เทคโนโลยีขั้นสูงช่วยประหยัดพลังงานได้จริงหรือไม่?

มีคำถามสำคัญในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า บรรดาเทคโนโลยีขั้นสูงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บิ๊กดาต้า (Big Data) วิทยาการหุ่นยนต์ขั้นสูง (Advanced Robotics) บล็อกเชน (Blockchain) ฯลฯ เหล่านี้จะมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องการประหยัดพลังงาน หรือทำให้การใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากกว่าเดิม จนกลายเป็นที่ถกเถียงอยู่ไม่น้อย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทด้านพลังงานชั้นนำของประเทศไทย สานต่อภารกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศใน 3 มิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม พาท่านสำรวจและตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นว่า เทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้ ช่วยประหยัดพลังงานได้จริงหรือไม่ ถ้าช่วยได้ จะช่วยประหยัดพลังงานอย่างไร

เทคโนโลยีขั้นสูงถูกนำมาใช้กับพลังงานด้านใดบ้าง เครือข่ายไฟฟ้าเป็นตัวอย่างที่ดี แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า กริดไฟฟ้า หรือ Grid Electrical หรือที่มักจะเรียกสั้นๆ ว่า “กริด” เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันสำหรับการจ่ายไฟฟ้าจากผู้ผลิตต่างๆ ไปยังผู้บริโภค ประกอบไปด้วยสถานีผลิตพลังงานไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่นำส่งพลังงานจากแหล่งผลิตที่ห่างไกลให้กับศูนย์ที่ต้องการใช้ และสายกระจายแรงต่ำที่เชื่อมต่อลูกค้าแต่ละราย หรือแต่ละบ้านนั่นเอง

กริดเหล่านี้เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ซับซ้อน ฉะนั้น การควบคุมหรือต้องการการตัดสินใจอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จะต้องทำด้วยความรวดเร็วในแบบเรียลไทม์ ลองนึกถึงการใช้ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ที่มีการแบ่งเป็นเขตย่อยๆ จำนวนมาก ทันทีที่มีเหตุหม้อแปลงระเบิด (สำเพ็งก็เพิ่งเกิดเหตุไปเมื่อไม่นานมานี้) การควบคุมกริดจำนวนมากที่รวมกันเป็นข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้า จะต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ชั้นยอดที่ต่อมาพัฒนากลายเป็น AI ที่ใช้เพื่อการควบคุมแทนมนุษย์ AI ที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้จะควบคุมอัลกอริทึมของระบบกริด สามารถตอบสนอง วิเคราะห์ และจัดการกริดได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นประสิทธิภาพในการควบคุม ตัดระบบหรือโซนที่เกิดอุบัติเหตุ หรือควบคุมปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ส่งไปนั้น สามารถทำให้เราใช้พลังงานที่เหมาะสมได้

ในภาคพลังงานหมุนเวียน AI ยังสามารถวิเคราะห์ คาดการณ์การใช้พลังงาน และช่วยในการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ของแหล่งพลังงานหมุนเวียน เราจึงได้เห็นแอปพลิเคชันด้านพลังงานหลายๆ แอปที่สามารถช่วยคาดการณ์ปริมาณพลังงานของกริด กำหนดราคาและดำเนินการซื้อขายได้ตามเวลาโดยอัตโนมัติ นวัตกรรมอย่าง AI จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยลดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากทีเดียว

นอกจาก AI แล้ว วิทยาการหุ่นยนต์ขั้นสูง (Advanced Robotics) อาทิ โดรน ยังถูกนำมาใช้ในควบคุมพลังงานหมุนเวียนหลายประเภท ตัวอย่างที่ชัดเจนมากก็คือ การผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ที่ต้องอาศัยแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมาก และประสิทธิภาพสูงสุดจะเกิดขึ้นได้เมื่อแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมากเหล่านั้นอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม หุ่นยนต์ขั้นสูงจะเข้ามามีบทบาทในการปรับทิศทางอัตโนมัติเพื่อเพิ่มการแปลงพลังงานให้สูงสุด นอกจากนี้การทำงานอัตโนมัติ และการบำรุงรักษา (O&M) ที่ใช้หุ่นยนต์เป็นฐานรองรับการทำงานซ้ำๆ ที่เสี่ยงอันตรายจะช่วยปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานได้มากกว่าการใช้แรงงานมนุษย์ เราจึงได้พลังงานทดแทนที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

อีกหนึ่งเทคโนโลยีขั้นสูงที่ถูกนำมาใช้ในด้านพลังงานก็คือ การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เพื่อพัฒนาธุรกรรมที่เชื่อถือได้ในภาคพลังงานหมุนเวียน ตัวอย่างเช่น สัญญาอัจฉริยะที่ถูกนำมาใช้ในการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer-to-Peer ล่วงหน้า ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการวางแผนการผลิตพลังงานระยะยาว เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่พอเพียงและเหมาะสม

นอกจากนี้ บล็อกเชนยังถูกนำมาใช้ในการควบคุมความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ลองนึกถึงหนังซูเปอร์ฮีโร่ ที่วายร้ายพยายามแฮกระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อป่วนเมืองด้วยการทำให้ระบบไฟฟ้าในเมืองดับเพื่อก่อวินาศภัย) บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งใช้เพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกริด และมีการตรวจสอบด้วยการเข้ารหัสข้อมูลที่ซับซ้อน ทำให้การแฮกระบบทำได้ยากมากถึงมากที่สุด ที่สำคัญ บล็อกเชนยังช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางดิจิทัล โดยผู้ให้บริการพลังงานหมุนเวียนสามารถใช้บล็อกเชนเพื่อติดตามห่วงโซ่การดูแลวัสดุกริดในที่ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานที่กำกับดูแลสามารถเข้าถึงข้อมูล และควบคุมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่า “เทคโนโลยีขั้นสูง” หลายๆ เทคโนโลยี แม้จะไม่ได้เข้ามาช่วยในการประหยัดพลังงานโดยตรง แต่เราสามารถนำมาใช้ในการช่วยควบคุมการใช้พลังงานให้เหมาะสม ก่อให้เกิดการเตรียมวางแผนการผลิตพลังงานที่เพียงพอให้เราใช้ได้ตลอดไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปตท. รวมพลังคนเล็กเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน จัดพิธีมอบรางวัลหญ้าแฝก ลูกโลกสีเขียวยกย่องคนทำดี

บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.) จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 13 และ พิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 22

กลุ่ม ปตท. เร่งส่งมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อเนื่อง

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน ปล่อยรถบรรทุกถุงยังชีพไปยัง จ.เชียงราย

ทรูบิสิเนส ผนึกกำลังอินเทล ใช้เครือข่าย 5G ผสาน AI พัฒนาบริการสุขภาพ

ทรูบิสิเนส ผู้นำบริการสื่อสารและดิจิทัลโซลูชันครบวงจรสำหรับลูกค้าธุรกิจ ร่วมกับ อินเทล ผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ทรานสฟอร์มอุตสาหกรรมสาธารณสุขไทยสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ ดึงพลังเครือข่ายทรู 5G ผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำของอินเทล เปิดตัว 7 โซลูชันด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Healthcare) ครอบคลุมทั้งการวินิจฉัยและรักษา ฟื้นฟูดูแล และการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในประเทศไทย พลิกโฉมบริการสาธารณสุขไทยยุคใหม่

กลุ่ม ปตท. เร่งระดมกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัยพื้นที่ภาคเหนือ ส่งมอบถุงยังชีพกว่า 10,000 ถุง และสิ่งของจำเป็น บรรเทาทุกข์ในสถานการณ์วิกฤติประเทศ

วานนี้ 26 สิงหาคม 2567 - ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.)

GPSC ร่วมกับกลุ่ม ปตท. มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ จัดถุงยาสามัญ - น้ำดื่ม ส่งกำลังใจให้ประชาชนพ้นวิกฤต

นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และนางปริญดา มาอิ่มใจ (ที่ 4 จากขวา)

ปตท.ตั้ง 'เสกสกล' อดีตที่ปรึกษานายกฯสมัยรัฐบาลประยุทธ์ นั่งบอร์ด IRPC

นายเสกสกล อัตถาวงศ์ หรือ “แรมโบ้อีสาน” อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และอดีตรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้รับการเสนอชื่อจากบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ในฐานะ