วันที่ 25 ก.ค.2567 ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานพิธีมอบรางวัลเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2567 โดย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานมอบรางวัล พร้อมด้วย นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. เข้าร่วมงาน
นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเอง เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ชาวไทยทุกคนภาคภูมิใจ จากประวัติศาสตร์และหลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทยที่ปรากฏตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 730 ปี ซึ่งภาษาเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและยุคสมัย โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่มีการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการติดต่อสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อวิธีการใช้ภาษาโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ดังนั้น เพื่อให้การติดต่อสื่อสารโดยการใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม ให้ประชาชนได้ตระหนักและร่วมกันสืบสานภาษาไทยให้ยั่งยืน
ดังพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2505 ว่า “ภาษาไทยนั้น เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือ เป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี เราโชคดีที่มีภาษาของตนเอง มาแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้
ปลัด วธ. กล่าวต่อว่า กระทรวงวัฒนธรรม ตระหนักถึงการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง เหมาะสมเพื่อร่วมกันสร้างค่านิยมและจิตสำนึก ทั้งส่งเสริมให้เด็กเยาวชนและประชาชนเห็นความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ในโอกาสนี้ ต้องขอแสดงความยินดี แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอีกทั้งขอชื่นชมและขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ดำเนินการจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2567 และขอให้มีความภูมิใจในสิ่งที่ได้ดำเนินการด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และขอให้ดำรงรักษาความดีงามนี้ไว้ เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนของชาติต่อไป
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดี สวธ. กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรมมีการมอบรางวัลให้แก่บุคคลและองค์กรที่ได้เข็มและโล่เชิดชูเกียรติทางด้านภาษาไทย 4 ประเภท ดังนี้ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 2 ราย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรทิพย์ พุกผาสุขและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิวกานท์ ปทุมสูติ ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 11 ราย ได้แก่ นางเทพี จรัสจรุงเกียรติ นายชาครีย์นรทิพย์ เสวิกุล นายณรงค์ฤทธิ์ คิดเห็น นายธีระพงษ์ โสดาศรี นางนันทพร แสงมณี นางสาวปาริฉัตร ศาลิคุปต นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีรวัฒน์ อินทรพร นายศราวุธ สุดงูเหลือม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรตี ปรีชาปัญญากุล และนายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 4 ราย ได้แก่ นายไกรสร ฮาดคะดี นายณรงค์ศักดิ์ กำเนิดทอง นายปราโมทย์ ในจิต และ นายเอ็ด ติ๊บปะละ และ ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย 1 องค์กร ได้แก่ สถาบันสุนทรภู่
ส่วนของรางวัลเพชรในเพลง โดยกรมศิลปากร รวม 14 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ นายปัณฑพล ประสารราชกิจ และนายธิติวัฒน์ รองทอง จากเพลงลั่นทม รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ นายกฤตศิลป์ ฉลองขวัญ จากเพลงดอกไม้จากดวงดาว รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ นายจิรภัทร แจ่มทุ่ง จากเพลงยามท้อขอมีเธอ รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ นายสลา คุณวุฒิ จากเพลงอยากซื้อบ้านนอกให้แม่
รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย 8 รางวัล รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ (สปาย) จากเพลงคอย รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายธานินทร์ อินทรแจ้ง (ธานินทร์ อินทรเทพ) จากเพลงเดือนประดับใจ รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ นางสาวสรวีย์ ธนพูนหิรัญ (ผิงผิง) จากเพลงดอกไม้จากดวงดาว รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ นางสาวปราชญา ศิริพงษ์สุนทร จากเพลงมรดกธรรม มรดกโลก
รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายอนันต์ อาศัยไพรพนา (นัน อนันต์) จากเพลงยามท้อขอมีเธอ รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายเสมา สมบูรณ์ (ไชยา มิตรชัย) จากเพลงรอยยิ้มก่อนจากลา รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวสุทธิยา รอดภัย (ใบเฟิร์น สุทธิยา) จากเพลงกราบหลวงพ่อใหญ่อ่างทอง และ รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวกาญจนา มาศิริ จากเพลงสารภาพรัก และรางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ 2 รางวัล ได้แก่ ครูเพลงผู้ใช้ภาษาวรรณศิลป์ดีเด่น นายชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร และ รางวัลนักแปลเพลง : คมความ งามคำไทย ในบทเพลง นายธานี พูนสุวรรณ มีการมอบรางวัลประกวดเพลงแรป “บอกรักษ์ภาษาไทย” 3 รางวัล
บริเวณด้านหน้างานวันภาษาไทยแห่งชาติ มีการจัดนิทรรศการ ประวัติและผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัล ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงาน ด้านสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (สป.) ได้เชิญชวนสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยร่วมจัดทำวีดิทัศน์เพื่ออนุรักษ์และรณรงค์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ นำมาจัดฉายในงานวันภาษาไทยแห่งชาติปีนี้ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่
เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1 โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ
บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ
10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
อาลัย‘สันติ’ นักร้องปลุกใจ เพลงรักชาติ
อาลัย "สันติ ลุนเผ่" ศิลปินแห่งชาติ ถึงแก่กรรมด้วยวัย 88 ปี
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List