
14 พ.ย.2566 -ที่รัฐสภา นายคำนูณ สิทธิสมาน สว. ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะออกพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ว่า ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดทั้งหมด โดยเท่าที่ติดตามตนเองไม่ได้มีประเด็นขัดแย้งด้านหลักการ เพียงแต่เมื่อรัฐบาลจะออก พ.ร.บ. กู้เงิน จะมีความเป็นห่วงว่าจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะการกู้เงิน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 140 และพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 53 ระบุชัดเจนว่า การออกกฎหมายพิเศษกู้เงินนั้น จากกระทำได้เฉพาะกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้วิกฤติของประเทศ โดยไม่สามารถตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน หากเข้า 4 เงื่อนไข จึงจะสามารถออกกฎหมายพิเศษกู้เงินได้
เขากล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งจะเข้าสู่สภาฯ ในเดือนธ.ค. ดังนั้น เบื้องต้นการบรรจุเงินที่จะใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตลงไปในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ จะปลอดภัยกว่า และอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้ทัน ซึ่งการที่ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ 2567 ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา แล้วมาออกพ.ร.บ.กู้เงินอีก 5 แสนล้านบาท ตนเห็นว่าจะเป็นการเสี่ยงต่อการขัดต่อพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 53 ส่วนอีก 3 เงื่อนไข เรื่องความจำเป็นเร่งด่วน ถือเป็นปัญหาเช่นกัน เพราะหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินเร่งด่วน เหมือนรัฐบาลที่ผ่านมา ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ก็เลือกออกพระราชกำหนด แต่การออกพ.ร.บ.ต้องใช้เวลา 2 สภา กว่าจะผ่านกระบวนการต่างๆของสภาฯก็ใช้เวลาไม่น่าจะเร็วกว่า 6 เดือน และมองว่า โครงการดังกล่าวไม่ใช่โครงการที่ต้องใช้เงินอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการใช้เงินครั้งเดียวที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายคำนูญ กล่าวอีกว่า ส่วนจะเป็นการแก้ไขวิกฤตของประเทศหรือไม่นั้น ตนขอไม่ก้าวล่วง เพราะมีความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ที่แตกต่างกันออกเป็นสองทาง และความเห็นของรัฐบาลที่มองว่าจีดีพีประเทศโตต่ำเกินไปอย่างต่อเนื่อง และต่ำกว่าประเทศอื่นเมื่อเปรียบเทียบแล้วถือเป็นวิกฤติของประเทศ ตนก็เคารพความเห็นของรัฐบาล เพราะรัฐบาลได้รับการเลือกตั้งมา และเป็นนโยบายที่หาเสียงไว้ จึงมองว่าประเด็นนี้สามารถถกเถียงกันได้
สว.ผู้นี้ยังกล่าวว่า เมื่อเม.ย.ที่ผ่านมา รัฐบาลเคยชี้แจงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องที่มาของเงินสรุปโดยรวมว่า มาจากเงินงบประมาณ แต่ล่าสุดระบุว่าจะใช้เงินนอกงบประมาณด้วยการออกกฎหมายกู้เงิน ซึ่งหากเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนตัวก็ไม่มีความขัดข้อง แต่เป็นห่วงว่าจะไม่ตรงตามข้อกฎหมาย เพราะมองว่าการที่นายกรัฐมนตรี ระบุว่าเบื้องต้นจะขอความเห็นไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงต้องรอว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.)จะขอความเห็นไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาอย่างไร และคณะกรรมการกฤษฎีกาจะตอบอย่างไร รวมถึง ครม. จะมีมติเสนอร่างพ.ร.บ.ต่อรัฐสภาหรือไม่ จากนั้น ก็ต้องดูว่ามีลักษณะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
นายคำนูณ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 140 เป็นเรื่องใหม่ แตกต่างจากรัฐธรรมนูนฉบับก่อนที่เพิ่มการจ่ายเงินแผ่นดิน ตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐเข้ามาฉบับหนึ่ง ซึ่งกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐก็มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2561 ตามมาตรา 53 นี้ หากถามว่าออกกฎหมายกู้เงินได้หรือไม่ คำตอบคือได้ แต่เฉพาะกรณีคือเร่งด่วน ต่อเนื่อง แก้วิกฤต และตั้งงบไม่ทัน ซึ่งตนเห็นว่าข้อสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด เพราะขนาดนี้งบประมาณปี 2567 ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามในอดีตก็เคยมีปัญหาการใช้เงินนอกงบประมาณ เช่น โครงการไทยเข้มแข็ง สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ปี 2552 จนถึงพรรคเพื่อไทยในปี 2554 และ 2556 จึงเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญมาตรา 140 และกฎหมายวินัยการเงินการคลัง
เมื่อถามว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ถึงขั้นวิกฤตจนต้องออก พ.ร.บ.กู้เงินใช่หรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า เรื่องนี้เถียงกันได้ นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมองว่าขนาดนี้ยังไม่ใช่วิกฤติของประเทศ แต่รัฐบาลมองว่าการที่จีดีพีโตต่ำเป็นวิกฤต ดังนั้น ตนไม่อาจก้าวล่วงว่าใครถูกใครผิด แต่สิ่งที่เห็นว่าเป็นปัญหา คือ การเลือกแนวทางออก พ.ร.บ.กู้เงิน จะไม่เข้าตามมาตรา 53 ของพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ครบ 4 เงื่อนไข
ถามว่าหากรัฐบาลดึงดันออก พ.ร.บ.กู้เงินต่อไปจะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญและกฎหมายวินัยการเงินการคลังหรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า ไม่ขอใช้คำว่าดึงดัน แต่มองว่า เป็นเจตนาดีต่อประเทศ และขอให้เครดิตนายกรัฐมนตรีที่เลือกวิธีนี้ แต่วิธีนี้จะไปได้หรือไม่ คงต้องรอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล
นายคำนูณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมของกมธ.ฯ วันนี้ (14 พ.ย.) ไม่ได้มีการหารือเรื่องนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตโดยตรง แต่เป็นการพิจารณารายงานศึกษานโยบายประชานิยมในภาพรวมในเชิงวิชาการ แต่ในเรื่องนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ทางกมธ.ฯ ได้เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงแล้ว
ทั้งนี้ นายคำนูณ ยังกล่าวถึงบทลงโทษหากมีการกระทำผิดตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังด้วยว่า รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 245 บัญญัติขั้นตอนไว้ว่า ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ทำรายงานเสนอต่อ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หากคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเห็นด้วย ก็ให้จัดตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระสามหน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กกต. และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หากมีความเห็นสองในสามว่าเข้าข่ายกระทำผิด ก็ให้ส่งรายงานเสนอไปยังครม. สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา พร้อมเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งไม่ได้บอกให้ยกเลิก แต่เป็นกลไกตามรัฐธรมมนูญ ที่จะทำให้กฎหมายวินัยการเงินการคลังมีความศักดิ์สิทธิ์และปฏิบัติได้ เรื่องนี้จึงเป็นภาพยนตร์เรื่องยาวที่ต้องติดตามกันต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธณัชญ์พงศ์' สว.สำรองกลุ่ม 19 เสียบแทน 'สมชาย เล่งหลัก'
หลังศาลรัฐธรมนูญมีมติให้นายสมชาย เล่งหลัก พ้นสมาชิกภาพความเป็น สว.เหตุถูกศาลฏีกาพิพากษาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ทำให้ต้องเลื่อนบัญชีสำรอง สว.ขึ้นมาแทน คือ นายธณัชญ์พงศ์ วงศ์มุลาลี สว.สำรองลำดับที่ 1 กลุ่มที่ 19 กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ขึ้นมาเป็น สว.แทน
ศาลรธน. นัดชี้ชะตา 'สมชาย เล่งหลัก' พ้น สว.
ศาลรัฐธรรมนูญ เตรียมออกนั่งบัลลังค์ อ่านคำวินิจฉัย ในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่งเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของนายสมชาย เล่งหลัก สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 111 (4)ประกอบมาตรา 108 ข.ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 38 (5) หรือไม่
'เลขาฯกกต.' ยันคุมเลือก สว. ตามกฎหมาย จ่อเปิดสำนวนคำร้องทางแอปสมาร์ทโหวต
'แสวง' ยันทำหน้าที่คุมเลือก สว. ตามกฎหมาย ลั่นทำสำนวนไม่ล่าช้า อยู่ในกรอบ 1 ปี เล็งส่ง 60 สำนวนเข้า กกต. จ่อเปิดสำนวนคำร้องเลขาฯกกต. ทางแอปสมาร์ทโหวต
'สว.พันธุ์ใหม่' บี้สภาสูงเลื่อนโหวต 'ตุลาการศาลรธน.' จนกว่าจบ 'คดีฮั้ว'
'นันทนา' เรียกร้องชะลอลงมติ 'ตุลาการศาลรธน.' ออกไปก่อน จนกว่าปิดคดีฮั้วฮว. หวั่นส่งผลกระทบระยะยาว อาจส่งผลโมฆะ ด้าน 'ทนายอั๋น' ยก 3 ข้อห่วงใย ค้านโหวต 18 มี.ค.
'ฮั้ว สว.' ไหนเลยจะสู้ 'ฮั้ว 2 สี' คดีฟอกเงินแค่ตัวประกันการเมือง
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฮั้ว สว. หรือจะสู้ ฮั้ว 2 สี
กกต. ยกคำพิพากษา แจงปม 'โพยเลือก สว.' ยันชัดกฎหมายไม่ห้าม-ไม่ละเว้นหน้าที่
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกเอกสารข่าวเผยแพร่เนื้อหาของคำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษา