สส. Kick off UK-Thailand Partnership on Adaptation ภายใต้การสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) จัดประชุมวางแผนงานโครงการ (Project Kick off Meeting) ภายใต้การสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และวางแผนการดำเนินโครงการ Strengthened capacities and local-level plans for climate change adaptation in the agriculture and food security sector in Southern and North-Eastern Thailand โดยได้รับเกียรติจากนายมาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เป็นประธานกล่าวต้อนรับ ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุม

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช กล่าวว่า กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ได้รับความร่วมมือจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยในการดำเนินโครงการ Strengthened capacities and local-level plans for climate change adaptation in the agriculture and food security sector in Southern and North-Eastern Thailand โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุน และความช่วยเหลือด้านเทคนิคจากกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาแห่งสหราชอาณาจักร (The United Kingdom’s Foreign, Commonwealth and Development Office: FCDO) และมอบหมายให้องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) เป็นผู้วางแผนการดำเนินโครงการ และเป็นการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งการประชุมในวันนี้ ได้รับเกียรติจากท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านผู้มีเกียรติ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน รวม 40 ท่าน

สำหรับโครงการดังกล่าวฯ นี้ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี เพื่อบูรณาการแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคเกษตรกรรมระดับท้องถิ่น ใน 2 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ ภาคใต้ 1 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด และประเมินขอบเขตในการเข้าถึงและใช้ระบบเตือนภัยล่วงหน้า รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในระดับท้องถิ่นสำหรับภาคเกษตรกรรม ใน 8 จังหวัดพื้นที่โดยรอบ และที่สำคัญมีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรกลุ่มเปราะบางในพื้นที่เสี่ยงทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการจะช่วยส่งเสริมมาตรการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว นำไปสู่การขยายผล ประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อยกระดับความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รมว.ยธ.' ตอกกลับ 'กัณวีร์' ยันจีนเปิดเสรีเยี่ยมอุยกูร์ หลังจากนี้ให้ไปได้อีก

'ทวี' ยันหลังเยี่ยมอุยกูร์ ทุกคนปลอดภัยดี แต่ไม่ได้พบทุกคนเหตุอยู่คนละพื้นที่ห่างไกล ย้อน 'กัณวีร์' เป็นมุสลิมหรือเปล่า กล่าวหาผู้หญิงเข้าสวมกอด สอน สส. หัดคิดถึงประโยชน์ประเทศ

'ธรรมนัส' เผย 10 งูเห่าฝ่ายค้าน หนุน 'แพทองธาร' ฝ่าศึกซักฟอก

ร.อ.ธรรมนัส เผย 10 สส. ฝ่ายค้านพร้อมลงมติไว้วางใจนายกฯ จ่อซบพรรคกล้าเร็วๆนี้ 'นฤมล' กำชับ 2 ช่วยรัฐมนตรี กษ.เกร็งข้อสอบช่วย 'อุ๊งอิ๊ง'

'ทักษิณ' ไม่ใช่นายกฯ เยือนเมืองคอน 'รมต.-สส.' แห่ร่วมขบวนเพียบ

'พ่อนายกฯ' บินนครศรีธรรมราช 1 มี.ค. เป็นประธานพิธียกฉัตรพระประธาน-ทอดผ้าป่าสามัคคีสร้างอุโบสถ 'รมต.-สส.-แกนนำแดง' แห่ร่วมขบวน

เปิด 4 ทางเลือก! ความเป็นไปได้ หลังสภาล่ม-ร่างแก้ไขรธน.จะเดินหน้าอย่างไร?

การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรงที่สุดของรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมสองฉบับเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา แต่เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเกิด “ล่ม” ขึ้นอีกครั้งเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ

เปิดเบื้องลึก! ทำไม 'เพื่อไทย' ต้องลงทุนยกร่างรธน.ฉบับใหม่

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ทำไมต้องลงทุนยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" โดยระบุว่า