ผู้ว่าการ MEA ลงพื้นที่ตรวจสอบระบบไฟฟ้าสถานีสูบน้ำคลองขุดวัดช่องลม ร่วมกับ กทม. ดูแลระบบระบายน้ำช่วงฤดูฝน

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง พร้อมด้วย รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และคณะเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบความพร้อมระบบไฟฟ้าสถานีสูบน้ำคลองขุดวัดช่องลม ทั้งนี้ MEA ได้บำรุงรักษาและติดตั้งอุปกรณ์เสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าสถานีสูบน้ำ อีกทั้งมีการเตรียมความพร้อมและซักซ้อมแผนเพื่อบูรณาการความร่วมมือกับ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร กทม. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ณ สถานีสูบน้ำคลองขุดวัดช่องลม กรุงเทพฯ

ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านระบบจำหน่ายระบบไฟฟ้าสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญกับคุณภาพการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการรองรับเหตุฉุกเฉินและขัดข้องต่าง ๆ พร้อมบูรณาการกับหน่วยงานเกี่ยวข้องดูแลการจ่ายไฟฟ้าของสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ และบ่อสูบน้ำ ของ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ที่ MEA ดูแลด้านระบบไฟฟ้า จำนวน 382 แห่ง โดย MEA มีการเชื่อมโยงระบบจ่ายไฟฟ้าหลัก และระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองให้กับสถานีสูบน้ำทุกแห่ง เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และสามารถบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการควบคุมระบบไฟฟ้า SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) ตลอดจนได้นำระบบ DMS (Distribution Management System) มาใช้ในระบบการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย ติดตั้งอยู่บนเสาไฟฟ้าในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อช่วยบริหารควบคุมสั่งการได้จากส่วนกลาง ทราบสาเหตุ และสั่งการอัตโนมัติ ทำให้เกิดความมั่นคงในระบบไฟฟ้า มีความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขไฟฟ้าขัดข้องได้รวดเร็ว

ผู้ว่าการ MEA กล่าวต่อว่า สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการติดตามตรวจสอบความพร้อมของระบบไฟฟ้าสถานีสูบน้ำคลองขุดวัดช่องลม ถือเป็นสถานีสูบน้ำสำคัญ ซึ่งสอดรับกับนโยบายกระทรวงมหาดไทยในการบูรณาการความร่วมมือเพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดย MEA จ่ายกระแสไฟฟ้าให้สถานีสูบน้ำคลองขุดวัดช่องลม ด้วยระบบแรงดันไฟฟ้า 24 กิโลโวลต์ (kV) ให้กับระบบสูบน้ำขนาด 1200 กิโลวัตต์ (kW) จำนวน 5 เครื่อง อัตรากำลังสูบน้ำรวม 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระบายน้ำท่วมขังในเมืองออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยสถานีสูบน้ำคลองขุดวัดช่องลมจะรับน้ำจากอาคารรับน้ำบึงมักกะสัน อาคารรับน้ำแสนเลิศ อาคารรับน้ำไผ่พิทักษ์ และอาคารรับน้ำเชื้อพระราม ซึ่งรับน้ำในพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตห้วยขวาง เขตดินแดง เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตปทุมวัน และเขตวัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ 26 ตารางกิโลเมตร

 

นอกจากนี้ที่ผ่านมา MEA ยังมีแผนการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้กับสถานีสูบน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาด้านระบบไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงก่อนเข้าสู่ฤดูฝน ที่จะต้องมีการตรวจสอบในลักษณะทางกายภาพ เช่น การตัดแต่งกิ่งไม้ และตรวจสอบป้ายต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกลมพายุพัดหลุดห้อยหรือทำให้กระทบกับระบบไฟฟ้าของ MEA ให้เกิดความเสียหายได้ รวมถึงการตรวจสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ส่งผลต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภายในสถานีสูบน้ำแต่ละแห่ง รวมถึงประสานงานใกล้ชิดกับศูนย์ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ เพื่อการแก้ไขเหตุไฟฟ้าดับฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจน MEA จัดเจ้าหน้าที่บูรณาการระบบไฟฟ้าประจำจุดที่สำคัญทุกแห่งพร้อมดูแลระบบไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง จากการดำเนินงานทั้งหมดนี้ MEA จึงมีความมั่นใจในการดูแลระบบไฟฟ้าสำหรับสถานีสูบน้ำเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมั่นคงและปลอดภัยอย่างเต็มที่ในช่วงฤดูฝน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปัตตานียังวิกฤต! ดับแล้ว 7 ราย ปะกาฮารังจมบาดาลทั้งหมู่บ้าน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานียังคงเป็นพื้นที่สีแดง หลายพื้นที่ยังมีท่วมสูง แม้ว่าในช่วงกลางดึกน้ำลดลงไปบ้างแล้ว ประมาณ 20 %

'ชลประทานตรัง' การันตีปีนี้ตรังไม่จมบาดาล แก้ท่วมซ้ำซากสำเร็จ

นายวิโรจน์ มูสิกะเจริญ วิศวกรชลประทาน พร้อมด้วย นายสงกรานต์ หนูฤทธิ์ นายช่างชลประทาน สำนักงานชลประทานฝายคลองนางน้อย อ.นาโยง จ.ตรัง ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ทางน้ำและมวลน้ำ

ศปช. ปรับลดระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา คาดไม่เกิน 3 วันถึงจุดต่ำสุดเข้าสู่ภาวะปกติ

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ศปช.ยังคงติดตาม การบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในช่วงหน้าแล้ง

กรมอุตุฯ ออกประกาศฉบับ 4 เตือน ภาคใต้เจอฝนถล่ม 3-6 พ.ย.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 4 เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 2–6 พฤศจิกายน 2567) ระบุว่า

กรมชลประทานคุมเข้มบริหารจัดการน้ำรับมือฤดูมรสุมภาคใต้

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 16 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนรับมือในพื้นที่ภาคใต้ใกล้เข้าสู่ฤดูฝน