รมว.เฮ้ง สั่ง สปส. เร่งหาข้อเท็จจริงจากญาติผู้เสียชีวิต กรณี หักหัวคิวเงินชดเชยต่างด้าว เหตุเรือระเบิดที่สมุทรสงคราม

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวจากเพจเฟสบุ๊คปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านเกี่ยวกับการเรียกหัวคิวพม่า 40% แลกเดินเรื่องเงินชดเชยแปดแสนบาทกรณีเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันระเบิดกลางแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 ที่ผ่านมานั้น ในเรื่องนี้ ทันทีที่ทราบข่าวท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานลงพื้นที่ไปสอบข้อเท็จจริงกับญาติของแรงงานที่เสียชีวิตด้วยตนเอง เพื่อสัมภาษณ์ข้อเท็จจริงหากพบข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รายใดมีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียกรับผลประโยชน์ตามข่าวจริง ก็จะถูกส่งดำเนินคดีให้ถึงที่สุด เพราะถ้ามีคนทำนาบนหลังคนเดือดร้อน จะต้องรับโทษตามกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น

นายบุญสงค์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของสำนักงานประกันสังคม ผมได้รับรายงานจากนางสาวชณิการ์ โกวะประดิษฐ์ ประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครว่า กรณีนี้สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ได้ดำเนินการจ่ายเงินค่าทำศพให้กับญาติที่มีชื่ออยู่ในหลักฐานการจัดการศพทั้ง 7 รายๆ ละ 50,000 บาท เรียบร้อยแล้ว ส่วนเงินที่เหลือเป็นเงินค่าทดแทนการตายและเงินบำเหน็จชราภาพ รายละประมาณ 7 แสนกว่าบาท ขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนรอหลักฐานของทายาท ซึ่งได้สอบสวนข้อเท็จจริงแล้วว่ามีผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายและได้ชี้แจงให้ญาติทราบแล้ว ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ได้มีนาย THUREIN TUN ทูตแรงงานเมียนมา และนาย Sai Soe ล่ามของสถานฑูตเมียนมา พร้อมกับ คุณกนกพร บุญโต ผู้รับมอบอำนาจของนายจ้าง และญาติของผู้เสียชีวิตทั้ง 7 ราย มาพบเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งทางสำนักงานฯ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และหลักฐาน โดยทางสถานทูตรับเรื่องไปประสานงานและช่วยเหลือในเรื่องการออกพาสปอร์ต หนังสือรับรองยืนยันตัวตนของผู้มีสิทธิ บันทึกถ้อยคำของทายาท และหลักฐานอื่นๆ เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส เป็นต้น

และในวันนี้ ผมได้มอบหมายให้นางนงลักษณ์ กอวรกุล ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร และสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสงคราม ลงพื้นที่ พร้อมด้วย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจากญาติของผู้เสียชีวิตที่จังหวัดสมุทรสงคราม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงของญาติผู้เสียชีวิตทั้ง 7 ราย พบว่า มี ญาติ 1 ราย ให้ข้อมูลว่า มีผู้มาติดต่อ ณ ที่พักอาศัย จำนวน 4 คน โดยเสนอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการเบิกเงินจากสำนักงานประกันสังคมแลกกับการจ่ายเงินค่าเดินเรื่องดังกล่าว แต่ญาติปฏิเสธข้อเสนอเนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากสถานทูตเมียนมาร์และกระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคมแล้ว และมีความมั่นใจเกี่ยวกับการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมของกลุ่มบุคคลที่มาติดต่อญาติแล้ว ทราบว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่เข้ามาช่วยเหลือรับประสานงานให้กับแรงงานข้ามชาติที่มาทำงานในประเทศไทย และมีเพจเป็นหลักฐานในการอ้างอิงกลุ่มบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคมได้แนะนำญาติผู้เสียชีวิตที่ถูกเรียกรับเงินค่าเดินเรื่อง ว่า หากมีความประสงค์จะดำเนินการทางกฎหมาย จะได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำ รวมทั้ง สำนักงานประกันสังคมได้ยืนยันกับญาติผู้ประกันตนทุกรายว่าสำนักงานประกันสังคมพร้อมที่จะประสานงานกับทุกหน่วยงานในการเร่งรัดการจ่ายเงินเยียวยาให้แก่ผู้มีสิทธิโดยเร็ว

“ขอยืนยันว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานและเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการเรียกหัวคิวพม่า 40% แลกกับการเดินเรื่องกับเงินชดเชยแปดแสนบาท และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้มีกลุ่มบุคคลมาแสวงหาผลประโยชน์จากความเดือดร้อนของผู้ประกันตน หากพบว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจะดำเนินการทางคดีเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ทั้งนี้ ขอย้ำเตือนไปยังผู้ประกันตนทุกท่านว่า การที่ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคมนั้น สำนักงานประกันสังคมจะดูแลผู้ประกันตนอย่างเต็มที่ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องมีการจ่ายเงินใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 1 สำนักงานประกันสังคม” นายบุญสงค์ กล่าวท้ายสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่