‘พท.’ เขย่า ศาลรธน. ได้เวลาโละทิ้ง กลับไปใช้ระบบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

พท.เขย่าศาลรธน. ได้เวลาโละทิ้ง กลับไปใช้ระบบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ในช่วงยกร่างรธน.ฉบับใหม่ อัดเป็นใครมาจากไหน ไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชน แต่จะมาถอดถอนนายกฯ  

26 พ.ค.2567-นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ว่าที่ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่จะเข้ามาเป็นส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทยสมัยที่สองในสัปดาห์หน้าหลังเมื่อเมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช ได้ยื่นใบลาออกจาก สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ส่งผลให้ นพ.เชิดชัย ผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของเพื่อไทย คนถัดไป ได้ขยับขึ้นมาเป็นส.ส.แทน

นพ.เชิดชัย กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องกลุ่ม 40 สว.ที่ทำให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีตกเป็นผู้ถูกร้องว่า ระบอบประชาธิปไตย มีการแบ่งแยกอำนาจไว้สามโครงสร้าง(ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ-ตุลาการ) เป็นเรื่องสำคัญ บนหลักคือต้องไม่มีการก้าวก่ายกัน ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรมีอำนาจตัดสินนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ให้หลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ หากจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ ก็ควรแค่ว่านายกรัฐมนตรีทำผิดหรือไม่ผิดเช่น อาจบอกว่าทำไม่ถูก หรือทำไม่ถูกกฎหมายตรงไหนก็ว่าไป แต่ไม่ใช่มาตัดสินให้หลุดจากนายกฯได้

ว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยและอดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดง 17 จังหวัดภาคอีสาน -อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า การจะมาถอดถอนนายกฯ ต้องเป็นเรื่องของรัฐสภาทำกันเอง เพราะว่านายกฯ เป็นตัวแทนที่มาจากประชาชน ที่เลือกกันมาแทบตาย แล้วอยู่ๆ จะมาตัดสินเขาให้ต้องออกจากตำแหน่ง เหมือนอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แค่ย้ายคนๆเดียว(ถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสมช.) มันไม่ถูก อย่างสหรัฐอเมริกา หากประธานาธิบดี ทำอะไรไม่ถูกต้อง เขาก็ส่งเรื่องให้รัฐสภา ใช้ระบบอิมพีชเมนต์ (Impeachment)แต่ของเรามันประหลาด มาก้าวก่ายอะไรกัน หากจะบอกว่าสิ่งที่ทำมันขัดรธน. ก็บอกมาว่าขัดอย่างไร แต่จากนั้น ก็ให้เป็นเรื่องที่รัฐสภาจะว่ากัน เช่นให้ลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งหากไม่โดน ก็ทนอยู่กันไป วิจารณ์กันไป ก็มัวหมอง ก็เป็นเรื่องของระบบ แล้วพอมีการเลือกตั้งในครั้งต่อไป คนก็อาจไม่เลือกเข้ามาก็ได้

“แล้วจู่ๆ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นใครมาจากไหน ไม่ได้ผ่านมาจากประชาชนเลย เอาแต่เพียงอ้างว่า สว. เห็นชอบเลือกมา แบบนี้มันไม่ถูก ผมไม่เห็นด้วย ที่จะมาก้าวก่ายกันมาก ถ้าจะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรต้องมาคำนึงถึงเรื่อง การขยายขอบเขตของแต่ละอำนาจ ต่อไป หากสภาผู้แทนใหญ่สุด จะทำยังไง ละทีเนี่ย จะย้ายศาลยัง”

เมื่อถามว่า แบบนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ นพ.เชิดชัย-ว่าที่ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ก็ให้มีแบบ”คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ”แบบในอดีตก็ได้ เพราะเป็นเรื่องคดีการเมืองเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่มาให้เอานายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง ต้องเขียนเกณฑ์ให้ดี ๆ หรือไม่ ก็ไม่ต้องมีเลยก็ไม่เป็นไร ถูกไหมมันอยู่ที่เราเขียนมากกว่า(รัฐธรรมนูญ) อย่างที่เขียนว่าคำวินิจฉัยของศาลรธน.ให้ผูกพันทุกองค์กร ก็เคยมีการวินิจฉัยคดีหนึ่งว่าการชุมนุมฯ เป็นเรื่องที่ขัดรธน. แต่ต่อมา ศาลยุติธรรม ตัดสินออกมาอีกแบบหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่า มันไม่ครอบคลุม เพราะแม้จะให้คำวินิจฉัยผูกพันกับองค์กรอื่น แต่ของจริงเป็นแบบนี้ จะให้ทำอย่างไร ก็ขัดแย้งกัน ศาลยุติธรรม ก็ตัดสินของเขาไป ไม่ได้สนใจศาลรธน. เพราะศาลเขาต้องมีการสืบพยานอะไรต่างๆ และตัดสินกันถึงสามศาล

ถามอีกว่า หากมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้น ก็อาจถึงเวลาต้องมาคุยกันเรื่องนี้ นพ.เชิดชัย ตอบว่า “ใช่ คุยว่าจะให้มีหรือไม่ให้มี ถ้าจะให้มี แล้วจะให้มีขนาดไหน มีที่มากันอย่างไร หรือหากไม่มี แล้วจะส่งผลเสียอะไรหรือไม่ ซึ่งมันก็ไม่น่าจะเสียอะไร เพราะมันคานกันอยู่แล้วในระบบประชาธิปไตย”

ถามย้ำว่า ก็อาจให้กลับไปใช้ระบบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญแบบอดีต นพ.เชิดชัย ระบุว่า “ก็ยังดี เพราะก็มีตัวแทนจากฝ่ายการเมือง และทุกฝ่าย ก็ไปว่ากัน ไม่ใช่ศาลซึ่งมีเก้าคน แล้วมาตัดสินกันแบบนี้ ไม่ได้หรอก ประหลาด”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในอดีต ก่อนที่จะมีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้มี ศาลรัฐธรรมนูญ เดิมทีรัฐธรรมนูญในอดีต ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2489 จนถึงรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2534 กำหนดให้มี “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ที่เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่การวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ชุดสุดท้าย ก่อนจะมีศาลรัฐธรรมนูญแบบในปัจจุบัน  เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 ซึ่งกำหนดให้มี คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจำนวน 10 คน ประกอบด้วย ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์หรือสาขารัฐศาสตร์อีก 6 คน ซึ่งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งสภาละ 3 คน โดยประธานรัฐสภาเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง

อย่างไรก็ตาม ต่อมีการทำรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อปี 2549 โดยคมช.ที่ทำรัฐประหาร นายทักษิณ ชินวัตร และต่อมาคมช.มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 ให้ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน แต่ว่าทำหน้าที่ใช้อำนาจในฐานะศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ไม่ถือว่าเป็นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญแบบในอดีต ซึ่งช่วงดังกล่าว มีคดีสำคัญที่ผ่านการตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในปี 2549  คือการยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิ์การเลือกตั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยในช่วงดังกล่าว ในคดีจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อ 2 เมษายน 2549

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หนาวแน่! ‘เรืองไกร’ ร้องศาล รธน. สอบ ‘พิธา’ เข้าข่ายละเมิดอำนาจศาลหรือไม่

ได้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กรณีโพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2567 และวันต่อมา ว่าเข้าข่ายฐานเป็นผู้ใดที่กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งศาล

นายกฯ เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Aviation Hub

นายกฯ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Aviation Hub ขอบคุณการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อมั่นหลังขยายสิทธิการบินไทย-อินเดีย เพิ่มที่นั่งบนเครื่องบินระหว่างกัน 7,000 ที่นั่ง/สัปดาห์ จะส่งเสริมการเดินทางและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ

ลับมีด! 34 สส.ไล่ชำแหละ ล็อกเป้า ดิจิทัลวอลเล็ต-งบกองทัพ

ฝ่ายค้าน เตรียมไล่อัดรัฐบาล ศึกอภิปรายงบ 68 หลังได้เวลา 20 ชม. “ก้าวไกล”จัดทัพใหญ่ 34 ส.ส.รอชำแหละ ล็อกเป้ากระชวก ดิจิทัลวอลเล็ต-งบกองทัพ

‘สรรเพชญ’ ซัดรัฐบาลกู้เงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หวั่นก่อหนี้ก้อนใหญ่ในอนาคต

รัฐบาลชุดนี้มีอำนาจในการจัดสรรงบประมาณแทบจะ 100% สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการจัดสรรงบประมาณในปี 2568 ที่มีการตั้งวงเงินกว่า 3.7 ล้านล้านบาท คือเรื่องของการกู้ขาดดุล