'ธีรยุทธ' หอบคำวินิจฉัย 'ก้าวไกล' กัดเซาะบ่อนทำลายชง ป.ป.ช.

แฟ้มภาพ
 
23 ก.พ.2567 -  นายธีรยุทธ สุววรรณเกษร ทนายความ ผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ขณะนั้น และพรรค ก.ก.เสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมีการรณรงค์ใช้หาเสียงเลือกตั้ง โดยนำสำเนาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 คดีดังกล่าวฉบับเต็มที่รับรองโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมายื่นแก่ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อใช้ประกอบคำร้องที่ได้ยื่นเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ขอให้ตรวจสอบและเอาผิดจริยธรรมของนายพิธา และ 44 สส.พรรคก้าวไกลที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว 
 
นายธีรยุทธยังกล่าวว่า ในการยื่นสำเนาดังกล่าวได้สอบถามเจ้าหน้าที่และได้รับแจ้งว่า เป็นความเมตตาของประธาน ป.ป.ช.ที่จะรับเรื่อง และจะเร่งรีบรวบรวมพยานหลักฐาน โดยจัดตั้งเป็นคณะทำงานหรือคณะไต่สวนต่อไปเร็ว ๆ นี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่นาน ส่วนการดำเนินการกับ 44 สส. ที่ร่วมลงชื่อและขับเคลื่อนนั้น ขณะนี้กำลังรวบรวมหลักฐานและข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เบื้องต้นจะเตรียมการเรื่องคำชี้แจงของนายพิธาและนายชัยธวัช  ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกลที่ทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะขออนุญาตศาลคัดถ่ายคำให้การในชั้นไต่สวนพยานเปิดเผย ก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยเพื่อยื่นต่อคณะกรรมกาสรการเลือกตั้ง (กกต.) และ ป.ป.ช. เพื่อทั้ง 2 หน่วยจะมีคำสั่งเรียกนายพิธาและนายชัยธวัชเข้าชี้แจงข้อเท็จจริง โดยทั้ง 2 หน่วยงานสามารถใช้คำชี้แจงหรือคำให้การที่เคยให้ไว้ต่อศาลรัฐธรรมนูญมาประกอบการพิจารณาไต่สวนได้
 
นายธีรยุทธกล่าวว่า นอกจากการติดตามเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 แล้ว   ขณะนี้ยังติดตามความพยายามผลักดันความผิดตามมาตรา 112  ให้ไปอยู่ในกฎหมายนิรโทษกรรม เนื่องจากความผิดตามมาตรา 112 ไม่ใช่ความผิดในทำนองทางการเมือง แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครอง ซึ่งอยู่คนละหมวดกัน  เพราะศาลวินิจฉัยว่าการกระทำลักษณะ 112 ภายนอกสภา มีผู้รับทอดเข้ามาสู่สภา โดยผ่านกระบวนการซ่อนเร้น ใช้การเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าสู่สภาฯ
 
“การรณรงค์มาตรา 112 การตั้งม็อบ การตั้งขบวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น  เมื่อเจตนาต้องการทำลายการปกครองก็เท่ากับว่ามีเจตนาที่ไม่ดี มีเจตนาไม่ให้การเมืองมีอยู่  ดังนั้น การกล่าวอ้างว่าเป็นข้อขัดแย้งทางการเมือง ผมมองว่าไม่ใช่ เมื่อคุณทำลายการปกครอง ไม่ให้การเมืองมีอยู่ ข้อขัดแย้งก็ไม่มีอยู่ตามมาด้วย  แต่คณะนิติบัญญัติที่กำลังพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมในชั้นกรรมาธิการกำลังมองว่า การปกครองยังมีอยู่  ความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันในทางการเมืองก็เลยยังมีอยู่  หากประสงค์จะล้างความขัดแย้ง ปลดปล่อยความวิตกกังวลต่าง ๆ เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข ต่างกับคณะรณรงค์ 112 ผมจึงเห็นว่าหากได้บรรจุความผิดมาตรา 112 เข้าสู่กฎหมายนิรโทษกรรมจะตามไปดำเนินการบางอย่าง แต่ยังไม่ขอเปิดเผย”นายธีรยุทธกล่าว   
 
เมื่อถามว่า มองว่าการแก้มาตรา 112 โดยชอบ ตามที่ศาลวินิจฉัยเอาไว้ควรจะเป็นอย่างไร นายธีรยุทธ กล่าวว่า ยังเชื่อตามที่ศาลวินิจฉัยแล้ว ซึ่งไม่ได้ปิดประตูการแก้กฎหมาย แม้กระทั่งการแก้มาตรา 112 เพียงลักษณะที่พรรคก้าวไกลเสนอและประชาสัมพันธ์ไปยังสื่อสารมวลชน ใช้เป็นนโยบายหาเสียงมาตลอด ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นทำไม่ได้ เช่น การย้ายหมวด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พีระพันธุ์' ยันเป็นรัฐมนตรีพลังงานแต่ปัญหาหมักหมมมาก่อนนั่งเก้าอี้!

'พีระพันธุ์' ย้อน 'ศุภโชติ' ยัน เป็น 'รมว.พลังงาน' มีหน้าที่กำหนดภาษี แต่คลังเป็นคนเก็บ เหตุกฎหมายกองทุนฯ ตัดอำนาจออก ต้นตอรัฐบาลติดหนี้กว่าห้าหมื่นล้าน ชี้เป็นปัญหาหมักหมมตั้งแต่ก่อนรับตำแหน่ง

เด็กก้าวไกลข้องใจสภาสกัดกั้นปลาหมอคางดำทอด!

'ณัฐชา' เข็นปลาหมอคางดำทอดแจกนักข่าว ประชด 'พิเชษฐ์' ไม่ให้เก็บรีแอค สส.หลังชิม หวั่นตั้งกระทู้ด่วนเป็นหมัน ลั่นตายเป็นตายให้รู้กันไปว่าจะส่งต่อระบบนิเวศแบบนี้ให้คนรุ่นหลัง

เครือข่ายชานมฯ ร้อง กมธ.จี้รัฐบาลเร่งคว่ำบาตรเมียนมา

'เครือข่ายชานมฯ' ร้อง กมธ.ความมั่นคงฯ จี้รัฐบาลสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตร-การให้บริการทางการเงินกับเมียนมา ด้าน 'โรม' เผย 2 ส.ค.นี้ เตรียมบุกแบงก์ชาติขอความชัดเจน

'ศิริกัญญา' ลั่นคิดไว้แล้ว 3 รมต.คลัง แถลงดิจิทัลวอลเล็ต ไม่มีอะไรคืบหน้า

นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ให้สัมภาษณ์ภายหลัง นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง