ปชป. แนะทางสว่าง! เตือนรัฐบาลหยุดยุ่มย่ามแบงก์ชาติ

ปชป. เตือนรัฐบาล รักษาระยะห่างหยุดยุ่มย่ามแบงก์ชาติ มัวแต่หมกมุ่นแจกเงินดิจิทัล แนะเร่งช่วยเหลือคนจน-กลุ่มเปราะบางก่อน ทำได้ทันทีใช้งบเพียง 2 แสนล้านบาท

9 ก.พ. 2567 – นายชนินทร์ รุ่งแสง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐบาบ เรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเศรษฐกิจนั้นว่า การลดดอกเบี้ยแค่ 25 สตางค์ ไม่ได้ช่วยอะไร และกว่าจะส่งผลเศรษฐกิจจริงๆ ก็ไม่ใช่ระยะสั้นประมาณ 1 ปี ถึงจะเห็นผลทางเศรษฐกิจ แต่ควรไปขอให้แบงก์ชาติดำเนินการเรื่องมาตรการ LTV (Loan-to- Ratio) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย” คือ เกณฑ์อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้านที่รัฐบาลกำหนดไว้ ซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องการกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำมาซื้อบ้าน “ถูกจำกัดวงเงินในการกู้ตามกำหนด”

“หากเราช่วยอสังหาริมทรัพย์ จะได้ผลผลิตทางเศรษฐกิจชัดเจนและเร็วกว่า ทำไมเรื่องแค่นี้ นายกฯ ที่มาจากภาคอสังหาริมทรัพย์แท้ๆ จึงไม่เข้าใจและไม่สนใจ ซึ่งที่สำคัญรัฐบาล คือ ฝ่ายการเมือง ควรรักษาระยะห่างการเข้าไปกดดันเกี่ยวพันกับแบงก์ชาติมากเกินไป จะทำให้ภาพความน่าเชื่อถือของแบงก์ชาติที่ต้องการความเป็นอิสระลดลง” นายชนินทร์ ระบุ

นอกจากนี้ นโยบายคลัง คือ กลไกสำคัญที่อยู่ในมือรัฐบาล เหมือนลูกบอลอยู่ในเท้า ทำไมไม่ใช้ จะต้องรอโครงการดิจิทัล วอลเล็ต อย่างเดียว ไม่มีแผนสองอยู่ในสมองบ้างเลยหรือ อย่างนี้จะดูแลประเทศ โดยเฉพาะปัญหาเฉพาะหน้าที่จะดูแลคนยากจน ที่รอการช่วยเหลืออยู่ได้อย่างไร

ขณะเดียวกัน ถ้าโครงการดิจิทัล วอลเล็ต ไปไม่ไหว ยังไม่มีกำหนดที่ชัดเจน รัฐบาลควรดูแลคนจน กลุ่มเปราะบาง จำนวนไม่ถึง 20 ล้านคน ให้มีเงินใช้จ่ายอยู่ในมือ ซึ่งทำได้ทันที และไม่ต้องกู้ เพราะใช้เงินประมาณ 2 แสนล้านบาท จบโครงการ โดยปัญหาเรื่องการบริโภคในประเทศ ไม่ได้มีปัญหารุนแรง เพราะว่ามีการเติบโตอยู่จากตัวเลขของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแบงก์ชาติก็โตอยู่ประมาณ 7-8 % แต่ที่มีปัญหา คือ การบริโภคใช้จ่ายของภาครัฐที่ลดลง ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทำได้อยู่แล้ว คือการไปเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ การลงทุน ให้รวดเร็ว แต่ต้องไม่รั่วไหล

อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อลดลงไม่ใช่เรื่องที่จะตีความว่า “เศรษฐกิจแย่”เพราะรู้กันอยู่ มาจากการเข้าไปอุดหนุนราคาพลังงานน้ำมันและไฟฟ้า ทำให้เงินเฟ้อผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ดังนั้น ช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศมีปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจก็มาก ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การลงทุน และการจ้างงาน โดยเฉพาะภาคบริการปรับตัวดีขึ้น แต่ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี โทษใครไม่ได้ นอกจากการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของรัฐบาลเอง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯอิ๊งค์ เสียงแข็ง! '7 งูเห่า' ไม่มีผลต่อรองเก้าอี้ คุยทักษิณแล้ว ยังไม่ปรับ ครม.

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังที่ประชุมสภามีมติไว้วางใจอย่างท่วมท้น ว่า ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจ ก็ดีใจ ตอนแรกก็ไม่แน่ใจว่าพิธีการเป็นอย่างไร เพราะเป็นครั้งแรกที่เข้าไป พอประธานสภาพูดจบเสียบบัตรปุ๊บเลขขึ้นเลย

อาจารย์ ม.ขอนแก่นให้อุ๊งอิ๊ง 3 เต็ม 10 ชี้อภิปรายตอกย้ำคดีทักษิณในอดีต

ม.ขอนแก่น ตัดเกรด 'อุ๊งอิ๊ง' สอบตกปมอภิปรายไม่ไว้วางใจตอบไม่เคลียร์ แถมยังถูกฝ่ายค้านเปิดแผลใหม่ ปมซื้อขายหุ้นPN ตอกย้ำคดีของทักษิณในอดีต

เปิดรายชื่องูเห่าฝ่ายค้านโหวตหนุนนายกฯ อิ๊งค์

เปิดผลลงมติ 'นายกฯ อิ๊งค์' ทำหน้าที่ต่อผ่านฉลุย พบงูเห่าฝ่ายค้าน 'ทสท. 5-พปชร. 1' ขณะ 'ปูอัด-กาญจนา' เปิดหน้าโหวตให้รัฐบาล ส่วน ปชป. งดออกเสียง 4 ด้าน 'เฉลิม' ไม่มา