พอช. ร่วม ศูนย์คุณธรรม และ สช. ขับเคลื่อนคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคม มุ่งสร้างคุณธรรมด้วยระบบเครดิตทางสังคม

กรุงเทพมหานคร /  วันนี้ 29 เมษายน 2567 ระหว่างเวลา 14.00 – 16.00 น. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) นำโดย รศ นพ.สุริยเดว ทรีปราตีผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ลงนามบันทึกความร่วมมือ 2 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำโดย นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) นายวิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคมด้วยระแบบเครดิตทางสังคม โดยในงานมีผู้เข้าร่วมกว่า 40 คน ณ ห้องประชุม Honey Bee ชั้น 16 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวถึงเจตนารมณ์และที่มาที่ไป ของการร่วมลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือของทั้งสามหน่วยงานที่ มุ่งมั่นจะร่วมกันขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมและธรรมาภิบาลของเครือข่ายภาคประชาสังคม และชุมชน ให้เกิด “สังคมคุณธรรม” ที่ประชากรมีสำนึกพลเมือง และชุมชนท้องถิ่นมีความสามารถจัดการตนเองได้ บนฐานคุณธรรมและธรรมาภิบาล

นายแพทย์ สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า เวลาพูดถึงคุณธรรมหรือความดี ผมว่ามันทำคนมีพลังบวกหัวใจพองโต สมองก็แจ่มใส เราตื่นเช้ามาเราก็ต้องคิดวันนี้เราจะทําดีอะไร ? เพราะว่าโดยมนุษย์จริงๆ เขาเรียกมีเมล็ดพันธุ์แห่งความดีอยู่ในตัวทุกคนอยู่ในตัวทุกคน ศูนย์คุณธรรมสามารถที่จะช่วยบ่มเพาะให้เมล็ดพันธุ์แห่งความดีเกิดขึ้นงอกงามในทั่วทั้งประเทศผมคิดว่าอันนี้เป็นสิ่งที่จะช่วยทําให้ประเทศเราสามารถพัฒนาแล้วก็น่าอยู่แล้วก็ไปได้อีกไกล แล้วก็ตัวงานที่ไม่ว่า สช. หรือ พอช. ทำก็เป็นในทิศทางเดียวกันเพราะฉะนั้นตรงนี้ถ้าได้สร้างพลังร่วมกัน เชื่อว่าในการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีต่างๆก็จะได้เติบโตงอกงามได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นแล้วก็ทั่วถึงมากขึ้นอ ต้องขอขอบคุณทั้งทางศูนย์คุณธรรมแล้วก็ทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ที่ได้มาร่วมงานกัน ถ้าอาจารย์ไพบูลย์ท่านทราบได้ด้วยวิธีใดๆท่านน่าจะดีใจและก็ภาคภูมิใจที่เห็นพวกเราร่วมกันทํางาน และเพื่อประโยชน์ของของประชาชนและก็เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอันนั้นเป็นเป้าหมายของการพัฒนาของประเทศเราครับ

ด้านนาย วิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า 3 องค์กรนี้เปรียบเหมือนพี่กับน้องฝาแฝด ดีใจที่ได้ทํางานกับคนตัวเล็กตัวน้อยและทําให้เขามีที่ยืนทางสังคม อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทั้งสององค์กรนี้ก็เป็นพันธมิตรหนึ่งที่จะช่วยกันสร้างงานแบบนี้ขึ้นมา เป็นโจทย์ที่แอบปลื้มใจแทนอาจารย์ไพบูลย์ ทั้งสองท่านก็เอ่ยถึงอาจารย์ตลอด พวกเราก็ฟูมฟักวิถีคิดจากอาจารย์มา 20 กว่าปี ทําให้เราตระหนักอยู่ในใจตลอดเวลาประชาชนที่ฐานรากของโครงสร้างสังคม พอช.ก็มุ่งไปสู่เรื่องการสร้างที่ยืนของประชาชนในจังหวัดซึ่งทั้งศูนย์คุณธรรม และ สช. ก็สร้างงานที่พื้นที่กลางจังหวัดมันคืออันเดียวกัน แต่เราเรียกภาษาตามองค์กร ผมว่านี่มันเป็นการมัดมือทําให้ตัวองค์กรมีพลังมากขึ้น พอช. ก็ใช้ตัวสะพานมวลชนเป็นตัวหลักผ่านปัญหาศูนย์นโยบายซึ่งผ่านกลไกรัฐมนตรี ซึ่ง สช. ก็ใช้พื้นที่แบบนี้ ศูนย์คุณธรรมก็เช่นเดียวกัน ถ้า 3 องค์กรนี้มัดกันได้แล้วผูกไปด้วยกันทําให้ข้างล่างแข็งแรงมากขึ้นจะอุดช่องว่างข้อจํากัดได้ อันนี้เป็นพลังบวกเราใช้คําว่า “สามประสานไปด้วยกัน”

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ยินดีสนับสนุนเรื่องธรรมาภิบาลของเครือข่ายภาคประชาสังคมอย่างเต็มที่ ด้าน พอช. จะช่วยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ร่วมกับ“ศูนย์คุณธรรม” และ“ภาคีความร่วมมือ” ในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา “สังคมคุณธรรม” ที่เหมาะสมกับสังคมไทย มีรูปธรรม หลากหลายตามบริบทพื้นที่ และการจัดการความรู้เพื่อการขยายผลให้กับเครือข่าย องค์กร ชุมชนในพื้นที่ และส่งเสริมการ พัฒนาระบบเครดิตสังคม (Social Credit) ใช้เป็นมาตรการส่งเสริม เสริมพลังการทำความดีในสังคม

- บูรณาการแผนงานโครงการ เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรชุมชนใน

การจัดการตนเองในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อม บนฐานคุณธรรมและธรรมาภิบาล

- สื่อสารสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้เกิดกลไกร่วม เพื่อการขับเคลื่อนงานในเครือข่าย

องค์กรเชิงประเด็นและพื้นที่เป้าหมายร่วม ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์บันทึกความร่วมมือ ครั้งนี้

“ทาง พอช. ยินดีร่วมเต็มที่ กอดคอเต็มที่ กอดคอกันไปแบบนี้จนกว่าบ้านประชาชนจะตั้งหลักได้ โดยเฉพาะคนที่อยู่ล่างสุดของสังคมขยับขึ้นตัวเองได้ก็จะเป็นสิ่งที่มีความสุขด้วยกัน”

โดยวัตถุประสงค์ของการบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ มีดังนี้

  1. เพื่อส่งเสริมให้เกิด “สังคมคุณธรรม” ที่เหมาะสมกับสังคมไทย มีรูปธรรม หลากหลายตามบริทบ พื้นที่ โดย“ภาคีความร่วมมือ”มีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมและธรรมาภิบาลของเครือข่ายภาคประชาสังคม ชุมชน พื้นที่ในเครือข่ายทางสังคมของตนเอง
  2. เพื่อส่งเสริมให้เกิด “ระบบเครดิตสังคม”(Social Credit) เป็นมาตรการส่งเสริม จูงใจ กระตุ้นให้เกิดการทำความดี ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ โดย“ภาคีความร่วมมือ”มีส่วนร่วมและบูรณาการสวัสดิการ สิทธิประโยชน์เสริมพลังเครือข่าย องค์กร และพื้นที่ในประเด็นงานต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมร่วมกัน
  3. เพื่อยกย่อง ชื่นชม “ความดี” ในสังคม รณรงค์สื่อสารเผยแพร่ขยายผล ให้เกิดการรับรู้ เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยให้มากขึ้น โดย“ภาคีความร่วมมือ”มีส่วนร่วมกันค้นหา ขยายผล บุคคล องค์กร ชุมชน พื้นที่ที่มีรูปธรรมความดี มีการใช้ระบบเครดิตสังคม(Social Credit) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณธรรมและธรรมาภิบาลรวมถึงการพัฒนายกระดับเป็นต้นแบบในการขยายผลการพัฒนาสังคมต่อไป

ทั้งนี้ ภายใต้เจตนารมณ์ความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งสามหน่วยงานจะร่วมมือผลักดันให้เกิดการพัฒนาสังคมคุณธรรมเชิงพื้นที่ ที่ผู้คนมีจิตสำนึกพลเมืองและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้บนพื้นฐาน ด้านความดีความสามารถและความสุขที่ยั่งยืน พร้อมทั้งจะมีการพัฒนา “ระบบเครดิตสังคม (Social Credit)” เป็นมาตรการส่งเสริม จูงใจ กระตุ้นให้เกิดการทำความดี ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ และจะร่วมมือยกย่องชื่นชม “แบบอย่างความดี” ในเครือข่ายทางสังคมภายใต้ภารกิจ ให้เกิดการรับรู้ เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยมากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จากเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ล้านเปอร์เซ็นต์ ที่ตำบลเขาไม้แก้ว “ความเปลี่ยนแปลงจากเกษตรเคมีสู่แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย”

สุนทร คมคาย เกษตรกรหนุ่มใหญ่วัยเกือบ 50 ปี คนในพื้นที่เรียกกันติดปาก “เกษตรแหลม” แกนนำกลุ่มเกษตรอินทรีย์เขาไม้แก้ว เล่าให้ฟังว่า ผมเรียนจบปริญญาตรีด้านเกษตร สาขาไม้ผล

พอช. ร่วมขบวนชุมชน ถอดบทเรียนพื้นที่รูปธรรม “คนสร้างบ้าน พัฒนาชีวิตที่มั่นคง” Collective Housing : ให้คนเป็นแกนหลักในการพัฒนา พัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน

การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ประกอบกับการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ทำให้เมืองขยายตัว เกิดชุมชนแออัด ชุมชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีทั้งเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้าน

บ้านมั่นคงคนสุพรรณบุรี บ้านที่มากกว่าคำว่าบ้าน พัฒนาเมืองน่าอยู่ชุมชนเข้มแข็ง

สถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ถ้ามาแล้วไม่ควรพลาด!!! นั่นก็คือ "ตลาดสามชุก" นับว่าเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีของกินอร่อย

แพปลา ธนาคารปูชุมชนแหลมผักเบี้ยเพชรบุรี ต้นแบบในการฟื้นฟูท้องทะเลไทย

ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลเมืองเพชร ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ได้ถูกฟื้นฟูโดยชาวประมงกลุ่มหนึ่ง เริ่มจากจุดเล็กๆ ทำแพปลาชุมชนแหลมผักเบี้ย

คนลิบงร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล “พะยูนอยู่ไม่ได้ คนเกาะลิบงก็อยู่ไม่ได้”

“ถ้าไม่มีพะยูน คนเกาะลิบงก็อยู่ไม่ได้ เพราะถ้าที่ไหนมีพะยูน ท้องทะเลตรงนั้นก็จะแสดงถึงความอุดมสมสมบูรณ์ และคนเกาะลิบงส่วนใหญ่ก็หากินกับท้องทะเล

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567