การขยายสิทธิประโยชน์ของบัตรทองในปี 2568 ภายใต้นโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มุ่งหวังให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มงบประมาณกว่า 9.8% เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันยังมีการเพิ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหน้าใหม่ในระบบ เช่น คลินิกเอกชน และการให้บริการทางการแพทย์ผ่านทางไกล (Telemedicine) เพื่อให้บริการถึงมือประชาชนได้รวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตามความท้าทายที่ตามมาคือการปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารจัดการสุขภาพ เพื่อให้สามารถรองรับการขยายสิทธิประโยชน์และการเพิ่มผู้ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่เปลี่ยนผ่าน สู่ยุค AI ที่ซึ่งเทคโนโลยีมีบทบาทในชีวิตประจำวัน
‘เทคโนโลยี’ เป็นกุญแจปลดล็อกการขยายบริการสุขภาพ
ในยุคที่ระบบสุขภาพต้องการความรวดเร็วและแม่นยำ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information system หรือ HIS) เป็นส่วนสำคัญเปรียบเสมือนแกนกลางในการเชื่อมโยงและประมวลผลข้อมูลภายในโรงพยาบาล หรือคลินิก อย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพ เช่น การเข้ารับบริการผู้ป่วยต้องมีการทำประวัติ ซึ่งปัจจุบันใช้ระบบบันทึกเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records หรือ EHR) ถูกพัฒนาให้สามารถบริหารหลังบ้านตลอดห่วงโซ่ซัพพลายเชนในธุรกิจการให้บริการแพทย์ นอกจากจะบันทึกข้อมูลการรักษา ยังสามารถส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล-คลินิก ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ผู้ตรวจวินิจฉัยรักษาได้ต่อเนื่องรวดเร็วและแม่นยำ ประกอบกับการช่วยบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ การจัดการทางด้านการเงินและบัญชี ติดตามการจัดการและการเบิกจ่ายงบประมาณ ผ่านระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP)
นอกจากนี้ HIS ยังเป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล สามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้ตามบทบาทของผู้ใช้งาน เช่น แพทย์ เภสัชกร หรือเจ้าหน้าที่ธุรการ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรักษาผู้ป่วยรายนั้นเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้ ช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ขณะเดียวกันเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลก็มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันที ซึ่งข้อมูลทั้งหมดถูกบันทึกในระบบ HIS เดียวกัน จะเพิ่มความสะดวกในการติดตามและการรักษาได้ต่อเนื่อง
ยกระดับ ERP เชื่อมต่อกับการบริหารงานโรงพยาบาล HIS
คุณเอกฤทธิ์ ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทแบ็คยาร์ด พูดถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบสุขภาพในยุคปัจจุบันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งตอบสนองต่อระบบการดูแลสุขภาพต้องการความรวดเร็ว แม่นยำ และครบถ้วน ทั้งระบบ HIS และ ระบบ ERP หรือระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรใช้เชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน จึงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับบันทึกข้อมูล แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำคัญที่ช่วยให้หน่วยบริการสุขภาพทุกระดับสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มความโปร่งใส โดยเฉพาะการบริหารจัดการงบประมาณ และสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และทำให้เกิดความยั่งยืนในการบริหารจัดการระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาวอีกด้วย
"การพัฒนา HIS และการใช้ระบบ ERP จึงถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วย ให้การบริหารงานโรงพยาบาลและคลินิกมีประสิทธิภาพ และช่วยขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคใหม่ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ครอบคลุม และปลอดภัยได้อย่างเท่าเทียม ในฐานะบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีโซลูชันด้านเฮลท์เทค พร้อมมุ่งมั่นในการพัฒนาและสนับสนุนเทคโนโลยีนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุด" คุณเอกฤทธิ์ กล่าว
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) และระบบ ERP หรือระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร สามารถติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.backyard.in.th หรือโทร 02-853-9131
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แม้ว' โวสนั่น ดิจิทัลวอลเล็ตเต็มระบบมาแน่ปีนี้ ดันสเตเบิลคอยน์-ดิจิทัลเอ็มบาสซี่ ตั้งไทยเป็น AI ฮับ
‘ทักษิณ ชินวัตร’ ขึ้นเวทีโชว์วิสัยทัศน์โวเหมือนเดิม ‘ดิจิทัลวอลเล็ตเต็มระบบ’ มาแน่ปีนี้ พร้อมเร่งผลักดัน ‘สเตเบิลคอยน์’ เสร็จใน 3 เดือน ตั้งเป้าดึงดูดนักลงทุน-นักท่องเที่ยว ด้าน AI เตรียมใช้ช่วยแพทย์ หลัง รพ. ขาดบุคลากร แย้มฝันตั้ง ‘ดิจิทัลเอ็มบาสซี่’ กลางกรุงใน 1 ปี
‘หมอยง’ ระบายผลพวงวันซีนโควิด 19 โดน AI ปั่นอ้างชื่อหากิน แถมบอกเจอบริษัทยาฟ้อง
หลังจากที่โควิด เริ่มสงบ ก็มีการเอารูปของเรา ไปโฆษณาขายของกันมากมาย อ้างว่าเป็นคนบอกว่ามีสรรพคุณที่ดี เช่นโรคหัวใจ โรคต่างๆมากมาย ทั้งที่เราไม่เชี่ยวชาญเลย และไม่เป็นความจริง
‘พิพัฒน์‘ พบ “เลขาธิการ OECD” เสนอการบริหารประชากร แรงงานให้ใช้ AI สร้างหลักประกันดูแลทุกช่วงวัย ย้ำ! ไทยพร้อมร่วมเป็นสมาชิก
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ
เมดคิวรี ผนึกกำลัง "สาติ" ยกระดับระบบบริการทางการแพทย์ด้วย AI ลดภาระงานบุคลากรทางการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่าย
บริษัท เมดคิวรี จำกัด ผู้นำด้านระบบสารสนเทศโรงพยาบาล จับมือกับ บริษัท สาติ จำกัด สตาร์ทอัพด้านสุขภาพดิจิทัล (Digital Health)