เรียนรู้และอยู่กับ PM 2.5 ให้ได้!

แม้ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ปัญหาฝุ่น PM2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (มีขนาดเล็กประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์) ได้กลายมาเป็นประเด็นใหญ่ในสังคมอีกครั้ง เพราะในการดีเบตหาเสียงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีการตั้งคำถามในประเด็นนี้เพื่อถามผู้สมัครทุกคนว่าจะมีแนวทางในการจัดการอย่างยั่งยืนอย่างไร เพราะแม้ว่าฝนจะเริ่มตกมาบ้างและทำให้ปัญหานี้บางเบาไปชั่วขณะ แต่เมื่อถึงช่วงต้นปีของทุกปี ปัญหานี้ก็จะวนกลับมาเป็นลูปทุกปีไป

ถามว่ามันน่าเบื่อหรือไม่ ทุกคนจะตอบว่าใช่ แต่ปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ทว่าเกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพียงแต่ความหนักหน่วงของปัญหานั้น ในกรุงเทพฯ จะหนักกว่าทุกพื้นที่ เนื่องจากมีความแออัดของจำนวนประชากรในระดับสูง พื้นที่สีเขียวน้อย และจำนวนรถยนต์ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักมีปริมาณที่สูงมาก (ปัจจุบันบ้านเรายังมีรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 3 ซึ่งมีค่ากำมะถันสูง ก่อให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ อยู่จำนวนมาก) จึงทำให้หัวข้อฝุ่น PM2.5 กลายเป็นที่สนใจของสาธารณชนอย่างเลี่ยงไม่ได้

แต่ในสมการการแก้ปัญหานี้ มนุษย์อย่างเราๆ ไม่ว่าจะเป็นคนเมืองหรือคนต่างจังหวัดก็ตามที มักจะตำหนิรัฐบาล รวมถึงผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นอยู่เสมอ เราลืมไปหรือไม่ว่า แท้จริงแล้ว พวกเรานั่นแหละที่เป็นคนร่วมกันก่อและสร้างปัญหาทั้งสิ้น เพียงแต่สาเหตุของปัญหาในแต่ละพื้นที่อาจจะต่างกันไป เช่น ในเขตเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ สภาพการจราจรที่แออัดผนวกกับการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่ไม่เสถียร และการก่อสร้างที่หนาแน่น เป็น 2 สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดในหลายพื้นที่ การเผาไร่อ้อย (รวมถึงการเผาจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง) หรือแม้กระทั่งไฟป่า ก็ล้วนซ้ำเติมปัญหาให้รุนแรงทั้งสิ้น

เท่ากับว่า ทุกครั้งที่เราพร่ำบนว่าสิ่งนู้นไม่ดี สิ่งนั้นทำให้เกิดปัญหา เรามักจะมองตัวเองเสมอว่า “เราในฐานะผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างปัญหาเหล่านี้ไม่มากก็น้อย” จะมีส่วนร่วมในแก้ปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง? เพื่อตัวเราเองล้วนๆ อย่างที่เราทราบกันดีว่า “ฝุ่น PM2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มันสามารถเดินทางผ่านทางเดินหายใจสู่ปอดและกระแสเลือดได้ง่าย เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น ยิ่งถ้าใครที่มีปัญหาภูมิแพ้อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่อยากจะสาธยายเลยเชียวว่าอาการจะหนักกว่าคนทั่วไปมากขนาดไหน”  

เราจะมีส่วนร่วมในแก้ปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง? ในเมื่อสาเหตุของฝุ่น PM2.5 มาจาก เช่น การก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ หรือการเผาไร่เลื่อนลอยจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงมหภาคที่คนตัวเล็กๆ อย่างเรายากจะสั่งการหรือจัดการปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหารอบตัวเล็กๆ เราสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด ทั้งยังเป็นการใช้พลังงานให้คุ้มค่าอีกด้วย (อย่าลืมว่าการใช้พลังงานที่ถูกต้องไม่ใช่การประหยัดจนเกินเหตุ หรือเลิกใช้พลังงาน หากแต่เป็นการใช้พลังงานให้คุ้มค่าและพอเหมาะพอดีต่างหากที่จะเป็นการประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืนและช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมไปในตัวด้วย)

อันดับแรก ในเมื่อรถยนต์คือสาเหตุหลัก อีกทั้งสภาวะการณ์ปัจจุบันที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นมาก การตรวจสภาพรถยนต์ส่วนบุคคลของเรา ทั้งระบบขับเคลื่อน หม้อน้ำ ระบบไฟ ยางรถยนต์ ฯลฯ  ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่น PM2.5 และยังช่วยประหยัดน้ำมัน

อันดับสอง ถ้ารถยนต์ของคุณใช้มานานเกิน 10 ปี และถึงเวลาที่ควรจะต้องเปลี่ยน ลองพิจารณารถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังจะเป็นยานยนต์แห่งอนาคตไว้เนิ่น ๆ เพราะรถยนต์ไฟฟ้านอกจากจะให้พลังงานที่สะอาดแล้ว ในส่วนของภาครัฐเองก็มีมาตรการสนับสนุนอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องราคาที่น่าสนใจ รวมถึง ปตท. ก็มีแนวทางรองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ โดยการเตรียมขยายสถานีบริการอัดประจุ on-ion EV Charging Station อีกกว่า 1,000 เครื่อง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศภายในปี 2565  นอกจากนี้ยังมีบริการติดตั้ง PTT EV Charger ในที่พักอาศัยให้อีกด้วย

แต่หากว่ายังไม่พร้อมเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า ก็อาจจะลองหาวิธีใช้รถยนต์ส่วนตัวร่วมกับรถสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า ที่สิ้นปีนี้จะเปิดดำเนินการอีกหลายสาย หรือที่ต่างประเทศเรียกระบบ ‘Parks and Rides’ จะช่วยเซฟค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไปได้มากทีเดียว

อันดับสาม เพิ่มที่สีเขียวในพื้นที่ส่วนตัวของเรา ถ้าอยู่บ้านมีบริเวณ หาไม้ใบขนาดกลางที่เหมาะกับสัดส่วนของพื้นที่มาปลูก ถ้าอยู่คอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ ไม้ใบขนาดเล็กมีให้เลือกมากมายตามเทรนด์ฮิตปลูกต้นไม้ที่มีมาตั้งแต่ช่วงโควิด-19

อันดับสี่ ส่งเสียงให้ผู้มีอำนาจได้ยินอยู่เรื่อย ๆ อย่างน้อยการที่ประชาชนติดตามอย่างสร้างสรรค์ จะเป็นสัญญาณเตือนไปยังภาครัฐว่า จะนิ่งดูดายกับปัญหานี้ไม่ได้

และสุดท้าย การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ไม่สามารถทำได้ในชั่วข้ามคืน แต่เราเรียนรู้ที่จะช่วยกันลดและต่อสู้กับมันจนกว่าปัญหาจะบางเบาไปได้อย่างแน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลุ่ม ปตท. ผนึกพลังจงรักภักดี จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันนี้ (25 กรกฎาคม 2567) - ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และพนักงานกลุ่ม ปตท.

‘เอนโก้’ ลั่นครบรอบ 20 ปี พร้อมลุยงานเต็มที่ตั้งเป้าดันกำไรโต

นายศิรศักดิ์ จันเทรมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด หรือ เอนโก้ เปิดเผยว่าในปีนี้ เอนโก้ ผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ปตท. ขอเชิญร่วมงาน “ลำนำนที วารีสมโภช” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

จัดเต็มกิจกรรมสุด Exclusive ณ สวนสันติชัยปราการ (ป้อมพระสุเมรุ) ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 26 – 28 กรกฎาคม 2567

ขอเชิญชวนเยาวชนและบุคคลทั่วไปร่วมส่งผลงานประเภทประติมากรรมสื่อผสมจากวัสดุเหลือใช้ ในหัวข้อ ‘ชลวิถี นทีพัฒน์’

ขอเชิญชวนเยาวชนและบุคคลทั่วไป อายุ 18 ปีขึ้นไป ร่วมส่งผลงานประเภทประติมากรรมสื่อผสมจากวัสดุเหลือใช้ เข้าประกวดในหัวข้อ ‘ชลวิถี นทีพัฒน์’

'จุลพันธ์' ยันไม่ให้เงิน 'กรมบัญชีกลาง 'เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 พร้อมหนุนเต็มที่

'จุลพันธ์' ยัน จะไม่ให้เงินของ กรมบัญชีกลาง เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 ย้ำ รัฐบาล' ให้ความสำคัญ คือการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือ บอก ไม่ต้องกังวลเรื่องงบขาดพร้อมสนับสนุนเต็มที่

ปตท. คว้าอันดับ 1 บริษัทชั้นนำในไทยและอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนิตยสารฟอร์จูน สะท้อนผลการดำเนินงานและความสำเร็จที่เป็นเลิศในระดับสากล

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า ปตท. ได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทชั้นนำอันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้