มช.เชิญร่วมสมทบทุนผ่าต้อกระจกเพื่อสุนัขยากไร้ โครงการ 29 ดวงตา คืนความสว่างให้ดวงตาสุนัข

ต้อกระจกเป็นโรคที่พบมากในสุนัขสูงอายุ โดยเฉพาะที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักมาจากความเสื่อมของเลนส์ตา เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น หรือรอยโรค เช่น โรคเบาหวาน กรรมพันธุ์ในสุนัขอายุน้อย รวมถึงการติดเชื้อหรือการอักเสบโน้มนำ สาเหตุอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุ ต้อกระจกหากทิ้งไว้นาน อาจก่อให้เกิดปัญหาโรคต้อหินหรือโรคม่านตาอักเสบแทรกซ้อน ทำให้ปวดตา ตาแดงและตาบอดได้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คลินิกโรคตา โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จึงได้จัดทำโครงการผ่าต้อกระจกให้กับสุนัขยากไร้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยสัตว์เลี้ยงที่เป็นต้อกระจกให้สามารถกลับมามองเห็นได้อีกครั้ง

สำหรับการรักษาต้อกระจกที่ได้ผลดีที่สุดคือการผ่าตัดเพื่อนำเอาเลนส์ที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์ตาเทียมให้กับสัตว์ป่วย ในปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคการผ่าตัดชั้นสูงที่ใช้เครื่องมือและเทคนิคในการผ่าตัดเช่นเดียวกับในการรักษาคน เพื่อความปลอดภัยของสุนัขระหว่างการผ่าตัดร่วมด้วย เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายในการรักษานั้นค่อนข้างสูง มีสุนัขยากไร้ที่เจ้าของไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ โครงการ 29 ดวงตา คืนความสว่างให้ดวงตาสุนัข โดยกองทุนสงเคราะห์สัตว์ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดระดมทุนรับบริจาค 25,000 บาท/ดวงตา

ผู้ที่มีความประสงค์สมทบทุนค่าผ่าตัดต้อกระจกให้แก่สุนัขยากไร้ในโครงการได้ที่ https://forms.gle/oLf1LaoE1e9EF4FF8 หรือโอนบริจาคผ่านบัญชี กองทุนสงเคราะห์สัตว์ในพระอุปถัมภ์ฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขบัญชี 667-400434–3 ทั้งนี้ การบริจาคจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

ขั้นตอนการคัดเลือกสุนัขเข้าร่วมโครงการ ดังนี้

  • สัตวแพทย์ประจำคลินิกตา โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ ตรวจคัดกรองสุนัขที่เป็นต้อกระจก แต่ขาดทุนทรัพย์ในการผ่าตัด เพื่อเข้าร่วมโครงการ
  • เจ้าของสุนัขที่ขอเข้าร่วมโครงการ กรอกแบบฟอร์มเพื่อให้กรรมการพิจารณา เข้าร่วมโครงการ โดยอ้างอิงตามเกณฑ์การพิจารณาของกองทุนสงเคราะห์สัตว์ ฯ
  • นัดหมายวัน และเวลาในการผ่าตัด
  • นัดหมายวัน และเวลาสำหรับการดูแลหลังผ่าตัด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก (www.vet.cmu.ac.th/AnimalFund) เพจเฟสบุ๊ก กองทุนสงเคราะห์สัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช. หรือโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 053 948 078 ในเวลา 8.30-16.30 ในวันจันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พลิกชีวิตชุมชนเชียงใหม่! พอช.-มช. ผนึกกำลังขับเคลื่อน ศูนย์เด็กเล็ก-คลองแม่ข่า สู่อนาคตที่เข้มแข็ง

เชียงใหม่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดประชุมหารือแนวทางสร้างความร่วมมือกันในขับเคลื่อน การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและพื้นที่ริมคลองแม่ข่า เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่

แพทย์ มช. ตอกย้ำความเป็นเลิศ คว้ารางวัล Thailand Quality Class Plus : Customer ยกระดับมาตรฐานองค์กรทัดเทียมระดับสากล

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่น ด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus : Customer) จากเวทีรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality

มช. นำ Big Data พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ร่วมบูรณาการ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ภายใต้ โครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคพลังงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของประเทศไทย

ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

คู่มือฉบับเร่งด่วนที่เจ้าของควรรู้ 'ไข้หวัดนก' ในแมว-สุนัข

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "31 รัฐในสหรัฐ เผชิญไข้หวัดนกในแมวและสุนัข

4 นักวิจัย มช. รับพระราชทานเกียรติบัตร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานThailand Research Expo 2024

นักวิจัย มช. เข้ารับพระราชทานเกียรติบัตร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567