“ดร.นฤมล” ชี้ไทยขาดดุลแฝดร่วมแปดเดือนจุดเสี่ยงศก. แนะเร่งเพิ่มรายรับจากการท่องเที่ยว-สร้างความมั่นคงทางพลังงาน

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน โพสต์Facebook ส่วนตัวสะท้อนมุมมองว่า เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เคยบอกไว้ให้ติดตามและเฝ้าระวัง ภาวะ”ขาดดุลแฝด” คือ การขาดดุลการคลังและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในขณะเดียวกันไทยยังใช้นโยบายขาดดุลการคลัง ตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)งบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ. 2566 ที่กำหนดวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 695,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.88% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ( GDP) ส่วนตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัด ตั้งแต่มกราคมถึงสิงหาคม 2565 มีเดือนมีนาคมเพียงเดือนเดียวที่เกินดุล เดือนอื่นที่เหลือขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง

เมื่อเจาะดูดุลบัญชีเดินสะพัดรายเดือน พบสิ่งที่น่าสนใจว่า -ตั้งแต่มกราคม 2564 ถึงสิงหาคม 2565 ไทยขาดดุลบริการมาตลอดทุกเดือน ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่น้อยลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 -แต่ห้วงเวลาเดียวกัน ไทยยังเกินดุลการค้าทุกเดือนจนถึงมิถุนายน 2565 จนมาสองเดือนหลัง คือ เดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2565 ที่เริ่มเกิดการขาดดุลการค้า นั่นคือ มูลค่าจากการนำเข้าสินค้ามากว่ามูลค่าจากการส่งออกสินค้า ซึ่งหลักๆ เป็นผลมาจากการนำเข้าน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมมากกว่าการส่งออก และค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง

จึงเรียกได้ว่า ไทยเกิดภาวะขาดดุลแฝดต่อเนื่องมาหลายเดือน และภาพรวมทั้งปี 2565 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ประเมินไว้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุล 7,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 266,000 ล้านบาท คิดเป็น 1.5% ของ GDP แต่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.)นับถึง สิงหาคม 2565 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลสะสมไปแล้วถึง 1,275,165 ล้านบาท มากกว่าที่สภาพัฒน์คาดไปแล้วเกือบ 5 เท่า

การขาดดุลแฝด ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ไทย แต่เกิดขึ้นในหลายประเทศเช่นกัน เพราะภาวะการคลังติดลบเกือบหมด รัฐบาลต่างจำเป็นต้องอาศัยการกู้เป็นเครื่องจักรหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และยังมาเจอขาดดุลการค้าจากการนำเข้าน้ำมันประกอบกับสกุลเงินที่อ่อนค่าลงอย่างมากเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้อยู่ในภาวะขาดดุลแฝดนานไปย่อมไม่เป็นผลดี จำเป็นต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด และปรับนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ด้วยแนวทางลดการขาดดุลบริการ ตามที่รัฐบาลส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อเพิ่มรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น ส่วนแนวทางลดการขาดดุลการค้า เราควรต้องทบทวนและเอาจริงเอาจังกับแผนความมั่นคงทางพลังงานเพื่อลดสัดส่วนการพึ่งพิงการนำเข้าสินค้ากลุ่มพลังงาน

ขณะเดียวกัน นโยบายทางการคลังจากนี้ไปต้องรัดกุม หลีกเลี่ยงการกู้เงินนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณ ยิ่งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ต้องตั้งงบประมาณรองรับในอนาคตก็สูงตาม จึงควรพิจารณาทางเลือกแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น การร่วมทุนกับภาคเอกชน หรือ การระดมทุนด้วยกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กป้อม' ควงแกนนำ พปชร. ถ่ายภาพชุด 'ทรงอย่างเท่' ใช้โปรโมทหาเสียง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เดินทางเข้าที่ทำการพรรค เพื่อร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค โดยก่อนการประชุม พล.อ.ประวิตร และแกนนำพรรค

พปชร. วางตัวผู้สมัครส.ส.โคราช 16 เขต นัด 30 มีนา.เปิดตัวครบ 400 เขต

นายวิรัช รัตนเศรษฐ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรค พปชร. เปิดเผยว่าพรรคเตรียมที่จะประชุมสัมมนา เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครทั้ง 400

'นิพิฏฐ์' ปลุกล้มบ้านใหญ่ปักษ์ใต้ เปิดโอกาสลูกชาวบ้านบ้าง

บ้านใหญ่ มาพร้อมกับระบบอุปถัมภ์ ที่ใดประชาธิปไตยอ่อนแอ ที่นั่นระบบอุปถัมภ์จะแข็งแรง ประชาธิปไตย จึงมีหลักให้มนุษย์เป็น"เสรีชน"

“ศ.ดร.นฤมล”หนุนทุกฝ่ายร่วมดันแคมเปญ Go Nomad in Thailandสร้างเศรษฐกิจยั่งยืน

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน โพสต์ Facebook ส่วนตัวเปิดมุมมองถึงมูลค่าเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร( กทม.)

ฟันเปรี้ยง! จาก 'ยุบสภา' สู่ยุบพรรคและกลียุค

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า จากยุบสภาสู่การยุบพรรคและกลียุค!!!

‘บิ๊กป้อม’ อ้อนชาวเชียงใหม่ อยากให้ ปท.เป็นหนึ่งเดียวต้องเลือก พปชร.

‘ประวิตร’ ขึ้นเวทีปราศรัยเชียงใหม่ อ้อนอยากให้ประเทศเป็นหนึ่งเดียวต้องเลือก พปชร. ลั่นทุกนโยบายเป็นรัฐบาลแล้วจะทำทันที เมินไม่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกนายกฯในใจ ขอเดินหน้าต่อ