'หมอระวี' ยื่นกม.นิรโทษกรรมแล้วหวังจบก่อนสิ้น ก.พ.2566

'หมอระวี' ยื่นแล้วร่างนิรโทษกรรม ย้ำไม่ยกเว้น 3 ข้อ โกง-มาตรา 112-คดีร้ายแรง หวังให้ผ่านก่อน 28 ก.พ.2566 ให้เวลา 10 เดือนรัฐมนตรียุติธรรมปล่อยผียกเข่ง

22 ธ.ค.2565 – นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ แถลงว่าได้ยื่นร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมสังคมสันติสุข พ.ศ. .... โดยมีหลักการคือ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการสร้างเสริมสังคมสันติสุขโดยให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน

นพ.ระวียังกล่าวถึงเหตุผลของร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา สังคมไทยเกิดการแตกแยกความคิดทางการเมือง แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างรุนแรง และกระจายไปทั่วประเทศ มีการชุมนุมทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลอย่างต่อเนื่องหลากหลายรูปแบบ ฝ่ายรัฐบาลได้ประกาศและบังคับใช้กฎหมายควบคุมการชุมนุมอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมและยุติการชุมนุมทางการเมือง ส่งผลให้การชุมนุมทางการเมืองของประชาชนเกิดการกระทำผิดต่อกฎหมายที่ภาครัฐประกาศและบังคับใช้อย่างเคร่งครัด ขาดการยืดหยุ่นจนเกินความจำเป็น บางครั้งก็มีการสลายการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่และประชาชนจำนวนมากเกิดการบาดเจ็บล้มตาย ผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ลงท้ายด้วยการจำคุกและชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง ก่อให้เกิดปัญหาที่ร้าวลึกปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อประเทศชาติทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและวัฒนธรรม

“การกระทำต่างๆ ของผู้ร่วมชุมนุมและประชาชน ล้วนแต่ได้กระทำไปเพื่อ แสดงออกทางความคิดเห็นทางการเมือง เพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาล ไม่ใช่แสดงออกเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ จึงสมควรให้มีการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนทุกกลุ่มที่ได้กระทำผิดจากการชุมนุมทางการเมืองและจากการแสดงออกทางการเมือง เพื่อเป็นการให้โอกาสกับประชาชนในการแสดงออกทางการเมือง เป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยเป็นการรักษาคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างเสริมสังคมสันติสุข ลดความขัดแย้งและสร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เพื่อให้สังคมไทยและประเทศชาติกลับมาสู่ความสงบสุข สมัครสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศให้มีความเจริญยั่งยืนต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

สำหรับพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อยกเว้น 3ประการคือ 1.ไม่นิรโทษกรรมคดีทุจริตคอร์รัปชัน 2.คดีมาตรา 112 และ 3.ความผิดอาญาที่รุนแรงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองคดีนิรโทษกรรม จำนวน 7 คน ภายใน 60 วันหลังจากที่พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่าน โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 10 เดือน หากผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรมผ่านไปแล้วกลับมาทำผิดอีกครั้ง ศาลยุติธรรมจะไม่มีการรอการลงอาญา หรือรอการลงโทษใดๆทั้งสิ้น คาดว่าจะมีการประสานกับ ส.ส.พรรคต่าง ๆ เพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ.นี้ให้พิจารณาได้ทันในสมัยการประชุมนี้ก่อนวันที่ 28 ก.พ.2566

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทวี' รับกลางสภา 'ทักษิณ' ได้คะแนนสุขภาพต่ำกว่าเกณฑ์หลุดพักโทษเล็กน้อย!

'ก้าวไกล' ตั้งกระทู้ถามสด จี้ถาม 'รมว.ยุติธรรม' ตอบคะแนนทดสอบ พร้อมชื่อหมอรับรองโรค “ทักษิณ” ด้าน 'ทวี' รับนักโทษเทวดาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้!

'เทพไท' ฟันธง อัยการสูงสุด จะมีคำสั่งไม่ฟ้อง 'ทักษิณ' คดีมาตรา 112

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์คลิปวีดีโอผ่านเฟซบุ๊ก เทพไท - คุยการเมือง ระบุว่า ฟันธง ทักษิณ ถูก2รอผล1

'เกณิกา' ยันรัฐบาลเอาจริงเดินหน้าปราบยาเสพติด!

'เกณิกา'เผยกระทรวงยุติธรรม เดินหน้าปราบปรามยาเสพติดตามนโยบายวาระแห่งชาติของรัฐบาล ชี้บูรณาการทุกภาคส่วน เป็นพลังสำคัญแก้ปัญหายาเสพติด