลปกครองสูงสุด พร้อมเห็นชอบ 3 ตุลาการ
ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.)