13 ต.ค. 2567 – นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 16 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนรับมือในพื้นที่ภาคใต้ใกล้เข้าสู่ฤดูฝน
สำนักงานชลประทานที่ 16 ได้มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละจังหวัดทางพื้นที่ภาคใต้ อาทิ จังหวัดสงขลา ซึ่งถือเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดพัทลุง, ตรัง และสตูล ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้มากที่สุด โดยมี นายเฉลิมชัย ตรีนรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 17 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 16 ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯ
สถานการณ์น้ำข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 67 อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ในพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และตรัง มีปริมาณน้ำเก็บกักรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 73 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 41% ของความจุอ่างฯ รวมกัน ยังสามารถรองรับน้ำอีกประมาณ 106 ล้าน ลบ.ม. ภาพรวมสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี และมีปริมาณน้ำใช้อย่างเพียงพอ ด้านการเตรียมความพร้อม เครื่องจักร เครื่องมือ ได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถขุด รถบรรทุกน้ำ และเครื่องจักรกลอื่นๆ รวมกว่า 315 หน่วย ประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ เฝ้าระวังจุดน้ำท่วมซ้ำซาก และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องมือ ให้พร้อมในการให้ความช่วยเหลือ เน้นย้ำบริหารจัดการตามแผนรับมือสถานการณ์วิกฤตที่จะเกิดขึ้น พร้อมประสานงานกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง หากมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบขอให้เร่งเข้าไปช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุด ตามนโยบายของ “ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปัตตานียังวิกฤต! ดับแล้ว 7 ราย ปะกาฮารังจมบาดาลทั้งหมู่บ้าน
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานียังคงเป็นพื้นที่สีแดง หลายพื้นที่ยังมีท่วมสูง แม้ว่าในช่วงกลางดึกน้ำลดลงไปบ้างแล้ว ประมาณ 20 %
'ชลประทานตรัง' การันตีปีนี้ตรังไม่จมบาดาล แก้ท่วมซ้ำซากสำเร็จ
นายวิโรจน์ มูสิกะเจริญ วิศวกรชลประทาน พร้อมด้วย นายสงกรานต์ หนูฤทธิ์ นายช่างชลประทาน สำนักงานชลประทานฝายคลองนางน้อย อ.นาโยง จ.ตรัง ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ทางน้ำและมวลน้ำ
ศปช. ปรับลดระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา คาดไม่เกิน 3 วันถึงจุดต่ำสุดเข้าสู่ภาวะปกติ
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ศปช.ยังคงติดตาม การบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในช่วงหน้าแล้ง
'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง
แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
เขื่อนเจ้าพระยา ปรับลดระบายน้ำ ลดผลกระทบพื้นที่น้ำท่วม น้ำทะเลหนุนสูงช่วง 13 ต.ค.นี้
นายวัชระ ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณทรงตัว ประกอบกับ แม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี
สั่งปรับลดการระบายน้ำเขื่อนป่าสักฯ ลดผลกระทบลุ่มเจ้าพระยา
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์น้ำท่าที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักฯ