ดร.ณัฎฐ์ นักกฎหมายมหาชน ตามชำแหละ 'ซูเปอร์โพล'​

ส่องโพลเดือดไม่จบ “ดร.ณัฎฐ์ มือกฎหมายมหาชนคนดัง” จวกเละ “ซูเปอร์โพล” ผลโพลงานวิจัยสรุปค่าไม่ได้ กิ้งก่าเปลี่ยนสี ไม่ต่างจากปลาสองน้ำ ชี้นำการเมือง

25 เม.ย. 2566 -​ จากการกรณีการเปิดเผยผลโพลของสำนักซูเปอร์โพล ครั้งที่ 5 ข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่(ภูมิภาค) กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปี ขึ้นไป จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 53,094,778 คนทั่วประเทศ ด้วยเครื่องมือประเมินขั้นสุทธิ(Net Assessment) จำนวนตัวอย่าง 8,065 ตัวอย่าง ดำเนินการโครงการ ระหว่างวันที่ 19-22 เมษายน 2566 โดยผลโพลระบุว่า ก้าวไกล ความนิยมทิ้งห่างเพื่อไทย ฟันธงว่า ภท-ปชป.นำตั้งรัฐบาล โดยพรรคสองลุงหดเสียงไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์
.
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์ ดร.ณัฐวุฒิ. วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฎฐ์ มือกฎหมายมหาชนคนดัง ออกมาจวกยับซูเปอร์โพลว่า ก่อนอื่นตนไม่ได้ให้ราคาโพลเอกชนรายนี้ แต่เมื่อผู้สื่อข่าวมาถาม เห็นว่าเป็นประโยชน์สาธารณะ จะต้องให้ความเห็นทางวิชาการ อันเป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชน จะได้หูตาสว่าง ไม่ให้ผลโพลชี้นำ งานวิจัยทุกชนิดที่วัดค่าสถิติ อยู่ที่หลักวิทยาศาสตร์ล้วนๆ สามารถตรวจสอบบได้ ไม่ต่างจากหมอเดา ความเป็นอิสระทางวิชาการ เป็นส่วนหนึ่งด้วย หากนักวิจัยเห็นแก่อามิสสินจ้างหรือเก็บตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างเท่ากับค่าจ้าง จะทำให้ผลโพลนั้น บิดเบือน มีผลต่อน้ำหนักความน่าเชื่อถือของโพล สำนักฯ นั้นๆ แต่ในเมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดให้สิทธิเสรีภาพประชาชนเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่ ความอิสระในการเลือกตั้ง อยู่ที่มือพี่น้องประชาชน ไม่ได้อยู่ที่ผลโพล แม้กฎหมายไม่ได้ห้ามมิให้สำรวจความคิดเห็นประชาชน แต่สำนักโพลต่างจะจะต้องทำโพลแสดงความคิดเห็นของประชาชนโดยสุจริต หมายความว่า จะต้องเก็บตัวอย่างงานวิจัยและเผยแพ่ผลโพล อย่างตรงไปตรงมา ไม่ได้เห็นแก่อามิสสินจ้าง เพราะเหลืออีกสามสัปดาห์จะเลือกตั้ง สามาระตรวจสอบคำทำนายในระยะสั้น หากไม่ตรงกับการทำนาย พี่น้องประชาชนจะขาดความเชื่อมั่น มีกระทบต่อโพลอื่น เพราะผลโพล ในอดีตยังไม่เคยเห็นนักวิชการรายใด ออกมาโต้แย้งผลโพล วิธีการจัดทำโพล นอกจากตน หลังจากนั้น พี่น้องประชาชน ผู้สมัคร ส.ส.หรือพรรคการเมือง ต่างออกมาโวย เพราะเห็นว่า จัดทำโพลบิดเบือน ผลโพลชี้นำ ขัดต่อความเป็นจริง สำนักโพลต่างๆจะต้องให้เกียรติพี่น้องประชาชน ที่สำคัญจะต้องมีจริยธรรมในการวิจัย ให้ถามพี่น้องประชาชนว่า พี่น้องประชาชนคนใด ถูกสุ่มตัวอย่าง ให้แชร์ข่าวไปยังนายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพลล์ อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพลล์ และให้แชร์ข่าวไปให้ถึงคณะทำงานผู้จัดทำโพลของซูเปอร์โพล ให้ดูข้อกฎหมาย การจัดทำโพลโดยไม่สุจริต ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร อย่าทำเป็นกิ้งก่าเปลี่ยนสี หรือเป็นปลาสองน้ำ จะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือในผลโพล
.
ประเด็น ประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทย ซูเปอร์โพลระบุจำนวนตัวเลขประชากร อ้างฐานกรมการปกครอง กระทวงมหาดไทย ถึง 53 ล้านกว่าเสียง ทั้งๆที่ประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ ไม่รวมคนต่างด้าว นับถึงวันเลือกตั้ง(วันที 14 พ.ค. 2566) มีเพียง 52 ล้านกว่าคน แต่ซูเปอร์โพลเอาตัวเลขผีมาจากไหน เพิ่มขึ้นล้านกว่าคน การเก็บตัวอย่างภูมิภาค หมายถึง 76 จังหวัด โดยตัดกรุงเทพมหานครอออกไป 1 จังหวัด หรือตัดออกไป 33 เขตเลือกตั้ง เท่ากับเหลือพื้นที่ ขอบเขตพื้นที่งานวิจัยเพียง 367 เขตเลือกตั้ง โดยซูเปอร์โพลใช้สุ่มตัวอย่างเพียง 8,065 ตัวอย่าง เท่ากับหนึ่งพื้นที่ คุณเก็บตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เฉลี่ย 21.975 คน แล้วเศษค่าสถิติ 0.975 คืออะไร ถามในครั้งที่ผ่านยังตอบคำถามไม่ได้ หรือว่า คิดยังไม่ออก จะได้ช่วยตอบ เพราะค่าเฉลี่ยนี้มาจากฐานประชาชนเหมารวม ที่คิดตัวเลขไปเอง นั่งเทียนเขียน ประชากรในเขตพื้นที่แต่ละพื้นที่ หนึ่งแสนหกหมื่นกว่าคนต่อเขตเลือกตั้ง แต่คุณไปสุ่มตัวอย่างในนภูมิภาคเฉลี่ยนเขตละ 21 คน คุณไปถามหมู่บ้านอะไร ตำบลอะไร อำเภอทิพย์ จังหวัดนั่งเทียนหรือไม่ พี่น้องประชาชนคนไหนไปกรอกคำถามของซูเปอร์โพล ช่วยออกมาแสดงตัวด้วยจะได้นับหัว เพราะประชาชนทางบ้านฝากมาถามซูเปอร์โพล ว่า คุณไปสอบถามใคร เขตเลือกตั้งใด ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทั้งตำบล ทั้งอำเภอไม่เคยไปตอบคำถามซูเปอร์โพล หรือว่า เป็น “โพลลับ” โดยเฉพาะเขตเลือกตั้งในต่างจังหวัด แบ่งเป็นหลายอำเภอ แถมแยกย่อยเป็นตำบลอีก ในการสุ่มตัวอย่างงานวิจัย โดยเฉพาะวิจัยเชิงปริมาณ จะต้องเก็บตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างเพียงแค่หยิบมือ น้อยนิด เป็นข้อพิรุธความไม่สอดคล้องกับคะแนนนิยมแต่ละพื้นที่ ทำให้สรุปค่าผลวิจัยไม่ได้ ตรงนี้ ตนไม่ได้มีปัญหาอะไรกับโพลนี้นะ แต่พูดในเชิงวิชาการ การเผยแพร่โพลทำให้คะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองผิดไปจากความเป็นจริง น่าจะมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายเลือกตั้ง เพราะการบิดเบือนโดยไม่สุจริต เท่ากับเผยแพร่ผลโพลไม่ตรงต่อความเป็นจริง
.
หากพิจารณาถึงกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 72 เปิดช่องให้สำนักโพลต่างๆจัดทำ Poll ได้ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนภายใต้ หลักการ 3 ข้อ คือ (1) หลักเจตนาสุจริต (2)ไม่มีลักษณะการชี้นำและ (3)ต้องทำตามเงื่อนไขเรื่องการเผยแพร่โพล คือ ห้ามเผยแพร่โพลก่อนเลือกตั้ง 7 วัน รวมถึงก่อนเลือกตั้งล่วงหน้าด้วยและในระหว่างที่มีการเปิดหีบให้ลงคะแนน ส่วนการจัดทำโพลหน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือที่ประชาชนเรียกกันว่า exit poll ที่จะเปิดเผยข้อมูลได้ต่อเมื่อปิดหีบเลือกตั้งแล้ว หรือหมดเวลาเลือกตั้งแล้ว (หลังจากเวลา 17.00 น.เป็นต้นไปของวันที่ 14 พ.ค.2566) หาก ผู้ใดไม่ฝ่าฝืน จะมีโทษตามกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 157 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
แต่ปัญหาการสำรวจความคิดเห็นโดยมีเจตนาไม่สุจริต หรือโพลรับจ้าง เอาใจจากผู้สมัคร ส.ส.หรือพรรคการเมืองบางพรรค เพื่อชี้นำประชาชน เพื่อให้ประชนหลงผิดในค่านิยม สรุปค่าผลวิจัยหรือผลโพลผิดไปจากความเป็นจริง ไม่เป็นอิสระตามหลักวิชาการ อันส่อแสดงถึงเจตนาไม่สุจริต มีพฤติกรรมลักษณะเป็นการชี้นำประชาชนจูงใจผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครบางคน หรือพรรคการเมืองบางพรรค เป็นบทโทษหนักกว่ามาตรา 72 แห่งกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.คือ ตามความในมาตรา 73(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 มีบทลงโทษหนัก ตามมาตรา 159 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนดยี่สิบปี โดยให้ศาลจ่ายสินบนนำจับไม่เกินกึ่งหนึ่งจากจำนวนค่าปรับแก่ผู้แจ้งความนำจับด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โพลชี้ชัดเจน ประชาชน อยากเห็นนายกฯ ปฏิรูปตำรวจ

นายนพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ปรึกษามูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ และผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล เสนอผลการศึกษาเรื่อง ปฏิรูปตำรวจ กับ ศรัทธาจากประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวนทั้งสิ้น 1,597 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา

'ซูเปอร์โพล' การันตี 'ทักษิณ' เป็นผู้มีบารมี ปชช.วอนแก้ปากท้อง

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง จับกระแสโพล ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

ไทยเฉยมาแรง! ไม่ยึดติดขั้วการเมือง เทใจให้ตามทิศผลประโยชน์

เปิดผลโพลความต้องการของประชาชน ต้องการเดินหน้าเงินดิจิทัล หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาปากท้อง ขณะการเมือง ไม่ยิดติด พร้อมหนุนกลุ่มทำดี มีผลประโยชน์

'ซูเปอร์โพล' ชี้ประชาชนพอใจให้โอกาส 'เศรษฐา' บริหารประเทศให้อยู่ครบวาระ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ประเมินผลงานรัฐบาล 6 เดือน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป