ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์น้ำบาดาลตรวจสอบอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจน แห่งที่ 16 จ.ฉะเชิงเทรา พบสารปนเปื้อนแพร่กระจายลงสู่ชั้นใต้ดิน ก่อนใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีทางกฎหมายและเรียกค่าเสียหายต่อผู้ที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ

เมื่อวันที่ 17 ก.ย. ดร.มนัสวี เฮงสุวรรณ นักธรณีวิทยาชำนาญการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลพร้อมคณะลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจนแห่งที่ 16 ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจนแห่งที่ 16 ซึ่งมีการปนเปื้อนของโลหะหลายชนิด โดยคณะได้มีการตรวจสอบการปนเปื้อนแหล่งน้ำบาดาลบริเวณอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจน แห่งที่ 16 และบ่อยืมดิน จำนวน 4 บ่อขนาดใหญ่ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำพบว่ามีสภาพเป็นกรด ค่า pH ประมาณ 3 และมีการปนเปื้อนของโลหะหลายชนิด โดยเฉพาะเหล็กตรวจพบถึง 3 พันมิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ยังพบแมงกานีส ทองแดง สังกะสี เป็นต้น

ดร.มนัสวี เปิดเผยว่า กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้เข้ามาตรวจสอบคุณภาพของอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจนแห่งที่ 16 มีความจุกักเก็บ 1.97 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2562 หลังมีการแจ้งเหตุจากประชาชนว่าน้ำในอ่างเก็บน้ำไม่สามารถใช้งานได้เพื่อพิสูจน์ทราบแหล่งที่มาของสารปนเปื้อนโดยการศึกษาทางอุทกเคมีและการจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์น้ำบาดาล โดยได้จัดทำแบบจำลองการเคลื่อนที่ของสารปนเปื้อนในน้ำใต้ดิน โดยวิธี Forward particle tracking และ Backward particle tracking พบว่า ทิศทางการไหลหลักของสารปนเปื้อนในน้ำใต้ดินมีทิศทางการไหลจากพื้นที่ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงไปยังอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจน แห่งที่ 16 โดยใช้ระยะเวลาการเคลื่อนที่ประมาณ 3 - 7 ปี

ดร.มนัสวี กล่าวต่อว่า จากการประเมินการกระจายตัวของสารปนเปื้อน ในพื้นที่ศึกษา ณ ช่วงเวลาต่างกันแบบสองและสามมิติ โดยอาศัยแบบจำลอง Mass Transport in 3-Dimensions (MT3D) พบว่าจากสถานการณ์จำลอง ซึ่งกำหนดให้มีการปล่อยสารปนเปื้อนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็นกรณีที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์คุณภาพน้ำใต้ดินในปัจจุบันมากที่สุด ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำใต้ดินตรวจพบแนวการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินที่มีคุณลักษณะทางเคมีสูงผิดปกติไปจากน้ำใต้ดินที่พบในธรรมชาติทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล็ก แมงกานีส  ทองแดง สังกะสี คลอไรด์ ซัลเฟต และมีค่าปริมาณสารทั้งหมดที่ละลายได้สูงถึง 2,600-23,000 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยองค์ประกอบทางเคมีที่พบในน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนและน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจน แห่งที่ 16 มีความสอดคล้องกับน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ

ดร.มนัสวี กล่าวอีกว่า จากผลการสำรวจด้านอุทกธรณีวิทยา อุทกเคมี และการจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์น้ำบาดาล สามารถสรุปได้ว่า การปนเปื้อนดังกล่าวเป็นการปล่อยให้สารปนเปื้อนแพร่กระจายลงสู่ชั้นใต้ดินและน้ำใต้ดิน และไหลตามทิศทางการไหลของน้ำใต้ดินลงสู่อ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจน แห่งที่ 16 ทำให้เกิดการปนเปื้อนของน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจน แห่งที่ 16 ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นหลักฐานสำคัญในการดำเนินคดีทางกฎหมายและเรียกค่าเสียหายต่อผู้ที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2567 ศาลได้มีคำสั่งให้บริษัทเอกชนดังกล่าวชำระค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูทรัพยากรน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินให้กลับมามีสภาพดังเดิม เป็นเงิน 1,770 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ต่อเนื่องปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ”

วันที่ 13 ธค. 2567  ท่านพระครูวินัยธรจีรเดช จิรเตโช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์) กล่าวสัมโมทนียกถา นางยุถิกา อิศรางกูร

“เทด้า” คว้ารางวัล “คู่ค้าดีเด่นประจำปี 2567” จาก กฟผ.

นายธงชัย เพ็ชรยิ้ม ผู้อำนวยการบริหาร และ นายครองเกียรติ์ อุดมรัตนชัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทด้า จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจด้านการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

"พิพัฒน์" รับแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบ อิสระ ทำงานที่บ้าน สั่งช่วยเปิดทางแหล่งทุน ที่ทำมาหากิน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้

วันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ

"โสภณ"ถกเครือข่ายการศึกษา รัฐ เอกชน ประชาสังคม แก้ไขปัญหาคุณภาพศึกษา ปลอดยาเสพติดในพื้นที่ บุรีรัมย์

วันที่ 13 ธันวาคม 2567 นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และเครือข่ายทางการศึกษา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมี ดร.ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์ ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ นายปิยวิทย์ เชิดกลิ่น

ดั๊บเบิ้ล เอ สนับสนุนช่วยเหลือฟื้นฟูหลังอุทกภัยภาคใต้

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เข้ามอบสมุด และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย Double A Care อาทิ หน้ากากอนามัยฯ น้ำยาทำความสะอาดพื้นและฆ่าเชื้อโรค