สว.แนะ 'เศรษฐา' เร่งเคลียร์ตัวเองทุกข้อสงสัย

สว.แนะ”เศรษฐา”เร่งเคลียร์ตัวเองทุกข้อสงสัย ก่อนโหวตนายกฯบ่ายสาม ย้ำสภาสูงอยากให้ตั้งรัฐบาลสำเร็จโดยเร็ว

20 ส.ค. 2566 – นายอนุสิษฐ คุณากร สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงเรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรีของที่ประชุมร่วมรัฐสภา วันที่ 22 ส.ค.นี้ โดยเมื่อถามถึงว่าจะโหวตเห็นชอบให้นายเศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ทาง นายอนุสิษฐ กล่าวตอบว่า ก็อยู่ที่ข้อมูลในวันโหวตนายกฯ แต่หากข้อมูลชัดเจน ก็คงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร โดยการโหวตฯ คนที่ได้รับการเสนอชื่อ แม้ไม่จำเป็นต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมรัฐสภา แต่ที่สำคัญคือ หากมีคำถามเกิดขึ้นกับนายเศรษฐา แล้วตัวนายเศรษฐา ไม่ได้มาตอบ แล้วผลร้ายเกิดกับตัวนายเศรษฐา เขาก็ต้องรับผลนั้นไป แต่หากมีคำถาม แล้วผลร้ายไม่เกิดขึ้น โดยที่ส.ส.ของพรรคที่เสนอชื่อ (พรรคเพื่อไทย)ได้ช่วยกันชี้แจงแทนในที่ประชุม มันก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งก็คิดว่าทางนั้น เขาก็ต้องเตรียมมา เพราะหากมีคำถามแล้ว ไม่มีการชี้แจงใดๆ เลย แล้วจะให้สว.250 คน มาอภิปรายออกความคิดเห็นฝ่ายเดียว มันก็คงแปลกๆ

ถามถึงว่าความคิดเห็นส่วนตัว เรื่องภูมิหลังการทำธุรกิจ เรื่องความโปร่งใสต่างๆ มีผลต่อการโหวตนายกฯหรือไม่ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้อยู่แล้วว่า คนที่จะมาเป็นนายกฯ จะต้องทำหน้าที่อย่างไร ต้องเป็นคนอย่างไร สามารถตรวจสอบได้แค่ไหน ส่วนตัวก็ยังอยากให้นายเศรษฐา มาที่รัฐสภาด้วยในวันโหวตนายกฯ เผื่อมีอะไร ก็จะได้ชี้แจง แต่เมื่อตามข่าวบอกว่า นายเศรษฐาไม่ต้องเข้ามาที่ห้องประชุมรัฐสภา ในตอนโหวตนายกฯ ทำให้ตนก็ไม่แน่ใจว่า หากสว.มีคำถาม แล้วตัวนายเศรษฐาไม่ได้มาตอบ จะทำให้ สว.คิดอย่างไร และประชาชนที่ติดตามการถ่ายทอดสดการประชุม ที่เขาติดตามอยู่เขาจะคิดอย่างไร เพราะหากมีคำอธิบาย ก็เป็นเรื่องที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้หลายคนได้เข้าใจ แต่ก็อาจเป็นไปได้ที่ นายเศรษฐา อาจจะแถลงในวันที่ 21 ส.ค.นี้ก่อนก็ได้ เราก็ต้องดูสถานการณ์

“ผมเชื่อว่าสว.เขาไม่ได้มีธงอะไร เพราะเขาก็อยากให้มีการตั้งรัฐบาล ให้ได้เร็วที่สุด แต่การโหวตเป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละคน ผมคงไม่สามารถไปตอบแทนสว.คนอื่นได้”นายอนุสิษฐ กล่าว

ถามถึงกรณี ที่พรรคเพื่อไทย พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลประกาศว่า หากตั้งรัฐบาลสำเร็จ ในการประชุมครม.นัดแรก จะมีมติให้มีการทำประชามติ ถามประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตรงนี้คิดเห็นอย่างไร นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ตรงนี้ก็เป็นข้อห่วงใย ซึ่งข้อห่วงใยของผม น่าจะเป็นข้อห่วงใยที่ไม่ได้มีแค่เฉพาะกับสว. แต่ทั้งนักธุรกิจ นักวิชาการ ข้าราชการ ประชาชน คนไทยทั่วไป ที่เขาก็อาจคิดว่า หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วการแก้ไขนั้นจะไปในทิศทางไหน เพราะรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ไม่ใช่เป็นกฎหมายของพรรคการเมือง ต้องตีประเด็นนี้ให้ถูก เมื่อเข้ามาทำหน้าที่แล้ว ฝ่ายการเมือง เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการรักษาชาติบ้านเมือง รักษาสถาบันหลักของชาติให้ดำรงอยู่ รวมถึงการรักษาดุลยภาพในภูมิภาค รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่เป็นเสาหลักของประเทศที่ประชาชนให้ความสำคัญ การเลือกเข้ามาหรือการจะตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือสสร. โดยให้มีการเลือกจากประชาชน โดยไม่มีผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจในบริบท ของการดูแลรักษาชาติบ้านเมือง การดูแลรักษาความมั่นคงของประเทศ มันก็จะกลายเป็นจุดอ่อน อันเป็นเรื่องที่ประชาชนคงเฝ้ามอง แต่เขาก็ได้แค่เฝ้ามอง เพราะเขาได้เลือกส.ส.เข้ามาแล้ว แต่เมื่อเลือกมาแล้ว อำนาจฝ่ายการเมือง อย่าคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของประเทศ เท่านั้นเอง แต่ต้องคิดว่าสิ่งที่ตัวเองจะทำ ต้องทำเพื่อรักษาชาติบ้านเมือง เอาความมั่นคงของรัฐเป็นตัวตั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลขาฯกกต. แจงแนวปฏิบัติเลือก สว. ผู้สมัครทำได้แค่แนะนำตัว ห้ามนักการเมืองช่วยเหลือ

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟสบุ๊คชี้แจงถึงการปฏิบัติตัวในการทำหน้าที่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเลือก สว.ว่าในส่วนของประชาชนไม่มีสิทธิเลือก สว.ตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ให้

'อนุทิน' สั่งลูกพรรคภูมิใจไทย ห้ามฝ่าฝืนระเบียบ กกต. การแนะนำตัวเลือก สว.

นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ออกหนังสือประกาศพรรคภูมิใจไทย เรื่อง ห้ามกระทำการโดยวิธีการใด ๆ ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ว่าขณะนี้ใกล้ครบวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งจะต้องมีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่

อดีตคณบดีนิติฯ มธ. ร้องศาลปกครองกลาง เพิกถอนระเบียบแนะนำตัว สว.

นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้ประสงค์จะลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา (สว.) พร้อมคณะ เข้ายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....