“ศุภมาส” ปลื้ม !!! สภาฯ รับหลักการร่างกฎหมายจัดตั้ง “กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” ที่มุ่งเน้นการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางและพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 2 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1) นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลุกขึ้นเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... 2) ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 4) ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญของการเสนอร่างกฎหมายทั้ง 4 ฉบับอยู่ที่การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อเพิ่มบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง “กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” โดยมีจุดมุ้งเน้นเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการผลิตกำลังคนที่ตรงตรงกับโจทย์การพัฒนาประเทศ สอดคล้องกับพลวัฒน์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ให้เข้าถึงการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ทุกที่ทุกเวลา ในค่าใช้จ่ายที่เข้าถึงได้
.
นางสาวศุภมาส กล่าวว่า การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการสร้างความเป็นเลิศในสรรพวิทยาการจำเป็นต้องมี “กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” เป็นกลไกหลักเพื่อทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณและกำกับติดตามให้การพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางบรรลุวัตถุประสงค์ตามความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง จึงเป็นที่มาของการที่กระทรวง อว. ได้เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการอุดมศึกษา เพื่อให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาขึ้น โดยมีสาระสำคัญ คือ 1) กำหนดให้การจัดสรรงบประมาณสำหรับงบลงทุนและงบเงินอุดหนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ 2) กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาขึ้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในสำนักงานปลัดกระทรวง อว. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามความต้องการของประเทศ และการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ เป็นต้น 3) กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน มีหน้าที่และอำนาจในการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและระเบียบที่สภานโยบายกำหนด และ 4) ให้มีสำนักงานบริหารกองทุนในสำนักงานปลัดกระทรวง เพื่อรับผิดชอบงานธุรการ และกำหนดวิธีการจัดสรรเงินกองทุนต้องเป็นไปตามคำรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการรับเงินอุดหนุนการพัฒนาการอุดมศึกษาระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวง อว. และสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุน และมีคณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารกองทุนและสำนักงานบริหารกองทุน รวมถึงคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการอุดมศึกษาที่มีหน้าที่อรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารเงินกองทุน คณะกรรมการอุดมศึกษาและรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติต่อไป
.
นางสาวศุภมาส ยังได้กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ในระหว่างที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีคำอภิปราย และมีข้อซักถาม กระทรวง อว. พร้อมที่จะรับฟัง และชี้แจงเพิ่มเติมในวันนี้ และยินดีที่จะรับคำแนะนำไปพิจารณาในชั้นกรรมาธิการวิสามัญที่สภาจะเสนอในโอกาสต่อไป
.
ทั้งนี้ หลังอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการวาระที่ 1 ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 432 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนนเสียง 2 และให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ... จำนวน 33 คน กำหนดการแปรญัตติ 15 วัน

นอกจากนี้ ที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีมติเห็นด้วย 415 คะแนน ไม่เห็นด้วย 1 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนนเสียง 3

ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. มีมติเห็นด้วย 422 ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนนเสียง 2

ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีมติเห็นด้วย 424 ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนนเสียง 1

โดยทั้ง 3 ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่มีสมาชิกอภิปราย ซึ่งที่ประชุมมีมติรับหลักการในวาระ ที่ 1 และให้ใช้คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดเดียวกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 15 วัน โดยใช้กรรมาธิการชุดเดียวกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Press Release 'ศุภมาส' แถลงผลงาน ตอกย้ำวิสัยทัศน์ 'เรียนดี มีความสุข มีรายได้' พร้อมชู 'วิจัย นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ' ริเริ่ม 12 แนวทาง ขับเคลื่อน อว. สู่กระทรวงเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (รมว.อว.) ได้แถลงผลงานที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค

“ศุภมาส” จัดเต็ม ! ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขนทัพมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศรวมไว้ในที่เดียว พร้อมเปิดงาน One Stop Open House 2024 มหกรรมการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่

วันที่ 27 พ.ย.67 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “One Stop Open House 2024”

เดินหน้าต่อเนื่อง! "ศุภมาส" ประกาศจัดงาน "One Stop Open House 2024" สานต่อความสำเร็จของ "อว.แฟร์"

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวประกาศความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของการจัด งาน "อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมประกาศการเตรียมจัดงาน "One Stop Open House 2024" ภายใต้แนวคิด "อนาคตของคุณเริ่มต้นที่นี่:

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง