“พนิต” ชี้ ” First Time Voter” พลังรุ่นใหม่ 7 แสนคนอย่ามองข้าม เชื่อตัดสินเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. แนะผู้สมัครต้องตอบโจทย์ 3 ข้อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเรื้อรัง- เข้าถึงง่าย -อย่าสร้างภาพ มั่นใจผู้ชนะ สะท้อนการเมืองใหญ่
6 ก.พ. 2565 – นายพนิต วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์ข้อความผ่านเพจ Panich Vikitsreth – พนิต วิกิตเศรษฐ์ เรื่อง “First time voter กทม. พวกเขาอยากได้ผู้ว่าฯกทม. แบบไหน? “ว่า อย่างที่ได้เคยเกริ่นไปในโพสต์ก่อนหน้านี้แล้วว่า คนรุ่นใหม่มีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น สำหรับคนที่เป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะต้องวางแนวทางการหาเสียง และกำหนดนโยบายต่าง ๆ ให้ตอบโจทย์ทั้งคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่าที่มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่กทม. เนื่องจากพวกเขาก็มีความต้องการที่เหมือนและต่างกัน
ทั้งนี้ ถ้ายังพอจำกันได้นี่เป็นเวลาเกือบ 10ปี แล้วที่คนกรุงไม่ได้เลือกผู้ว่าฯ
กทม.ไม่ได้เลือกผู้บริหารของพวกเขาเอง เป็นเวลาไม่น้อยที่ทำให้เกิดคนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิเลือกตั้งขึ้นมา ข้อมูลจากสื่อแห่งหนึ่ง ระบุว่าคนที่จะได้เลือกตั้งผู้ว่าเป็นครั้งแรกมีจำนวนรวมกว่า 700,000 คนเป็นกลุ่มคนที่เรียกว่า First Time Voter ที่มีอายุ 18-27 ปี
จากประชากรทั้งหมดที่มีสิทธิเลือกตั้งในกทม.ราว 4,479,208 คน ความน่าสนใจคือคนส่วนใหญ่ในกทม.เป็นคน Gen Y ที่มีอายุระหว่าง 28 – 40 ปี และ Baby Boomer วัย 60 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวนใกล้เคียงกันอย่างมาก จากข้อมูลตัวสถิติตัวเลขเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ทั้งที่มาในนามอิสระและพรรคการเมืองอย่างมาก
นายพนิต กล่าวต่อว่า แล้วคนรุ่นใหม่อยากได้ผู้ว่าฯกทม. แบบไหน จากประสบการณ์การทำงานและจากการที่ได้พูดคุยกับคนรุ่นใหม่มาบ้าง คิดว่าสิ่งที่พวกเขาตั้งความหวังไว้กับผู้ว่าฯกทม.คนใหม่น่าประกอบไปด้วย
1.มีนโยบายในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เรื้อรังมานานอย่างชัดเจน ปัญหาจำนวนมากของกทม. เป็นปัญหาที่มีมานานแล้วยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ เช่น ปัญหาค่าครองชีพ การจราจร ทางเท้า การขนส่งสาธารณะ น้ำท่วม ฯลฯ ปัญหาพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สิ่งที่คนรุ่นใหม่อยากเห็นคือการเสนอแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง ชัดเจน และมีการประเมิน วางแผนว่าปัญหาใดและแก้ไขได้ทันที ปัญหาใดต้องใช้เวลาแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
2.ผู้ว่าฯ กทม. ต้องเป็นคนที่เข้าถึงง่ายสำหรับคนทุกกลุ่ม และเป็นนักบริหารที่ทำงานคล่องพร้อมปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงเสมอ
3. การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ หาเสียงต่าง ๆ ของผู้สมัครไม่ควรเป็นการสร้างภาพในช่วงหาเสียงเท่านั้น เพราะในโลกที่ข้อมูลต่าง ๆ เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว คนรุ่นใหม่สามารเสิร์ชหาข้อมูลการทำงานที่ผ่านมาของผู้สมัครได้หมด พวกเขาจึงคาดหวังการทำงานจริงจัง และสื่อสารกับประชาชนอย่างจริงใจ และควรให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่ด้วยเช่นกัน เพื่อรับฟังปัญหาจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง
“ในห้วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองเช่นนี้สนามเลือกตั้งกทม. จึงเป็นที่น่าจับตามองยิ่งนักว่าทั้งผู้สมัครฯจะเลือกกำหนดยุทธศาสตร์การหาเสียง กำหนดนโยบายอย่างไร และผู้มีสิทธิเลือกตั้งช่วงวัยต่างๆ จะเลือกใคร เพราะสนามกทม.ก็อาจสะท้อนภาพการเมืองของประเทศได้ และแม้คนรุ่นใหม่อาจไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่ของกทม. แต่ก็เป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญที่มิอาจละเลยได้เช่นกัน” นายพนิต ระบุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผ่าแนวคิด 'จักรภพ' อนุรักษ์นิยมแบบใหม่ จะดึงมวลชน-คนรุ่นใหม่ ได้ขนาดไหน
ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่าปรากฎการณ์ที่มวลชน
ชาญชัย เผยหลักฐาน ดอนเมืองโทลเวย์ ทำผิดสัญญา ขึ้นค่าผ่านทางไม่ได้
ชาญชัย เผยหลักฐาน ดอนเมืองโทลเวย์ ทำผิดสัญญาตั้งแต่ปี 54 จะขึ้นค่าผ่านทางไม่ได้ เตรียมฟ้องศาลเอาผิดให้เป็นคดีตัวอย่าง
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เย้ย ไส้เดือนถูกขี้เถ้า จะยกเลิกม.112 พอถูกหาเป็นพวก BRN จะฟ้องร้อง
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีพรรคประชาชน(ปขน.) จะดำเนินคดีกับผู้ที่กล่าวหาว่าปชน.เกี่ยวข้องกับขบวนการบีอาร์เอ็น ว่า
'เอี่ยม' โวเพื่อไทยสุดประชาธิปไตย ให้เอกสิทธิ์ ส.ส. ตัดสินใจโหวตด้วยตัวเอง
อนุสรณ์ ย้ำ พท.ให้เอกสิทธิ์ ส.ส.โหวตข้อสังเกตร่าง กม.นิรโทษกรรม มั่นใจพรรคมีเสถียรภาพ