รู้ทันการคุกคามทางเพศปรึกษา "เรา" RAO.ASIA

วันที่ 25 พ.ย.ของทุกปี ถือเป็นเดือนยุติความรุนแรง โดย UN กำหนด เป็น “วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงสากล”  และจัดให้มีการรณรงค์ทั่วโลก เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงที่กระทำต่อเด็กและสตรี ที่ไม่ได้เป็นเพียงสร้างความเจ็บปวดทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างบาดแผลให้เจ็บลึกเข้าไปในจิตใจของผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อด้วย

ในส่วนของประเทศไทยนั้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับ แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา ไซด์คิก (Sidekick) องค์กรออกแบบการสื่อสารเพื่อสังคม จัดงาน “เรา” พื้นที่พลังบวก เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. เปิดเผยว่า องค์กรเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ระบุว่า 88% ของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถูกคุกคามทางเพศบนออนไลน์ โดยเด็กหญิงวัยรุ่น และคนกลุ่มเปราะบางรับผลกระทบมากที่สุด มีสาเหตุสำคัญจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ข้อมูลจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ปี 2564 พบข่าวความรุนแรงในครอบครัวที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น 24.7% และยาเสพติด 17.2% ผู้หญิงที่ถูกกระทำส่วนใหญ่ไม่สามารถออกจากความสัมพันธ์ได้ ชุมชนมีส่วนให้ความช่วยเหลือด้วยการเยียวยาเพื่อให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย

ดังนั้น การควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก อย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังคงเป็นภารกิจหลักที่   สสส. มุ่งมั่นขับเคลื่อนต่อไป พร้อมผลักดันความรุนแรงเป็นประเด็นสาธารณะ เพื่อลดความรุนแรงอันเนื่องจากเหตุแห่งเพศ โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ด้าน 1.พัฒนาองค์ความรู้และแนวปฏิบัติในการลดความรุนแรง 2.พัฒนาต้นแบบในระดับชุมชนและสถานประกอบการ 3.เสริมศักยภาพแกนนำ/เครือข่ายลดความรุนแรง 4.สนับสนุนการขับเคลื่อนงานนโยบายลดความรุนแรง

สสส.ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายดำเนินงานยุติปัญหาความรุนแรง จัดงาน “เรา” พื้นที่พลังบวก สะท้อนให้สังคมได้เห็นถึงปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผลักดันให้เป็นประเด็นสาธารณะ ที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญร่วมแก้ไข ในงานมีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม “เรา” ชุมชนออนไลน์เสริมพลังหญิง ให้ได้ทดลอง Public Beta Testing ก่อนใช้งานจริงในต้นปี 2567

ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ สมาคมเพศวิถีศึกษา ชี้แจงว่า ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มีความห่วงใยความรุนแรงเรื่องเพศ การคุกคามทางเพศ ลดปัญหาความรุนแรงบนรถขนส่งสาธารณะ ความรุนแรงในพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงโควิดระบาด คนในสังคมอยู่กับการทำงานบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้น 50-70% ทั่วโลก การคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น

“การใช้คำพูดเสียดแทงคนอื่น การส่งข้อความผ่านสื่อ การถูกเนื้อต้องตัวก็เป็นส่วนหนึ่งของการคุกคามทางเพศ เพราะคนที่ถูกกระทำไม่ได้รู้สึกยินดีหรือไม่ต้องการ ทำให้เครียด รู้สึกไม่ปลอดภัย ส่งผลกระทบต่อจิตใจ สร้างบรรยากาศไม่ปลอดภัยในที่ทำงาน มีการคุกคามคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้างานกระทำต่อลูกน้องในที่ทำงาน สมัยก่อนคนถูกคุกคามไม่กล้าพูด แต่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาคนถูกคุกคามทางเพศกล้าพูดมากขึ้น บอกกับสังคมว่าตัวเองถูกทำร้าย ไม่หนี คนที่คุกคามทางเพศคือคนผิดที่จะต้องรับผิดในสิ่งที่ตัวเองเป็นผู้กระทำ องค์กรหน่วยงานเมื่อมีบุคลากรคุกคามทางเพศ ต้องแก้ไขปัญหาเมื่อมีการร้องเรียน ขณะนี้มีองค์กรเรา.ASIA รับแก้ไขปัญหาทางไลน์ สมัครสมาชิก”

ปี 2564-2566 แผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ  ร่วมกับ Sidekick และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ศึกษาข้อมูลทำงานกับเยาวชนหญิงที่กำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งเริ่มเข้าสู่วัยทำงานพบว่า เคยประสบเหตุการณ์ถูกคุกคาม หรือล่วงละเมิดในเรื่องที่เกี่ยวกับเพศ จำนวน 270 คน จาก 18 มหาวิทยาลัย 75% เคยถูกคุกคามทางเพศโดยคนแปลกหน้าในที่สาธารณะ ตามมาด้วยการคุกคามทางเพศในพื้นที่ออนไลน์ 58% และ 87% ของเยาวชนกลุ่มนี้บอกว่าเมื่อเจอเหตุการณ์ถูกคุกคาม หรือมีภาวะที่ถูกกระทบทางจิตใจจากเหตุการณ์ในอดีตจะเลือกหาความช่วยเหลือจากเพื่อนและคนในครอบครัว มีเพียง 20% ที่เลือกใช้ช่องทางความช่วยเหลือแบบเป็นทางการ เช่น จิตแพทย์ ตำรวจ และสายด่วนต่างๆ และยังมีอีก 10% ที่บอกว่าไม่เคยขอความช่วยเหลือจากแหล่งใดๆ เลย

“เหตุการณ์ที่เคยถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดในอดีตได้สร้างผลกระทบทางจิตใจ มีผลไปถึงการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้สึกเครียด หวาดผวา เสียความมั่นใจในตัวเอง บางส่วนต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ ยกเลิกหรือเปลี่ยนบัญชีโซเชียลมีเดีย และส่วนใหญ่บอกว่าไม่กล้าเข้าสังคมและทำความรู้จักคนใหม่ๆ จึงพัฒนาแพลตฟอร์ม “เรา” โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาเป็นที่ปรึกษา ให้ข้อมูล โดยมีรูปแบบการแชร์ประสบการณ์ การก้าวข้ามเรื่องร้ายๆ ในอดีตของบุคคลที่มีชื่อเสียง เคล็ดลับการสร้างวันดีๆ ให้กับตัวเอง ช่องทางการพูดคุยแลกเปลี่ยนออนไลน์ โดยจัดกิจกรรมเยียวยา และเสริมพลังทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ที่สมาชิกสมัครเข้าร่วมได้ มีข้อมูลหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ สำหรับผู้ที่ต้องการ เข้าใช้งานได้ที่ www.rao.asia แพลตฟอร์มของเพื่อนที่เข้าใจ” ดร.วราภรณ์เปิดเผย

ในช่วง 6 เดือนเราไม่คาดหวังว่าปัญหาจะลดลงในเวลาสั้นๆ แต่สร้างความตระหนักรู้การคุกคามทางเพศเป็นเรื่องซับซ้อน ใครที่โดนสมัยก่อนจะเก็บเงียบไม่บอกใคร แต่ช่วงหลังอิทธิพลจากข้อมูลข่าวสารคนที่ถูกคุกคามกล้าพูดมากขึ้นในพื้นที่สังคมรับรู้จะได้ช่วยกันเปลี่ยนแปลงลดปัญหาได้

ทิพย์เกสร สุตันคำ ตัวแทนผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม “เรา” เปิดเผยว่า ทุกวันนี้การรักษาทางจิตเวชสังคมไม่ได้รู้สึกว่าเป็นสิ่งผิดปกติ ขณะนี้แพทย์ทางจิตเวชมีจำนวนน้อย ไม่มีเวลามากพอที่จะรับฟังปัญหาอย่างละเอียด ดังนั้นช่องทางแพลตฟอร์ม “เรา”  เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นช่องทางให้สร้างเพื่อน สร้างกำลังใจ มอบแรงบันดาลใจให้กัน ใช้งานได้ทุกช่วงเวลา ทั้งตอนรู้สึกดาวน์ ต้องการกำลังใจ หรือช่วงเวลาที่รู้สึกดีๆ และอยากแบ่งปัน Feature ที่ชอบมากที่สุดคือ พื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยน ด้วยความที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน จึงทำให้รู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยกับคนอื่นๆ ในพื้นที่ชุมชนของ “เรา” มีประสบการณ์ เคยเจอเหตุการณ์คล้ายๆ กัน ก็จะเข้าใจกันมากกว่าเวลาคุยกับคนรอบข้างที่มองว่าสิ่งที่เราเจอมาเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย จนทำให้เลือกเก็บทุกอย่างไว้คนเดียวมาตลอด พอมาเจอช่องทางที่ได้พูดและได้รับการตอบกลับมาเป็นข้อความที่ดี เป็นกำลังใจ ให้ข้อคิด ทำให้เราเจอทางออกอีกทาง

ภัสรนันท์ อัษฏมงคล หรือ เบียร์ แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับบาดแผลทางใจ Trauma ที่สำคัญ เพื่อน คนรัก ครอบครัว เข้าใจ ช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตมาได้ “การที่เรามีคนใกล้ตัวรักเรา พร้อมที่จะรับฟัง ยิ่งบอกปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ก็จะแก้ไขปัญหาได้เร็วเท่านั้น ถ้าเก็บปัญหาไว้กับตัวนานๆ ก็จะเกิดความเครียด การที่เราเป็นผู้ถูกกระทำได้รับความเดือดร้อน อย่าแบกปัญหาไว้คนเดียว ทุกคนพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming