ใครคือทายาท ผู้มีสิทธิ เมื่อลูกจ้างเสียชีวิต

รู้หรือไม่การทำงานมีความเสี่ยงต่อชีวิตและร่างกาย โดยเฉพาะบางอาชีพที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกลและเสี่ยงภัย หากลูกจ้างตายหรือสูญหายระหว่างการทำงาน จะได้รับสิทธิอย่างไร?

สูญหาย หมายความว่า การที่ลูกจ้างสูญหายไปในระหว่างการทำงาน หรือปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง หรือสูญหายไปในระหว่างการเดินทาง โดยพาหนะทางบก ทางอากาศ หรือทางน้ำ ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าพาหนะนั้นประสบอันตรายและลูกจ้างถึงแก่ความตาย

สิทธิเมื่อลูกจ้างตายหรือสูญหาย

ผู้มีสิทธิจะได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 10 ปี ผู้มีสิทธิ ได้แก่

- มารดา

- บิดาตามกฎหมาย

- สามีหรือภรรยาตามกฎหมาย

- บุตรอายุไม่ถึง 18 ปี

- บุตรที่ยังเรียนอยู่ไม่ถึงปริญญาตรี

- บุตรอายุ 18 ปีขึ้นไป และทุพพลภาพหรือจิตฟั่นเฟือน

- บุตรที่เกิดภายใน 310 วัน หลังจากลูกจ้างตายหรือสูญหาย

หากไม่มีบุคคลข้างต้น ให้ผู้อยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายเป็นผู้มีสิทธิ แต่อยู่ในอุปการะดังกล่าวจะต้องได้รับความเดือดร้อน เพราะขาดอุปการะจากลูกจ้างที่ตายหรือสูญหาย

นอกจากสิทธิประโยชน์ทดแทนที่ทายาทจะได้รับกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตแล้ว ยังมีเงินที่ทายาทสามารถเบิกเพิ่มเติมได้คือ เงินบำเหน็จชราภาพที่เก็บสะสมไว้และเงินสงเคราะห์กรณีตาย ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายให้กับผู้มีสิทธิรับผลประโยชน์ตามจำนวนและระยะเวลาการสมทบเงินประกันสังคมดังนี้

- ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุครบ 55 ปี และจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ผู้รับประโยชน์จะได้ประโยชน์ทดแทนแบบบำเหน็จชราภาพ เป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายไว้

- ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุครบ 55 ปี และจ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน ผู้รับประโยชน์จะได้ประโยชน์ทดแทนแบบบำเหน็จชราภาพ เป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายไว้

- ผู้ประกันตนเสียชีวิตภายในระยะเวลา 5 ปี หลังรับสิทธิบำนาญชราภาพ ผู้รับประโยชน์จะได้ประโยชน์ทดแทนเป็นเงิน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถตรวจสอบ หรือติดตามข่าวสารสำนักงานประกันสังคมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ได้ที่

- WEBSITE :  www.sso.go.th

-  Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

- Instagram: sso_1506

- Twitter: @sso1506

-  YouTube : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

- Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

- LINE : @SSOTHAI

- TikTok : @SSONEWS1506

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ สั่ง 'สปสช.-สปส.' ร่วมยกระดับหลักประกันสุขภาพ

นายกฯ สั่งการเดินหน้าบูรณาการการทำงาน สปสช.- สปส. ร่วมมือการทำงาน เริ่ม 1 เม.ย.2567 ยกระดับหลักประกันสุขภาพตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามกลุ่มช่วงอายุ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

รู้ยัง! ผู้ประกันตนมาตรา 33-39-40 ส่งเงินสมทบประกันสังคม นำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมสรรพกรเปิดให้ผู้มีรายได้ยื่นแบบแสดง

รมว. "พิพัฒน์" ดูแลแรงงานอิสระ รับจ้าง เกษตรกร กว่า 1.8 แสนคน จ.พัทลุง สร้างหลักประกัน ม.40 ประกันสังคม เจ็บป่วยนอนพัก ได้เงินทดแทนขาดรายได้

รมว. "พิพัฒน์" ลงพื้นที่ จ.พัทลุง พบเครือข่ายผู้ประกันตน ชูมาตรา 40 สร้างหลักประกันให้แรงงานนอกระบบ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ

"บุญสงค์" เลขาธิการ สปส. ห่วงใย ผู้ประกันตน เสียชีวิตเหตุพลุระเบิด สุพรรณบุรี มอบ ผู้ตรวจราชการกรม ตรวจสอบข้อมูลเร่งจ่ายสิทธิประโยชน์โดยเร็ว

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 เวลาประมาณ 15.30 น. เกิดเหตุพลุระเบิด ที่บ้านข่อยงาม ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

สุขใจวัยเกษียณ พร้อมรับเงินชราภาพ เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

สำนักงานประกันสังคม คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนในวัยเกษียณอายุ โดยผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย จะได้รับบำเหน็จชราภาพ รับเงินก้อนครั้งเดียว ส่วน