28 ต.ค.2566 - นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ให้ฉายาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับ "วิตกกังวล" เวลาเปลี่ยน จุดยืนเปลี่ยน
เมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นด้วยกับญัตติที่ สส. พรรคก้าวไกล เข้าชื่อกันเสนอเพื่อขอให้รัฐสภา ทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา มีมติเห็นด้วยกับการทำประชามติว่าประเทศไทยจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ แทนที่รัฐธรรมนูญ 2560 โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนหรือไม่
ผลปรากฏมติที่ประชุมเห็นด้วยกับญัตติ 162 เสียง ไม่เห็นด้วย 261 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง เป็นอันว่าช่องทางในการขอให้ทำประชามติโดยตั้งคำถามตามที่พรรคก้าวไกลเสนอ เป็นอันตกไปตั้งแต่ชั้นสภาผู้แทนราษฎร
สำหรับการทำประชามติเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น มีอีก 2 ช่องทางที่กำลังวิ่งอยู่ หนึ่งคือช่องทางผ่านคณะรัฐมนตรี ซึ่ง ครม. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาฯ ขึ้นมา สองคือช่องทางที่ภาคประชาชนเข้าชื่อกันมากว่า 200,000 ชื่อ ตั้งคำถามคล้ายกับที่พรรคก้าวไกลตั้ง ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจเอกสาร ก่อนจะเข้า ครม. ต่อไป
หากทุกท่านยังจำกันได้ ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ปลายสมัยของการประชุมสภาฯ ชุดที่แล้ว เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 มีการนำญัตติทำนองนี้เข้าไปเช่นเดียวกัน ครั้งนั้นพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยร่วมกันเสนอ คำถามประชามติคล้ายกันเลย แต่ปรากฏว่าผ่านฉลุย ทุกพรรคการเมืองยกมือให้หมด ก่อนจะไปตกที่ชั้นวุฒิสภา
ผมจึงตั้งคำถามตัวโตๆ ว่าทำไมรอบนี้ 25 ตุลาคม 2566 สส. ไม่โหวตให้ผ่านเหมือนเดิม ยังไม่พอ หลายพรรคการเมืองเอาไปหาเสียงด้วยว่าจะให้มีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย สสร. แต่ทำไมไม่แสดงจุดยืนให้ตรงกับนโยบายหาเสียง เสร็จแล้วก็ให้ไปตกในวุฒิสภาก็ยังได้
ในเมื่อพวกคุณพูดกันอยู่เสมอไม่ใช่หรือ ว่ายังไงก็ไปตกในชั้น สว. อยู่ดี เพราะวุฒิสภายังเป็นชุดเดิม เขาคงยืนยันแบบเดิมแน่ เช่นนั้น สส. ก็ยืนตัวตรงทะนงองอาจ เห็นชอบให้หมดเลย จะได้ยืนหลักเรื่องนี้ไว้ แต่กลับกลายเป็นว่า สส. ร่วมมือร่วมใจกัน 261 คนไม่เห็นด้วย นี่เป็นข้อสังเกตแรกที่น่าสนใจ
อาจตั้งสมมุติฐานได้ว่า 3 พฤศจิกายน 2565 เป็นช่วงท้ายของสภาชุดที่แล้ว อีกไม่นาน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยุบสภา ดังนั้นเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ สส. หรือ นักการเมืองจากทุกพรรค จะทำอะไรต้องคิดอ่านให้รอบคอบ ต้องระแวดระวังเข้าไว้ เพราะเดี๋ยวจะมีการเลือกตั้งใหญ่ ถ้าทำอะไรที่ประชาชนไม่พอใจ ประชาชนไม่เห็นด้วย เขาก็จดจำแล้วจะไม่เลือกพรรคคุณ
นี่เป็นที่มาว่าทำไม รอบนั้น สส. ยกมือเห็นด้วยหมด แล้วให้ไปตกที่ สว. ให้ สว. เป็นแพะ แต่พอตอนนี้ เลือกตั้งเสร็จหมาดๆ พรรคก้าวไกลยื่นญัตติเดิมเข้าไปอีก คราวนี้กลับตาลปัตร
ดังนั้น ไม่ใช่แค่เนื้อหาของญัตติเท่านั้นที่สำคัญ การที่แต่ละญัตติเข้าสภา แล้ว สส. จะลงมติแบบไหน จังหวะช่วงเวลาก็สำคัญไม่แพ้กัน
ตลอดประวัติศาสตร์ทำรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่เคยล็อกหมวด 1 หมวด 2
ในการประชุมวันนั้น มีหลายเรื่องที่ดีเบตถกเถียงกัน แต่สรุปได้เป็น 2 เรื่องใหญ่ๆ เรื่องแรก คือฝ่ายหนึ่งจะทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ อีกฝ่ายอยากให้ยกเว้นหมวด 1 (บททั่วไป) หมวด 2 (พระมหากษัตริย์) และเรื่องที่สอง ถกเถียงกันว่าท้ายที่สุดจะได้เลือกตั้ง สสร. ร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกคนหรือไม่ หรือจะสรรหาคัดสรรอย่างไร
ผมยืนยันก่อนว่าการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในอดีตของประเทศไทย ไม่เคยมีความกังวลใจที่จะต้องล็อกหมวด 1 หมวด 2 ไม่ว่าฉบับ 10 ธันวาคม 2475 จนถึงฉบับ 2489 หรือฉบับ 2534 มายังฉบับ 2540 แม้กระทั่งฉบับ 2549 ไปยังฉบับ 2550
แสดงให้เห็นในทางประประวัติศาสตร์ของไทย ว่าการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จากฉบับหนึ่งไปอีกฉบับหนึ่ง ไม่มีความจำเป็นต้องเว้นหมวด 1 หมวด 2 เวลาทำใหม่ก็คือทำใหม่ทั้งฉบับ
ยิ่งตามหลักวิชาการ การปรับปรุงแก้ไขหมวด 1 หมวด 2 เป็นสิ่งที่ทำได้ ในทางตัวบทรัฐธรรมนูญก็ทำได้ ขนาดรัฐธรรมนูญ 2560 ยังบอกในตัวเองเลยว่าการแก้ไขหมวด 1 หมวด 2 ทำได้ แต่ต้องไปจบด้วยประชามติ
ดังนั้น ข้อห้ามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเพียง 2 เรื่อง คือห้ามเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และห้ามเปลี่ยนรูปแบบของรัฐ จากรัฐเดี่ยวไปเป็นสหพันธรัฐ
ลองมาคิดดู ทำไมต้องกังวลล่วงหน้าขนาดนี้ สมมติเลือก สสร. กันมา เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สสร. จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน จะแก้หรือไม่แก้ เขาอาจจะไม่ยุ่งกับหมวด 1 หมวด 2 เลยก็ได้ ทำไมถึงกังวลใจไปล่วงหน้า ทั้งที่ในอดีตไม่เห็นกังวลใจเรื่องแบบนี้
ลองคิดดูว่า ถ้าเขียนล็อกไว้แล้วเกิดมีปัญหาในทางปฏิบัติ จะทำอย่างไร ถ้าจำกันได้ หลังจากทำประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ต่อมาช่วงก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ชัดเจนว่าจำเป็นต้องแก้ไขตัวร่าง 2560 อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับหมวดพระมหากษัตริย์และพระราชอำนาจ เพราะต้องการทำให้เป็นไปตามพระราชประสงค์
จึงต้องถามว่า ในเมื่อเราไม่ทราบอนาคตว่าจะเกิดเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นหรือไม่ หากไปล็อกหมวด 1 หมวด 2 เอาไว้ เกิดมีความจำเป็นต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไข เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับร่าง 2560 แล้วจะทำอย่างไร เราจะปิดประตูนี้ไว้ทำไม ยังไม่นับว่าการปิดประตูนั้น ไม่เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้องในทางวิชาการด้วย
เห็นทิศทาง ความเห็นที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับ สสร.
อีกคำถามหนึ่ง ย้อนไปก่อนผลการเลือกออกมา ทำไมตอนนั้นแต่ละคนแต่ละพรรค พูดจาเป็นทิศทางเดียวกัน บอกว่าทำรัฐธรรมนูญ ให้ทำโดย สสร. และต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่พอผ่านการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม แนวคิดนี้เริ่มเปลี่ยน
- สสร. ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนก็ได้
- สสร. ต้องแบ่งให้มีการสรรหาตามวิชาชีพมาด้วยก็ได้
- สสร. ต้องมีการสรรหาเชิงประเด็นมาด้วยก็ได้
ประเด็นนี้น่าสงสัยหรือไม่? ลองไปดูการออกรายการของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ที่มีคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ของก้าวไกล และคุณนิกร จำนง ในฐานะรองประธานคณะกรรมการศึกษาฯ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น คุณนิกรพูดไว้ชัดเจน ว่ามีความกังวลใจของคนบางกลุ่ม
ว่าหาก สสร. เลือกตั้งทั้งหมด เกิดคนที่เชียร์ก้าวไกลไปสนับสนุนคนกลุ่มนี้ให้เป็น สสร. เขาก็กังวลฐานเสียงของพรรคก้าวไกลที่ได้มาจากการเลือกตั้งกว่า 14 ล้านเสียง เลยกลายเป็นว่ากลัวพลังของการเลือกตั้ง เช่นนี้ สสร. อย่าไปเลือกตั้งให้หมดเลย เดี๋ยวฝั่งนั้นกวาดไปหมด
นี่คือทิศทางการเดิน เรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ของนักการเมืองหลายคนหลายพรรคในช่วงไม่ถึงปี เรื่องนี้น่าตั้งข้อสังเกต
ทำรัฐธรรมนูญแบบ ‘ตระหนกตกใจหวาดกลัวไปล่วงหน้า’
สุดท้ายผมมองว่าการทำรัฐธรรมนูญรอบนี้ เป็นการทำรัฐธรรมนูญแบบ ‘ตระหนกตกใจหวาดกลัวไปล่วงหน้า’
- กลัวล่วงหน้าไปก่อน ว่าถ้าให้ สสร. เลือกตั้งทั้งหมด เกิดได้คนที่มีวิธีคิดแบบไอ้พวกพรรคก้าวไกลเข้ามาหมด มันจะยุ่ง เพราะคะแนนเลือกตั้งของมันมี 14.4 ล้าน
- กลัวล่วงหน้าไปก่อน ว่าถ้าทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องมีการแก้ไขฉบับ 2560 เบื้องต้นก่อน ถ้าไม่ยอมลดเงื่อนไขต่างๆ ให้ท่าน สว. พอใจ เดี๋ยวมันไม่ผ่าน
- กลัวล่วงหน้าไปก่อน ว่าถ้าไม่ล็อกหมวด 1 หมวด 2 เกิด สสร. เข้ามาแล้วไปเขียนแก้ไข จะทำอย่างไร
อย่ากระนั้นเลย ก็ล็อกมันทุกชั้น ตั้งแต่ สสร. หมวด 1 หมวด 2 ตลอดจนบทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจ
กล่าวได้ว่า นี่เป็นรัฐธรรมนูญที่กว่าจะเริ่มต้นทำได้ คุณมีความกังวลตลอดเวลา ว่าเดี๋ยวสิ่งนั้นจะเกิด เดี๋ยวสิ่งนี้จะเกิด เลยทำให้การเดินหน้าทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องติดขัดอยู่ตลอดเวลา สภาพกระท่อนกระแท่น ทำให้การทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีข้อจำกัดเยอะมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อนุทิน' เมิน 'หมอเชิดชัย' เสนอยุบสภา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์กรณีน.พ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์
'สมคิด' เผย 'ทักษิณ' ไปอุบลฯ ให้กำลังใจผู้สมัครนายก อบจ. ไม่ขึ้นเวทีปราศรัย
นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ในฐานะอดีตสส.อุบลราชธานี เปิดเผยว่าการเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลราชธานี ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
สส.อัครนันท์ ขอบคุณรัฐบาลอิ๊งค์ แก้ไขปัญหาไฟฟ้า-น้ำประปา ให้พี่น้องปชช.
นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส.กาญจนบุรี เขต 1 พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าตามที่ครม.มีมติเมื่อ 8 ตุลาคม 67 ในการช่วยเหลือปร
ราชกิจจาฯ แพร่คำสั่งกระทรวงวัฒนธรรม ตั้ง 'อ๋อม สกาวใจ' เป็นที่ปรึกษารมว.วัฒนธรรม
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 191/2567 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
'ปิยบุตร' กังขาเพื่อไทย 'ยอมไปก่อน' เพื่อมีอำนาจแก้โครงสร้าง หรือ แก้ไขปัญหาตนเองกันแน่
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า คณะปัญญาชนผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย มักหยิบยกเหตุผลความจำเป็นว่า เราต้องยอม
'ปิยบุตร' อัดเพื่อไทย! ทำเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจการเมือง ช้าออกไปอีก 10-20 ปี
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่าแทนที่พรรคการเมืองจะรวมพลัง “ยึด” อำนาจการออกใบอนุญาตที่ 2 ของ