กมธ.แรงงาน วุฒิสภา ลงปราจีนบุรี ติดตามการพัฒนาศักยภาพแรงงาน เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษ

วันที่ 9 มิถุนายน 2566 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา มอบหมายให้ นายจรินทร์ จักกะพาก รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน คณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไปด้านแรงงาน การขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรและการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงกับจังหวัดที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมี นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี นายพงษ์สิทธิ์ เนื่องจำนงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี ตัวแทนผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมสระมรกต ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี

นายจรินทร์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ในครั้งนี้ เพื่อติดตามสถานการณ์ด้านแรงงาน การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ด้านแรงงานหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 แนวโน้มการส่งเสริมการมีงานทำ โดยเฉพาะกลุ่มวัยแรงงานตอนต้นและกลุ่มแรงงานสูงอายุ ตลอดจนติดตามปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านแรงงาน ด้านการค้า การลงทุนในอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมการจ้างงานในพื้นที่ ความต้องการแรงงานเพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมการผลิตและบริการ รวมถึงภาคธุรกิจอื่นๆ ปัญหาและอุปสรรคในการสรรหาและพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการผลิตและบริการในพื้นที่ ข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของแรงงาน จากตัวแทนภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรม หอการค้าจังหวัด นอกจากนี้ ยังได้รับฟังสถานการณ์ด้านแรงงานของกลุ่มเกษตรกร ปัญหาและอุปสรรครวมถึงข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาของสมาคมชาวไร่อ้อย

นายจรินทร์ กล่าวต่อว่า จากการติดตามรับฟังสถานการณ์ในจังหวัดปราจีนบุรี พบว่า จังหวัดปราจีนบุรีมีศักยภาพในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านพื้นที่ซึ่งมีจุดเด่นที่สามารถเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับระบบคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ซึ่งพร้อมรับการลงทุนในทุกอุตสาหกรรม และสภาพเศรษฐกิจโดยรวม พบว่า อุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ สาขาการผลิต รองลงมา การขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำและระบบปรับอากาศ ตามลำดับ ในส่วนของสถานการณ์ด้านแรงงานนั้น ปัจจุบันจังหวัดปราจีนบุรีมีกำลังแรงงาน 402,543 คน เป็นผู้มีงานทำ 399,146 คน ว่างงาน 3,397 คน ผู้ประกันตน 280,934 คน แรงงานนอกระบบ 143,073 คน แรงงานต่างด้าว 33,558 คน มีโรงงานอุตสาหกรรม 923 โรง สถานประกอบการ 3,541 แห่ง ลูกจ้าง 152,549 คน

จากนั้นในช่วงบ่าย นายจรินทร์ จักกะพาก รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน และคณะ ยังได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานพร้อมเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเสื่อกกของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเสื่อกกบ้านบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี น.ส.ชุ่ม ยะประดิษฐ์ ประธานกลุ่มและสมาชิก ร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดปราจีนบุรี ได้เข้าไปส่งเสริมตามโครงการรับงานไปทำที่บ้านจนเกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทำให้สมาชิกในกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผู้พ้นโทษ ได้มีงานทำ ได้รับการพัฒนาฝีมือ ทำให้มีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากต้นกกซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น เสื่อ หมอน กระเป๋า รองเท้า ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เกิดความเข้มแข็งสร้างเศรษฐกิจชุมชนอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่